All Posts tagged ปวดเข่า

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

เริ่มมีอาการปวดเข่า เวลามีแรงกดบนข้อเข่ามากขึ้น 

นั่งเหยียดเข่า หรือนอนพักอาการปวดเข่าจะน้อยลง 

ข้อเริ่มยืด เวลาตื่นนอนตอนเช้า พอเริ่มเดินอาการจะดีขึ้น 

• อาการปวดเข่า อาจจะไม่แน่นอน 

เข่าเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการปวดบวมมากขึ้น 

ข้อเข่าเสื่อมเป็นมานานๆ เขาอาจโก่งผิดรูป 

งอเหยียดข้อเข่า ได้น้อยลง กล้ามเนื้อต้นขาลีบลง

More

ตอนที่ 624 Thermo pad (แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า)

ตอนที่ 624 Thermo pad (แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า)

 

More

ตอนที่86:รู้หรือไม่!!! รักษาอาการเหล่านี้ทางกายภาพบำบัดได้

ตอนที่86:รู้หรือไม่!!! รักษาอาการเหล่านี้ทางกายภาพบำบัดได้

รู้หรือไม่!!!รักษาอาการเหล่านี้ทางกายภาพบำบัดได้

26_201006081146591.

  • ปวดหัว ไมเกรน นอนไม่หลับ ปวดคอ คอตกหมอน ปวดคอ ร้าวลงแขน พังผืดยึดเส้นเอ็น กล้ามเนื้อคออักเสบ

images

  • เส้นเอ็นและข้อมืออักเสบ นิ้วล็อก รูมาตอยด์ เก๊าท์ พังผืดยึด ชามือ ข้อมือติดแข็ง

images (13)

  • ปวดหัวไหล่ข้อติด ข้อเสื่อม หินปูนเกาะ พังผืดยึด  ปวดข้อศอก ข้ออักเสบ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา  เช่น เทนนิส แบตมินตัน กอล์ฟ บาสเกตบอล

 

4811_1

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พังผืดยึด   กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดหลัง ชาร้าวลงขา กระดูกคด   กระดูกเสื่อม,ทรุด ปวดสะโพก ปวดก้นกบ

5100

  • ปวดเข่า ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ ข้อติดแข็ง เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ปวดน่อง บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วิ่ง

 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่73:โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

ตอนที่73:โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

 โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

 ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ หรือในวัยกลางคนขึ้นไป โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหนี่งที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นนั่นคือ การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาการข้อเข่าเสื่อม ก็จะเริ่มต้นด้วยการมีอาการปวดข้อ หลังจากที่มีอายุมากขึ้น อาการปวดข้อก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

 

โครงสร้างของข้อเข่า

oa

ข้อเข่าของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ

  1. กระดูกต้นขาหรือทางการแพทย์เรียกว่ากระดูก femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็งทางการแพทย์เรียก tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของข้อเข่า
  3. กระดูกลูกสะบ้าทางการแพทย์เรียก patella ซึ่งอยู่ด้านหน้าของเข่า

ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน [cartilage ] รูปครึ่งวงกลมซึ่งทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำหล่อลื่นภายในข้อเรียก synovial fluid ซึ่งจะเป็นน้ำหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อรอบเข้าซึ่งป้องกันการสึกของข้อ เมื่อเราเดินหรือวิ่งข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเท่าใดข้อก็จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มมาก ขึ้น นอกจากนั้นจะมีกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อทำให้ข้อแข็งแรง

 

กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม

เข่าของคนเราเป็นข้อที่ใหญ่และต้องทำงานมากทำให้เกิดโรคที่เข่าได้ง่ายโรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของ น้ำ หล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูก อ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หาก ข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการ บวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอทำให้เกิดอาการ ปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท่าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อ ต้นขาลีบลงข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเหยียดขาได้ไม่สุด

kn2-3

เมื่อเกิดเข่าเสื่อมมากขึ้นกระดูกอ่อน( cartilage )จะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาที่เรียกว่า osteophytes เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อก็จะสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นทำให้ข้อ เข่ามีขนาดใหญ่ เอ็นรอบข้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อจะลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกัน เวลาขยับข้อจะเกิดเสียงเสียดสีในข้อ

 

อาการที่สำคัญ

  • อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

  • อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
  • การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า

 

