ตอนที่62:กระดูกต้นขาส่วนสะโพกหัก
กระดูกต้นขาส่วนสะโพกหัก
กระดูกต้นขาส่วนสะโพกหัก คือ การหักของกระดูกตั้งแต่รอยต่อของกระดูกต้นขาส่วนหัวกับคอจนถึงฐานของกระดูกต้นขา
อาการ
- ปวดบริเวณรอบๆ ข้อต่อสะโพก และต้นขา เดินไม่ได้ หรือเดินไม่ถนัด ขยับข้อข้อสะโพกได้ไม่ถนัด ขายาวไม่เท่ากัน
การรักษา
- รักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาใส่น็อต ใส่เหล็กดามกระดูกที่หัก หรือผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกต้นขา หรือเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
- รักษาโดยการไม่ผ่าตัด แพทย์จะใช้การดึงถ่วงน้ำหนัก นาน 4-6 สัปดาห์ แล้วจึงหัดเดิน
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
- มีอาการเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัด
- อาจสูญเสียเลือดมาก
- มีโอกาสเกิดอันตรายจากโรคประจำตัวกำเริบ
การปฏิบัติตนก่อนผ่าตัด
1. แนะนำโดยนักกายภาพบำบัด
- สอนการหายใจและการไอเพื่อขับเสมหะ โดยการหายใจเข้า-ออกลึกๆ และไอแรงๆ
- สอนการออกกำลังกายบนเตียง โดยการเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา การยกขาขึ้น-ลง กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง หมุนข้อเท้าเข้าด้านใน และหมุนข้อเท้าออกด้านนอก
2. แนะนำการพลิกตะแคงตัว หรือขยับตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง โดยไม่นอนอยู่ท่าเดียวนานๆ
3. ดูแลความสะอาดร่างกายทั่วไป ปาก ฟัน ผม เล็บมือเล็บเท้าตัดให้สั้น
4. ถ้ามีฟันปลอมให้ถอดออกก่อนเข้าห้องผ่าตัด
5. งดน้ำและอาหารทุกชนิด 8 ชั่วโมง ก่อนทำการผ่าตัด
6. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
การปฏิบัติตนหลังผ่าตัด
- เมื่อมีเสมหะหายใจเข้า-ออกลึกๆ และไอออกมาแรงๆ
- ออกกำลังกายบนเตียง ตามที่นักกายภาพบำบัดสอน
- พลิกตะแคงตัว หรือขยับตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง โดยไม่นอนอยู่ท่าเดียวนานๆ
- หากผู้ป่วยได้รับการเปลี่ยนข้อสะโพก ต้องนอนกางขาข้างที่ผ่าตัดประมาณ 5-7 วัน เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุด
การรักษาทางการภาพบำบัดหลังผ่าตัด
1.การใช้ความเย็นในระยะอักเสบ
2. การใช้ความร้อนตื้น
3. การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง เพื่อลดอาการปวด
4. การรักษาด้วยวิธีการขยับ ดัดดึง ข้อต่อ เมื่อมีข้อสะโพกติด หรือจำกัดการเคลื่อนไหว
5. การออกกำลังกาย โดยใช้ ถุงทราย และ กระดานบริหารกล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps board) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More