All Posts tagged ปวดส้นเท้า

ตอนที่ 665 3 ท่าบริหารเส้นเอ็นสำหรับโรครองช้ำ

ตอนที่ 665 3 ท่าบริหารเส้นเอ็นสำหรับโรครองช้ำ

ตอนที่ 327 3 ท่าบริหารเส้นเอ็นสำหรับโรครองช้ำ

 

           โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบคือ?

โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
เป็นอาการทั่วไปที่มีลักษณะเฉพาะจากการอักเสบของพังผืดฝ่าเท้า ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อหนาที่เรียงตามแนวด้านล่างของเท้า มักทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับก้าวแรกในตอนเช้าหรือหลังช่วงพัก อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การใช้งานมากเกินไป รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ส่วนโค้งสูง เท้าแบน หรือกล้ามเนื้อน่องตึง ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึงการพักผ่อน การยืดกล้ามเนื้อ การใส่กายอุปกรณ์ กายภาพบำบัด หรือในบางกรณีอาจรวมถึงการผ่าตัด หากคุณสงสัยว่าเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

ท่าที่ 1 ท่ายืดเอ็นร้อยหวาย

1. ยืนโดยใช้มือยันกำแพงให้มั่นคง ถอยเท้าข้างที่เจ็บมาด้านหลัง ส้นเท้าแนบพื้น
2. แอ่นสะโพกไปทางด้านหน้าเพื่อยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย ค้างไว้ 10-15 วินาที และทำสลับกันไปทั้งสองข้าง
3. แนะนำให้ทำบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 ครั้ง จนเมื่อเอ็นร้อยหวายมีความยืดหยุ่น จะช่วยให้อาการเจ็บหรืออักเสบบริเวณเอ็นร้อยหวายและอาการของโรครองช้ำทุเลาลง

 


ท่าที่ 2 ท่ายืดพังผืดฝ่าเท้า

1. นั่งเก้าอี้ในท่าไขว่ห้าง โดยให้เท้าข้างที่จะทำการบริหารอยู่ด้านบน
2. ใช้มือทั้งสองข้างจับบริเวณนิ้วเท้า จากนั้นให้งัดนิ้วเท้าขึ้นเพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า ค้างไว้ 10-15 วินาที
3. แนะนำให้หมั่นทำบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 ครั้ง


ท่าที่ 3 ท่านวดพังผืดฝ่าเท้า

1. เตรียมวัสดุทรงกลมที่มีความแข็ง เช่น ท่อน้ำ PVC หรือกระบอกน้ำเหล็ก (หลีกเลี่ยงวัสดุที่สามารถแตกหักหรือบาดฝ่าเท้าได้)
2. นั่งบนเก้าอี้ นำวัสดุทรงกลมวางที่พื้น แล้ววางเท้าข้างที่จะทำการนวดลงบนวัสดุ
3. จากนั้นค่อยๆ คลึงนวดตั้งแต่บริเวณอุ้งเท้ามาจนถึงส้นเท้า คลึงกลับไปมาเพื่อยืดตัวพังผืดฝ่าเท้า ทำครั้งละ 15-30 วินาที วันละ 8-10 ครั้ง

More

ตอน 657 โรครองช้ำคืออะไร แก้ยังไง?

ตอน 657 โรครองช้ำคืออะไร แก้ยังไง?

ตอนที่ 657 โรครองช้ำคืออะไร แก้ยังไง?


โรครองช้ำ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าส่วนใหญ่จะมีอาการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ฝ่าเท้าและสะสมมาเป็นเวลานาน ที่อาจจะเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง หรือ อาจเกิดจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง จะมีการอักเสบ ปวด บวม เกิดจากการยืดเกินกว่าปกติของผังผืดใต้ฝ่าเท้า มีอาการเหมือนกับกระดูกส้นเท้างอกผิดปกติ (Heel Spur Syndrome)

อาการของโรครองชํ้า

1.ปวดใต้ส้นเท้าขณะ ก้าวเท้าลงจากเตียง
2.ปวดเมื่อยืนลงน้ำหนักหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน
3.เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการมักจะดีขึ้น
4.อาการปวดอาจเป็นมากขึ้นอีกหลังจากการเดินนานเกินไป

การรักษาทางกายภาพบำบัด

•เครื่องคลื่นกระแทก (Shock wave). ใช้การตอกคลื่นกระแทกบนผังพืดฝ่าเท้าที่หนาตัวเรื้อรัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ลดอาการปวด.

