ตอนที่53:โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)
เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจจากทางพันธุกรรม ฮอร์โมน เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส จากความเครียด พบความผิดปกติของโครงสร้างข้อจะมีนิวโทรฟิล ลิมโฟไซต์ พลาสมาเซลล์ และแมคโครฟาจมากขึ้น
ลักษณะอาการ
- มักจะปวดจากข้อต่อเล็กๆไปหาข้อต่อใหญ่ เช่น เริ่มปวดจากข้อนิ้วมือก่อนแล้วจึงลามไปปวดข้อสะโพก
- ท่างอจะทำให้รู้สึกสบายกว่าท่าเหยียด
- ข้อจะฝืดตึงในช่วงตื่นนอนตอนเช้า หลังจากเคลื่อนไหวไปสักพักจะดีขึ้น
- ปวดตามข้อมากตอนอากาศเย็น
- ข้อต่อมักมีการผิดรูป โดยเฉพาะตามข้อนิ้วมือเป็นปุ่มปูดๆ บางรายอาจหงิกงอ
การรักษาทางกายภาพบำบัด
เนื่องจากคนไข้รูมาตอยด์มักจะมีการผิดรูปในลักษณะหงิกงอ ดังนั้นท่าบริหารที่เลือกใช้จึงควรเป็นท่าในลักษณะเหยียดหรือแอ่นทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผิดรูปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- หลังจากตื่นนอนควรนอนคว่ำประมาณ 5 นาที ก่อนลุกจากที่นอน
- นอนคว่ำแอ่นลำตัวขึ้นพร้อมกับเหยียดแขนตรง ค้างท่าละ 10 วินาที
- หมั่นบริหารมือและนิ้วมือในลักษณะเหยียด
- แช่พาราฟิน / น้ำอุ่น เพื่อคลายกล้ามเนื้อลดอาการปวดตึง
- เลือกสวมรองเท้าบำบัดที่มีลักษณะพื้นนุ่มมีแผ่นกระจายน้ำหนัก หัวโตไม่บีบหน้าเท้า
- ในกรณีที่นิ้วมือมีการผิดรูปในลักษณะปลายนิ้วจิก ควรใส่อุปกรณ์กันดามนิ้วมืองอ [Palmar correction splint] ไว้ตอนนอน เพื่อช่วยในการเหยียดยืดข้อมือและนิ้วมือให้ตรงค่ะ 🙂