การรักษาทางการแพทย์

  1. ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  2. ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ
  3. ฉีดน้ำไขข้อเทียม
  4. การผ่าตัด
  5. การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะข้อเพื่อดูดน้ำไขข้อออก แต่เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ก็จะกลับมาเป็นอีก

 

การรักษาทางกายภาพบำบัด

1. การใช้ความร้อนด้วยแผ่นความร้อนไฟฟ้า

Zemanta Related Posts Thumbnail
2. การใช้แผ่นความเย็นในระยะอักเสบ

P005
3. การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง, การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
4. การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ด้วยถุงทราย

E003
5. การขยับดัดดึงข้อต่อกระดูก ในกรณีที่ข้อมีการยึดติด หรือเคลื่อนไหวไม่เต็มองศา
6. การใส่อุปกรณ์เสริมเพื่อลดปวด และลดบวม เช่น ปวดข้อเข่า ควรใส่อุปกรณ์เสริม ผ้ายืดลดปวดเข่า [Knee support] 

S019

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่15:”เข่าเสื่อม”กับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Arthroplasty)

ตอนที่15:”เข่าเสื่อม”กับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Arthroplasty)

   เข่าเสื่อม.1

เข่าเสื่อมเกิดจากอะไร

โครงสร้างของข้อเข่า    ประกอบด้วยปลายกระดูก2-3ชิ้นยืดติดกันด้วยเอ็นยืดระหว่างข้อ บางข้ออาจมีเอ็นยึดภายในข้อส่วนปลายกระดูกจะเป็นส่วนของกระดูกอ่อนที่มีความหนา ความแข็งแรง เป็นมันผิวเรียบ ภายในข้อมีของเหลวเล็กน้อย ละยังมีเนื้อเยื่อพิเศษบุภายใน เพื่อเสริมความมั่นคงโดยเฉพาะข้อตะโพก ข้อเข่า ที่ดีต้องรับน้ำหนัก

หน้าที่ของข้อเข่า

-เคลื่อนไหวจากการดึงของกล้ามเนื้อ

-รับน้ำหนัก

-ข้อเสื่อมเป็นภาวะหรือโรคเรื้อรังที่เกิดจากเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของข้อต่อจากเดิมที่เป็นปกติ

เข่าเสื่อม.6

ลักษณะสำคัญของโรคข้อเข่าเสื่อม

-เกี่ยวข้องกับการใช้งาน

-เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น ต่พบว่าบางรายก็เกิดข้อเสื่อมได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

-เกิดในข้อที่ได้รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง และข้อปลายนิ้ว

-อาจจะเกิดตรงข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายๆข้อได้

-การเสื่อมจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตลอดเวลาจะไม่มีทางกลับคืนมาเป็นปกติเหมืออนเดิม การเสื่อมมากหรือเสสื่อมน้อยไม่เหมือนกันในแต่ละคน ขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่าง

-เกิดได้ในคนทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคเรื้อรังใดๆ

เข่าเสื่อม.3

สาเหตุของข้อเข่าเสื่อม

แบ่งเป็น 2กลุ่มใหญ่ๆคือ แบบที่ทราบสาเหตุและไม่ทราบสาเหตุ

-อาการบาดเจ็บ ที่จำเป็นต้องตัดบางส่วนของโครงสร้างที่ถูกทำลายไปแล้วออกไป

-โครงสร้างข้อกระดูกผิดรูป

-โรคข้ออักเสบ

-โรคติดเชื้อ

-โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เก๊าท์

-ภายหลังการผ่าตัดในข้อ

-ปัจจัยเสื่อมที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

-การบาดเจ็บโดยเฉพาะการบาดเจ็บที่รุนแรงหรือ การเกิดการบาดเจ็บซ้ำซาก

-อายุมากขึ้น-คนสูงอายุ

-คนอ้วนน้ำหนักเกิน

-กระดูกพรุน(กระดูกบาง)

-อาชีพที่ต้องเดิน ยืน นานๆ

-เพศหญิงมีโอกาสเกิดการเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย

-กรรมพันธุ์

 

เข่าเสื่อม.4

อาการของโรคข้อเสื่อม

ระยะเริ่มแรก          ที่สำคัญคืออาการปวดบวมแดงร้อนของข้อ อาการปวด อักเสบดังกล่าว เป็นสัญญาณเพื่อเตือนให้ลดการใช้งานลง ให้ข้อได้พักอาการอักเสบจะได้ทุเลาลง ถ้ายังคงใช้งานต่อข้ออาจมีของเหลวเพิ่มขึ้น เมื่อตรวจจะพบข้อบวมมากขึ้น

