ตอนที่ 624 Thermo pad (แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า)
More
More
เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
ภาวะออฟฟิศซินโดรมสามารถสังเกตได้จากอาการเริ่มต้น ที่รู้สึกได้ชัดคือ การปวดเกร็งตึงบริเวณกล้ามเนื้อบ่าและไหล่ แรกๆ คนกลุ่มนี้จะรู้สึกปวดเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อ เหมือนมีของหนักๆ กดทับที่บ่าทั้งสองข้าง จากนั้นหากทนนั่งทำงานต่อไปโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ จะทำให้เกิดการปวดเกร็งไปที่ท้ายทอยและลุกลามเป็นการปวดขมับและการปวดศีรษะตามมา แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เป็นเพียงอาการปวดกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ จนอาการปวดสะสมมากเข้ากลายเป็นเรื้อรัง หากยังฝืนทำงานหรือทำท่าด้วยอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม จากที่เคยแค่ปวดกล้ามเนื้อ ก็อาจมีอาการอื่นตามมา เช่น ชาบริเวณท่อนแขน ปวดท้องมวน ปวดร่างกายท่อนล่าง เนื่องจากน้ำหนักที่กดลงจากการนั่ง เกิดอาการนิ้วล็อกซึ่งมักเกิดจากการพิมพ์คีย์บอร์ดเป็นเวลานาน บางคนมีอาการตาพร่ามัว ตาลาย ตาแห้ง ระคายเคือง เนื่องจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้การกระพริบตาน้อย และการเพ่งสายตาที่หน้าจอยังทำให้ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากขึ้น ทำให้ปวดตาบางรายอาการปวดอาจลามไปถึงต้นขา ทำให้ขาชาหรือทำให้กล้ามเนื้อตึง ทีนี้หากยังทนกับความเจ็บปวดนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่แก้ไข กล้ามเนื้อที่ตึงอาจจะไปดึงรั้งกระดูก ทำให้ส่งผลต่อโครงสร้างของร่างกายในระยะยาว กลายเป็นปัญหาที่คนไข้ต้องมาทำการรักษาด้วยกายภาพบำบัด
1.การออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณคอ ให้ใช้มือต้านการก้ม การเอียง และการแอ่นคอไปด้านหลัง ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำประมาณ 5-10 ครั้ง
2.การยืดกล้ามเนื้อบริเวณด้านหลังไหล่ขวา ให้เอื้อมมือขวามาไหล่ซ้ายแล้วใช้มือซ้ายคล้องศอกขวาและดันศอกขวาเข้าชิดลำตัว จะรู้สึกถึงอาการตึงบริเวณด้านหลังไหล่ขวา ค้างไว้ 5 วินาที ทำสลับข้างขวาและซ้าย ข้างละ 5 ครั้ง
3.การยืดกล้ามเนื้อหลังแขนซ้าย ให้ยกแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะแล้วงอศอกลง จากนั้นใช้มือขวาดึงศอกซ้ายไปทางด้านหลังเอียงเข้าหาศีรษะ จะรู้สึกถึงอาการตึงบริเวณด้านกล้ามเนื้อไหล่และหลังแขนซ้าย ค้างไว้ 5 วินาที ทำสลับข้างขวาและซ้าย ข้างละ 5 ครั้ง
4.การบริหารกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของไหล่ ให้นำมือทั้งสองข้างทาแตะที่หัวไหล่ แล้วทำการหมุนไหล่เป็นวงกลม มาด้านหน้า 10 ครั้ง ด้านหลัง 10 ครั้
5.การยืดกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ ให้ใช้มือซ้ายจับขอบเก้าอี้ ก้มศีรษะและคอลงจนสุด แล้วใช้มือขวาช่วยดึงศีรษะให้เอียงมาทางขวา จากนั้นให้เชยคางขึ้นมองเพดาน ค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อยเชยคางลงมองพื้น ค้างไว้ 5 วินาที ทำสลับกันซ้ายขวา ข้างละ 5 ครั้ง
6.ท่าออกกำลังกายเพื่อยืดเส้นประสาท ในท่าคล้ายรำไทย ท่าพรหมสี่หน้าและยูงฟ้อนหาง ในที่นี้ทำสลับกันระหว่างแขนซ้ายและขวา ขณะทำควรให้มีความรู้สึกตึงบริเวณแขนเล็กน้อย ให้ทำทั้งหมดประมาณ 20 ครั้ง
1. การใช้แผ่นความร้อนไฟฟ้า
2. การใช้แผ่นความเย็นในระยะอักเสบ
3. การดัดดึงข้อต่อการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
4. การรักษาด้วยวิธีการขยับ ดัดดึง ข้อต่อ
5. แนะนำการออกกำลังกาย