ตอนที่ 624 Thermo pad (แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า)
More
ตอนที่86:รู้หรือไม่!!! รักษาอาการเหล่านี้ทางกายภาพบำบัดได้
รู้หรือไม่!!!รักษาอาการเหล่านี้ทางกายภาพบำบัดได้
-
ปวดหัว ไมเกรน นอนไม่หลับ ปวดคอ คอตกหมอน ปวดคอ ร้าวลงแขน พังผืดยึดเส้นเอ็น กล้ามเนื้อคออักเสบ
-
เส้นเอ็นและข้อมืออักเสบ นิ้วล็อก รูมาตอยด์ เก๊าท์ พังผืดยึด ชามือ ข้อมือติดแข็ง
-
ปวดหัวไหล่ข้อติด ข้อเสื่อม หินปูนเกาะ พังผืดยึด ปวดข้อศอก ข้ออักเสบ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น เทนนิส แบตมินตัน กอล์ฟ บาสเกตบอล
-
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พังผืดยึด กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดหลัง ชาร้าวลงขา กระดูกคด กระดูกเสื่อม,ทรุด ปวดสะโพก ปวดก้นกบ
-
ปวดเข่า ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ ข้อติดแข็ง เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ปวดน่อง บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วิ่ง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
Moreตอนที่41:หมอนรองกระดูกกับอาการปวดหลังจากการทำงาน
การบาดเจ็บจากการทำงานไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันและแบบค่อย เป็นค่อยไปนั้นป้องกันได้ ความรู้และความเข้าใจของคนทำงานมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันตัวเองมิให้บาดเจ็บจากการทำงาน
คนทำงานมักพบอาการปวดหลังได้บ่อย คนทั่วไปประมาณ ๑ ใน ๖ เคยมีอาการปวดหลังที่ต้องนอนพักอย่างน้อย ๑ ครั้งในชีวิต อาการปวดหลังส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้เรื่องของหลัง (back school) ทำให้คนทำงานตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อหลัง เข้าใจกลไกการบาดเจ็บ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน เนื่องจากอาการปวดหลังส่วนหนึ่งมาจากหมอนรองกระดูก ครั้งนี้จึงนำเสนอเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลังและวิธีป้องกันไม่ให้ปวด หลังจากการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลัง
การเรียงตัวของกระดูกสันหลัง
กระดูกสันหลังมีทั้งหมด ๒๖ ชิ้น เรียงตัวกันเป็นส่วนโค้ง ๓ ส่วน โดยกระดูกสันหลังส่วนคอจะโค้งไปทางด้านหน้า ส่วนอกจะโค้งไปด้านหลัง ส่วนเอวหรือหลังส่วนล่างจะโค้งไปทางด้านหน้า (lordotic curve) ดังรูปที่ ๑ การ เรียงตัวของกระดูกสันหลังเป็นส่วนโค้งแทนที่จะเป็นแท่งตรงเหมือนลำไม้ไผ่ เพื่อที่จะลดแรงกระแทกจากพื้นมาสู่ศีรษะเวลาเดิน คล้ายกับสปริงหรือแหนบกันกระเทือนในรถยนต์ ส่วนโค้งแต่ละช่วงมีความสำคัญ ถ้าแอ่นมากขึ้นหรือมีความโค้งน้อยลงอยู่นานๆ จะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดได้ กระดูกสันหลังต่อเรียงกันด้วยหมอนรองกระดูกทางด้านหน้า และข้อสันหลัง ๒ ข้อทางด้านหลัง ข้อดีของการมีหลายข้อต่อเรียงกันเป็นกระดูกสันหลังคือ เราสามารถจะเคลื่อนไหวส่วนของหลังได้หลายทิศทางตั้งแต่ก้ม-เงย หมุนซ้าย-ขวา เอียงซ้าย-ขวา รวมทั้งหลายทิศทางพร้อมกัน เช่น การก้มหลังพร้อมกับการบิดและเอียงตัวในเวลาเดียวกัน แต่ข้อเสียของการเคลื่อนไหวได้หลายทิศทางคือส่วนของหลังจะมีความมั่นคงน้อย ลงและจะบาดเจ็บได้ง่าย
หมอนรองกระดูก