• ประคบร้อน-ประคบเย็น (Heat&Cold pack). ช่วยลดอาการปวด-อักเสบ ลดอาการบวมที่เกิดขึ้น เป็นต้น โดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดแต่ละเครื่องมือจะมีคุณสมบัติเฉพาะที่ใช้คลายความตึง ลดความปวด และ คืนอิสระให้กับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ.

• ลูกกลิ้งนวดแก้รองช้ำ

คำแนะนำ ในการสวมใส่รองเท้า ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด

แนะนำเรื่องการใส่รองเท้า เพิ่ม อุ้งเท้า โดยจะเลือกรองเท้าที่รองรับอุ้งเท้า มีส่วนนูนที่บริเวณอุ้งเท้า เพื่อช่วยลดการลงน้ำหนักที่บริเวณอุ้งเท้า เพื่อลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับไปบาดเจ็บที่เท้าอีกครั้ง

 อุปกรณ์รัดเพื่อ เสริมอุ้งเท้า


• แผ่นรองเท้า เพื่อเสริมอุ้งเท้า


 รองเท้าเพื่อสุขภาพที่ช่วยในการเสริมอุ้งเท้า

More

ลูกกลิ้งลดปวดฝ่าเท้า

ลูกกลิ้งลดปวดฝ่าเท้า

ลูกกลิ้งลดปวดฝ่าเท้า

รหัสสินค้า E016

ปกติราคา 850  ลดเหลือ 700 บาท

 คุณสมบัติ

-บรรเทาอาการปวดเอ็นฝ่าเท้า ฝ่าเท้า และส้นเท้า

– ทำจากยางธรรมชาติ 100%

– สามารถกลิ้งได้และไม่ทำให้พื้นเป็นรอย

– ออกแบบเป็นสันเพื่อเพิ่มแรงกดในการนวดเท้า

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 085-264-4994

www.firstphysioclinics.com

คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

More

ตอนที่48:ปวดส้นเท้า เกิดขึ้นได้อย่างไร (Plantar Fasciitis)

ตอนที่48:ปวดส้นเท้า เกิดขึ้นได้อย่างไร (Plantar Fasciitis)

images (1)

ปวดส้นเท้า (Plantar Fasciitis)

 

อาการปวดส้นเท้า หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “รองช้ำ” นั้นมีสาเหตุสำคัญมาจากการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อบริเวณใต้ส้นเท้าทั้งนี้เพราะว่า ส้นเท้าเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักตัวของร่างกายคนเราแทบตลอดเวลา โรคนี้มักพบบ่อยในผู้ที่อยู่วัยกลางคนขึ้นไป ผู้ที่มีรูปร่างอ้วน ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินติดต่อกันเป็นเวลานานๆ นักกีฬาที่ต้องกระโดดเอาส้นเท้ากระแทกพื้นบ่อยๆ จะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ง่าย เนื่องจาก เนื้อเยื่อบริเวณส้นเท้ากดเบียดกับพื้น ประกอบกับความเสื่อมสภาพไขมันและเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามวัยจึงทำให้เกิดการอักเสบง่ายกว่าคนทั่วไป อาการปวดบริเวณส้นเท้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้า กระดูกงอกที่ฝ่าเท้าหรือที่เส้นเอ็นร้อยหวาย กระดูกเท้าบิดผิดรูป โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ หรือ กระดูกหัก เป็นต้น  ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บที่ส้นเท้าจะเป็นตำแหน่งที่ชัดเจน มักเจ็บมากในตอนเช้า หลังจากตื่นนอน ช่วงที่ลงจากเตียงมายืนหรือเริ่มเดินผู้ป่วยมักรู้สึกเจ็บจี๊ดแทงลึกเข้าไปในส้นเท้า เดินแล้วมีอาการเจ็บปวด เมืออดทนฝืนเดินต่อไปสักครู่ อาการเจ็บปวดจึงจะทุเลาลง แต่บางรายจะปวดอยู่ตลอดทั้งวันในทุกๆครั้งที่เดิน เมื่อเอามือกดส้นเท้าดูจะรู้สึกเจ็บลึกๆ สร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าตำแหน่งอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น บริเวณกลางอุ้งเท้า หรือใต้ปุ่มกระดูกฝ่าเท้า เป็นต้น