ระยะปานกลาง     เมื่อกระดูกอ่อนเริ่มมีการสึกกร่อนข้อจะมีอาการอักเสบภายหลังการใช้งานกล้ามเนื้อเริ่มปวดเมื่อย อ่อนแรง ข้อเริ่มโค้งงอ ที่เห็นชัดเจน คือ ข้อเข่าที่เริ่มโค้งงอมากขึ้นพิสัยการเคลื่อนไหวเริ่มติดขัดเหยียดงอไม่สุดเหมือนปกติ

ระยะรุนแรง            เมื่อกระดูกอ่อนสึกกร่อนมากขึ้น ข้อจะเริ่มหลวมไม่มั่นคง ข้อหนาตัวขึ้นจากกระดูกงอกหนา ข้อโก่งงอ ผิดรูปชัดเจน เวลาเดินต้องการขากว้างมากขึ้น เพิ่มเสริมความมั่นคงกล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล้กลง ขระลุกขึ้นจากท่านั่งจะมีอาการปวดที่รุนแรง

เข่าเสื่อม.5

การรักษาโรคข้อเสื่อมเบื้องต้น

1 ประคบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเมื่อข้อเกิดการอักเสบ

2การลดน้ำหนักตัวเพื่อลดน้ำหนักที่มากระทำกับข้อเข่า ลดการใช้งานของข้อเข่า เครื่องพยุงข้อหรือใช้ไม้เท้าช่วยเดินขณะเกิดการอักเสบ

3 บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ

4 หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่อาจทำให้กระดูกหักผ่านข้อ เอ็นยึดข้อฉีกขาด ข้อแพลง เป็นต้น

5 การรักษาโดยการใช้ยา

6 การใช้อุปกรณ์พยุงเข่าและใช้ไม้เท้าช่วยเดิน อุปกรณ์พยุงข้อเข่า แบบล็อกเข่า พยุงร่วมกับลูกสะบ้า

7การรักษาโดยการผ่าตัด

ท่าบริหารสำหรับออกกำลังกาย

ควรใช้พวกแรงต้านในการออกกำลังกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เช่น ยางยืดหรือ ถุงทราย

เข่าเสื่อม.8

kneetransplant

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Arthroplasty)

ความหมาย

การผ่าตัดที่ใช้ในการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรงโดยการนำเอาส่วนผิวข้อเข่าที่เสื่อมแล้วออกไป แล้วทดแทนด้วย ผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด ทั้งส่วนของกระดูก Femur, Tibia และ Patella

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

เนื่องจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยสามารถทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดทรมาน สามารถเดินขึ้นและ ลงบันไดได้ดีขึ้น ระยะทางที่เดินได้ไกลมากขึ้น  รวมถึงรูปร่างของข้อเข่าดูสวยงามขึ้น แต่เนื่องจากข้อเข่าเทียม มีอายุใช้งานโดยเฉลี่ยประมาณสิบกว่าปี แล้วจะหลุดหลวม ซึ่งจำเป็นต้องทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าใหม่อีกครั้ง จึงมีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสม ดังนี้
1. ผู้ป่วยสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มีโรคข้อดังกล่าวในระยะปานกลางและท้ายซึ่งมีอาการปวด ขัดมาก รักษาโดยใช้วิธีทานยา กายบริหาร  ใส่เครื่องช่วยพยุง  และจำกัดกิจกรรม  แล้วไม่ได้ผล
2. อาการข้อเข่าโก่งผิดรูป หรือเหยียดงอได้น้อยกว่าปกติ ที่ตรวจพบว่าเกิดร่วมกับข้อเข่าเสื่อมและมีอาการปวด ขัด
3. ผู้ป่วยอายุน้อยตั้งแต่ 60 ปีลงมาที่มีโรคข้อเสื่อมมากจากเคยมีกระดูกหักหรือเหตุต่างๆของข้อมาก่อน ที่มีอาการปวด ขัด เป็นมากรักษาวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล  และไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม   โรคข้ออักเสบต่างๆเช่น รูมาตอยด์ เก๊าท์ เอสแอลอี เป็นต้น ที่มีอาการปวด ขัด เป็นมาก รักษาวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล

 

ข้อห้ามการทำผ่าตัดข้อเข่าเทียม

1. ข้อเข่าอักเสบติดเชื้อ
2. ข้อเข่าเสื่อมแบบมีความผิดปกติของการรับรู้อาการปวด

 

ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ชนิดหนึ่ง อาจทำให้เกิดข้อแทรกซ้อนจากการผ่าตัด  หรือผลกระทบจาก การผ่าตัด ซึ่งไม่ต่างจากการผ่าตัดใหญ่ทั่วๆไป แต่เนื่องจากการผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดที่นัดหมายเวลาได้ จึงทำให้ในปัจจุบันนี้ มีการควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดข้อแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเป็นอย่างดีก่อนการผ่าตัด ทำให้ข้อแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียมในปัจจุบันพบได้น้อยมาก ข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้
1. การติดเชื้อของแผลผ่าตัด
2. ความไม่มั่นคงของข้อ ข้อเทียมหลุดหลวม
3. กระดูกหักบริเวณรอบๆข้อเทียม
4. ข้อเทียมชำรุด หรือ หัก
5. แนวขาผิดปกติหลังการผ่าตัด
6. เส้นประสาททำงานผิดปกติ
7. เส้นเลือดฉีกขาด
8. ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา
9. ขายาวไม่เท่ากัน
10. งอข้อเข่าไม่ได้เท่าที่ควร

ผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนได้สูงกว่าคนทั่วไป
1. ผู้ป่วยที่มีโรคทางอายุรกรรมที่ควบคุมไม่ดี เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน
2. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน 102 กิโลกรัม
3. ผู้ป่วยที่มีกระดูกบางมาก หรือกระดูกมีขนาดเล็กมาก

 

3

 

 

ส่วนประกอบของข้อเข่าเทียม
ส่วนประกอบของข้อเทียมประกอบด้วยส่วนใหญ่ 3 ส่วน คือ

1. ส่วนฝาครอบบนกระดูกต้นขา (femoral component) เป็นวัสดุทางการแพทย์ ที่ทำจากโลหะกลุ่มโครเมียม (Cobalt-Chrome alloy) ซึ่งเป็นโลหะที่เหมาะสมที่สุดในการทำผิวข้อ คือ มีคุณสมบัติแข็ง มัน วาว ไม่เป็นสนิม ไม่สึกกร่อนง่าย ไม่เกิดประจุไฟฟ้า และ ไม่ก่อให้เกิดสารมะเร็ง มีลักษณะเป็นฝาครอบที่มีรูปร่างภายนอกเหมือนกับกระดูกผิวข้อ เมื่อใส่เข้าไปแล้วจะทำให้มีลักษณะภายนอก คล้ายผิวข้อของกระดูกต้นขาปกติ

2. ส่วนแป้นวางบนกระดูกหน้าแข้ง พร้อมหมอนรองข้อเทียม (tibial component)  ตัวแป้นโลหะเป็นวัสดุทางการแพทย์  ที่ทำ จากโลหะกลุ่มไททาเนียม (Titanium alloy) ซึ่งเป็นโลหะที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นตัวกลางถ่ายน้ำหนักระหว่างกระดูก กับ ข้อเทียม คือ มีคุณสมบัติแข็งใกล้เคียงกับกระดูกมนุษย์ ไม่เป็นสนิม ไม่เกิดประจุไฟฟ้า และไม่ก่อให้เกิดสารมะเร็ง ลักษณะเป็นแป้นสำหรับวาง บนกระดูก และมีเดือยคล้ายเสาเข็มเพื่อยื่นเข้าไปในโพรงกระดูกหน้าแข้ง

3. หมอนรองข้อเทียม เป็นโพลีเมอร์ ที่มีเนื้อแข็งมาก (ultrahigh molecular weight polyethylene) และเป็นวัสดุเกรดสูง คือมี ความบริสุทธิ์มากสำหรับใช้ในทางการแพทย์เฉพาะ มีคุณสมบัติเป็นผิวสัมผัสของข้อ ทำหน้าที่ทั้งเป็นผิวข้อ และหมอนรองข้อ ส่วน ผิวกระดูกสะบ้าเทียม (patella component) ผิวสะบ้าเทียม เป็นวัสดุทางการแพทย์ชนิดเดียวกับหมอนรองข้อเทียม คือเป็นโพลีเมอร์ มีลักษณะเป็นชิ้นคล้ายเหรียญ