หมอนรองกระดูกเป็นโครงสร้างที่ช่วยรับน้ำหนักและลดแรงกระแทกคล้ายกับระบบกัน กระเทือนของรถยนต์ ถ้าจะเปรียบเทียบกับลักษณะของหมอนรองกระดูกจะคล้ายกับขนมเด็กที่เป็นเยลลี่ รูปสัตว์ ด้านนอกจะเหนียวขณะที่ด้านในเป็นน้ำ การบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ตัวหมอนรองกระดูกเองมีเส้นประสาทมาเลี้ยงน้อยมาก เมื่อแตกหรือปลิ้นจะไม่เจ็บที่ตัวหมอน แต่อาจอักเสบหรือกดทับเอ็น กระดูกและเส้นประสาทที่อยู่ใกล้ ทำให้มีอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างรวมทั้งมีอาการปวดที่ขาได้ อาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกไม่จำเป็นต้อง มีอาการปวดทันทีเสมอไป ถ้าหมอนรองกระดูกแตกและปลิ้นจะเกิดอาการอักเสบ บวม และจะค่อยๆ มีอาการปวดน้อยๆ จนกระทั่งปวดมากในชั่วโมงที่ ๘ ถึง ๑๒ เพราะอาการอักเสบนั้นไปรบกวนเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง
การแตกและปลิ้นของหมอนรองกระดูก
การบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกจะสัมพันธ์กับกรณีต่อไปนี้
๑. การก้มหลังจนสุด
๒. การนั่งเป็นเวลานาน
๓. ช่วงเวลาในแต่ละวัน ตอนเช้าจะมีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บมากกว่า
๔. การก้ม บิด เอียง ซ้ำๆ กันหลายครั้ง จนกระทั่ง เนื้อเยื่อหมอนล้าและการแตก
๕. คนอายุน้อย พบว่าคนในวัยทำงานจะมีสารน้ำในหมอนรองกระดูกมากกว่าคนสูงอายุ จึงมีแรงดันในหมอนสูง โอกาสที่จะแตกจะง่ายกว่า
การก้มตัว
การก้มตัวทำได้ ๒ แบบ คือ การงอที่สะโพก (รูปที่ ๒) และการงอที่หลังส่วนล่าง (รูปที่ ๓) จะเห็นว่าการงอที่สะโพกจะยังมีส่วนโค้งของหลังอยู่ ส่วนการงอที่หลังทำให้โค้งกลับไปทางด้านหลัง (reverse lordotic curve) การงอหลังแบบนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้หมอนรองกระดูก สันหลังบาดเจ็บได้ง่าย
การนั่ง
การนั่งจะทำให้ส่วนโค้งของหลังน้อยลงหรือกลับทิศ (reverse lordotic curve) ดังรูปที่ ๔ การโค้งกลับทิศในลักษณะนี้ร่วมกับแรงกดจากน้ำหนักตัวส่วนบน จะทำให้หมอนรองกระดูกมีโอกาสปลิ้นออกทางด้านหลังได้ง่าย การนั่งนานจะทำให้แรงกดที่หมอนรองกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งมีค่ามาก
ช่วงเวลาในแต่ละวัน
เมื่อนอนลงจะมีการดึงน้ำไปอยู่ในตัวหมอนรองกระดูก การที่มีน้ำเข้าไปอยู่ในหมอนรองกระดูกมากทำให้หมอนรองกระดูกบาดเจ็บได้ง่าย ขณะตื่นนอนใหม่จึงมีความเสี่ยงที่จะมีการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกมากกว่า ช่วงเย็น
การป้องกันไม่ให้ปวดหลังจากหมอนรองกระดูก
จากความรู้ข้างต้นนำมาสู่คำแนะนำที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีอาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกได้ ดังนี้
๑. อย่างอหลังเมื่อยกวัตถุ ให้พยายามรักษาส่วนโค้งของหลังให้คงอยู่ขณะยกวัตถุให้งอที่สะโพก
๒. อย่านั่งนานเกิน ๒ ชั่วโมง ให้ลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
๓. เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ เช่น นั่งหลังตรง นั่งพิงหลัง นั่งเอามือเท้าโต๊ะ สลับกัน
๔. ถ้าจำเป็นต้องนั่งนาน เช่น นั่งขับรถ ให้แอ่นหลัง พิงพนัก ๕ วินาที เพื่อลดแรงกดที่หมอนรองกระดูก
๕. ผู้ที่นั่งนาน และต้องลุกมายกวัตถุทันที เช่น พนักงานขับรถส่งของต้องพยายามแอ่นหลังบ่อยๆ ขณะขับรถหรือหาหมอนมาหนุนหลังส่วนล่างในขณะขับรถ ถ้ามีเวลาพอ เมื่อลงจากรถให้ยืนแอ่นหลังประมาณ ๕ วินาที จึงเริ่มยกวัตถุ
๖. หลังตื่นนอนหลีกเลี่ยงการก้มหลัง หรือการออกกำลังกายที่ต้องก้มหลัง งอหลัง การยกวัตถุหนัก อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
๗. ไม่ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้องแบบมีแรงต้านในท่านั่ง เพราะเป็นการงอหลังซ้ำๆ หลายครั้ง ขณะที่มีแรงดันในหมอนรองกระดูกสูง มีโอกาสบาดเจ็บสูง
๘. ออกแบบสภาพงานให้เหมาะสม เช่น ไม่ให้ยกวัตถุหนักจากที่ต่ำ บิดหรือเอียงตัว ยกวัตถุห่างตัว และยกวัตถุที่หนักเกินกำลัง
