ตอนที่54:โรคเก๊าท์ (Gout)
โรคเก๊าท์ (Gout)
- โรค gout เป็นผลจากความผิดปกติหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดปริมาณของสาร uric acid ในพลาสม่าสูง (hyperuricemia) ถ้าเกิดทันทีกับข้อกระดูก เรียกว่า acute arthritis โรคนี้มักเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว เนื่องจากการตกผลึกของสาร urate ภายในข้อหรือรอบๆ ข้อกระดูก ซึ่งอาจก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในภายหลัง เรียกว่า chronic gouty โรค gout จะมีการสะสมสาร urate crystals (ผลึกยูเรท) ในเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน และอาการเจ็บปวดข้อกระดูกที่เป็นบ่อยที่สุดคือ ข้อ metatarso-phalangeal joint ของหัวแม่เท้า โรคนี้มักพบใน เพศชายมากกว่าเพศหญิง ระดับ uric acid ในเซรัมจะสูงขึ้น และอาจเกิดร่วมกับการทำลายของเนื้อไต
Gout แบ่งตามสาเหตุเป็น 2 พวก
- Primary gout ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เนื่องจากเป็นความผิดปกติของเอนไซม์บางอย่าง แต่บางรายทราบชนิดเอนไซม์ที่ผิดปกติ เช่น เกิดความปกพร่องของเอนไซม์ hypoxanthine guanine phosphoribosyl transferase (HGPRT) ทำให้มีการสร้าง uric acid มากเกินไป แต่ความผิดปกตินี้พบน้อยมาก
- Secondary gout เป็นสาเหตุมาจากการเกิดโรค เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ทำให้มี การผลิตสาร uric acid มากกว่าปกติ โรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากมีการการขับสาร uric acid ลดลง
ลักษณะอาการ
- โรคเก๊าท์ มักจะเป็นที่ข้อในบริเวณส่วนล่างของร่างกาย คือเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า โดยข้อแรกสุดที่เป็นมักจะเป็นที่บริเวณข้อเท้า หรือข้อโคนหัวแม่เท้า มักจะมีการปวดอักเสบอย่างรุนแรงลักษณะ ปวด บวม แดง และร้อน อาการปวดจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดภายใน 24-48 ชม. หากอักเสบมากอาจมีไข้ร่วมด้วยและอาการจะทุเลาลงเองได้ แต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องต่อมาการอักเสบจะเกิดบ่อยขึ้น จำนวนข้อที่อักเสบจะมากขึ้น อาจลามมาถึงข้อในบริเวณส่วนบนของร่างกายได้ เช่น ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือ การอักเสบแต่ละครั้งจะนานขึ้น รุนแรงขึ้น รักษาได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดอาจกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรังที่ไม่หายสนิท หรือเกิดการทำลายของข้อทำให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อ หรืออาจเกิดความพิการตามมาได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1. การใช้ความร้อนตื้นและความร้อนลึก
2. การใช้ความเย็นในระยะอักเสบ เช่น เจลเย็น
3. การดัดดึงข้อต่อการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
4. การออกกำลังกายที่ถูกวิธี
5. การขยับดัดดึงข้อต่อกระดูก ในกรณีที่ข้อมีการยึดติด
6. การใส่อุปกรณ์เสริมเพื่อลดปวด และลดบวม เช่น
- ปวดข้อเข่า ควรใส่อุปกรณ์เสริม ผ้ายืดลดปวดเข่า[Knee support]
- ปวดข้อเท้า ควรใส่อุปกรณ์เสริม ผ้ายืดแบบสวมลดปวดบวมข้อเท้า [Ankle support]
- ปวดข้อมือ ควรใส่อุปกรณ์เสริม อุปกรณ์พยุงข้อมือ [Wrist wrap]