 

images

 

ลักษณะอาการแสดง

  • มีอาการปวดส้นเท้า และปวดอุ้งเท้า
  • มีจุดกดเจ็บและปวด บริเวณส้นเท้าฝั่งด้านในอุ้งเท้า
  • ปวดส้นเท้าและมีอาการระบม ปวดชาไปทั่วทั้งส้นเท้า
  • ปวดส้นเท้า แบบรู้สึก ปวดจี๊ด เหมือนโดนเข็มแทง
  • ลงน้ำหนักที่ส้นเท้าและเท้าได้ไม่เต็มที่ในระหว่างเดิน
  • อาการปวดส้นเท้าจะเป็นมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้า เมื่อเดินก้าวแรกก็จะมีอาการปวดมาก แต่เมื่อเดินสักครู่อาการปวดจะทุเลาลง
  • มีอาการบวมหรือแดงของผิวหนังใต้ฝ่าเท้า
  • มีอาการปวดร้าวตามแนวพังผืดใต้ฝ่าเท้าไปจนถึงจุดกดเจ็บและส้นเท้าเมื่อกระดกนิ้วเท้าขึ้น

 

ดาวน์โหลด111

 

การรักษาทางการแพทย์

  • การรับประทานยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณส้นเท้าจุดที่ปวด แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เกิดเส้นเอ็นฝ่าเท้าเปื่อยและขาดได้
  • การผ่าตัด วิธีนี้จะทำก็ต่อเมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล คือ อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับการรักษาที่ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 8 – 10 เดือน หรือ สาเหตุการปวดเกิดจากเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้าถูกกดทับ

 

การทำกายภาพบำบัด

  • การใช้ความร้อนในการรักษา เช่น แช่น้ำอุ่น
  • การใช้ความเย็นรักษาในระยะอักเสบ เช่น เจลเย็น
  • การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
  • การออกกำลังกาย เช่น การยืดกล้ามเนื้อน่อง ยืดเอ็นร้อยหวาย
  • การใส่อุปกรณ์เสริม เช่น รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้าให้นูนขึ้น

S027 (2)

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinics.com

สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่47:โรครองช้ำ

ตอนที่47:โรครองช้ำ

20

โรครองช้ำ

  (plantar fascilitis)

สาเหตุ

  • อักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า
  • บาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้าที่สะสมมานาน
  • ผู้ที่มีเอ็นร้อยหวายตึง
  • สวมใส่รองเท้าที่มีการรับแรงไม่ดี/ไม่เหมาะสมกับเท้า
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ส่วนโค้งของเท้าต่ำ(เท้าแบน)  /โค้งสูงกว่าปกติ

18

อาการและอาการแสดง

  • อาการปวดมากในช่วงเช้า (morning pain) โดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง
  • เมื่อยืนลงนำ้หนัก หรือหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน เดินไประยะหนึ่งอาการมักจะดีขึ้น
  • 1922

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • ประคบเย็น 10-15นาที ในบริเวณที่ปวด
  • เลือกสวมใส่รองเท้าบำบัดที่มีแผ่นรองกระจายน้ำหนัก
  • สวมใส่อุปกรณ์ลดปวดส้นเท้าและฝ่าเท้า plantar night splint เวลานอน
  • ใช้รองเท้าพิเศษ(orthosis)เพื่อลดแรงกดต่อบริเวณที่ปวด
  • ยืด/เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
  • ลดการเดินลงน้ำหนัก เลียงการเดิน วิ่ง กระโดดในระยะแรก
  • ลดปวด ลดอักเสบโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
  • 21

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

สายด่วน 085-264-4994

More