อาการปวดหลังนั้นไม่จำเป็นต้องมาจากหมอนรองกระดูกเสมอไป ยังมีเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่อาจบาดเจ็บได้ เช่น กล้ามเนื้อ หรือเอ็นที่อยู่บริเวณนั้น หรือมาจากสาเหตุอื่น เช่น การอักเสบของอวัยวะภายใน มะเร็งของกระดูก ตัวหมอนรองกระดูกนั้นเสื่อมสภาพตามวัยเหมือนกระดูก คนประมาณร้อยละ ๓๐ ที่ไม่เคยปวดหลัง มีหมอนรองกระดูกปลิ้น บางครั้งชัดเจนมากแต่ไม่มีอาการ
อย่าลืมว่าคนทำงานไม่งอหลังขณะยกวัตถุ ไม่นั่งนาน ไม่ก้มหลังหรือยกวัตถุเมื่อตื่นนอนใหม่ๆ ไม่ยกวัตถุหนักเกินกำลัง ปรับสภาพงานให้เหมาะสม ทำเช่นนี้ท่านจะห่างไกลอาการปวดหลังจากการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
Moreตอนที่2:ปวดหลัง โรคทรมานยอดฮิต
ปวดหลังเกิดจากอะไร
อาการปวดหลังเป็นอาการหนึ่งที่เป็นกันบ่อยๆของผู้ใหญ่จะ ซึ่งอาจจะเกิดอาการปวดมากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง และการดูแลตัวเอง ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนมากจะหายเองภายใน 2 สัปดาห์ และภายใน 3 เดือน จะพบผู้ป่วยปวดหลังส่วนน้อยที่จะเป็นโรคปวดหลังเรื้อรัง
การที่มีอาการปวดหลังไม่ได้หมายความว่าจะมีการทำลายหรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อของร่างกาย การปวดหลังเป็นเพียงการอักเสบขึ้นที่โครงสร้างของหลังซึ่งหากปวดหลังมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลังเฉพาะที่หลังเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีอาการปวดหลังร้าวมาที่สะโพกหรือขา อาการปวดขาจะปวดไปตามบริเวณซึ่งถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้นนั่นแสดงว่าเกิดการกดทับของเส้นประสาทเนื่องจาก ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะความปวดหลังแตกต่างกันไป ผู้ป่วยปวดหลังบางรายอธิบายอาการปวดว่ามีลักษณะแหลมเหมือนโดนมีดแทง บางรายรู้สึกปวดหน่วงและหนักที่ขา หรือบางรายอาจรู้สึกเพียงเหน็บชาคล้ายเวลาที่นั่งทับขานานๆ เท่านั้น
สาเหตุอาการปวดหลัง
อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรือพยาธิสภาพของกระดูกสันหลังเอง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก ท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน การบาดเจ็บบริเวณหลัง ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด ภาวะของกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ กระดูกสันหลังเคลื่อน โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่หลังได้ เช่น โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก โรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง หรือมะเร็งที่มีการกระจายมายังกระดูกสันหลัง
อาการปวดหลังที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
- อาการปวดหลังที่เป็นเรื้อรังติดต่อกันนานเกินกว่า 3 เดือน
- ปวดหลังร้าวลงสะโพก ขา จนถึงบริเวณน่องหรือเท้า
- อาการปวดหลังเฉียบพลันที่ไม่ทุเลาลงเมื่อได้พัก หรือมีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
- อาการปวดหลังจากการได้รับบาดเจ็บหรือหกล้ม
- อาการปวดหลังร่วมกับควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรงชาบริเวณขา เท้า หรือรอบทวารหนักคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เป้าหมายของการรักษาอาการปวดหลัง คือ การลดอาการปวด โดยมุ่งรักษาที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการและพยายามหาวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยที่สุด