 4

การเตรียมตัวทั่วไปก่อนการผ่าตัด

ผู้ป่วยต้องได้รับการร่วมประเมินจากแพทย์  เพื่อให้ทราบว่าสภาพทั่วไปของร่างกายแข็งแรง   พอที่จะทนต่อการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งมีระยะเวลาผ่าตัด ประมาณ 2 ชั่วโมง และอาจต้องเสียเลือดประมาณ 300-900 ซีซี ได้ (โดยการผ่าตัดไม่มีการเลียเลือด เนื่องจาก ใช้แผ่นรัดต้นขาทำให้เลือดไม่ออก)   ปริมาณเลือดที่ออกนี้ใกล้เคียงกับการบริจาคเลือดประมาณ 1-2 ครั้ง   ดังนั้น  ในผู้ป่วยที่มีความ เข้มข้นของเม็ดเลือดแดงน้อย มักมีความจำเป็น ต้องได้รับเลือดชดเชย

การบริหารกล้ามเนื้อก่อนการผ่าตัดข้อเข่า

ผู้ป่วยควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อเหยียดขาให้แข็งแรงล่วงหน้า เพื่อช่วยให้ผลของการผ่าตัดดี   และสามารถมีพัฒนาการสู่ การเดินแบบปกติได้โดยเร็ว โดยการฝึกบริหารกล้ามเนื้อทำได้ด้วยการนั่งบนเก้าอี้ แล้วเหยียดข้อเข่าตรงและเกร็งค้างไว้เป็นเวลา ประมาณ 10-15 วินาที แล้วจึงคลายและงอข้อเข่าลง การทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการบริหารกล้ามเนื้อ 1 ครั้ง   ผู้ป่วยควรฝึกการบริหาร ดังกล่าว ทุกวัน โดยบริหารวันละ 100-200 ครั้ง

นั่งบนเก้าอี้ และเหยียดขาข้างที่ผ่าตัดขึ้นตรง ดังภาพ

เกร็งขาค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที (นับเป็น หนึ่งครั้ง) แล้วจึงเอาขาลง

ทำซ้ำประมาณวันละ 100-200 ครั้ง

9

วิธีการผ่าตัด

        แพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดบริเวณหัวเข่ายาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร เมื่อเปิดเข้าข้อแล้ว แพทย์จะผ่าตัดเอาผิวกระดูก ส่วน ต้นขา ออกหนาไม่เกิน 9-10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกส่วนหน้าแข้งออกหนาไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกสะบ้าออก ประมาณ ไม่เกิน 8 มิลลิเมตร กระดูกที่เอาออกมาจากทั้ง 3 ส่วนนั้น เป็นส่วนที่เป็นผิวของข้อเข่าที่เสื่อมสภาพ ถ้าเปรียบกับพื้นบ้าน ก็คง เหมือนกับการที่เราเอากระเบื้องปูพื้นที่สึกหรือชำรุดออก แล้วเตรียมพื้นบ้านใหม่ จากนั้นก็ปูกระเบื้องชุดใหม่เข้าไปแทน
ไม่เพียงแต่เอากระดูกที่เสื่อมออก การผ่าตัดยังมีความละเอียดกว่านั้นคือ แพทย์จะต้องปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อ รอบข้อเข่า เพื่อให้ขาดูรูปร่าง ปกติ ไม่โก่งผิดรูป และยังต้องตั้งตำแหน่งการวางผิวข้อเทียมให้ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนนี้เปรียบเสมือน การตั้งศูนย์ล้อของรถยนต์ ตำแหน่งที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วย เดินได้ดี และข้อเข่าเทียมจะมีความทนทาน ซึ่งขั้นตอนนี้ ต้องอาศัย แพทย์ที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์สูง หรือควรมีอัตราการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าขั้นต่ำ ในแต่ละปีมากกว่า 30 รายขึ้นไป ซึ่งแพทย์ที่ชำนาญจะสามารถหาจุดอ้างอิงต่าง ๆ บนกระดูกข้อเข่าได้อย่างง่าย และแม่นยำ จากนั้นก็ประกอบเครื่องมือ ที่ใช้ในการ ตัดกระดูก ซึ่งมีการกำหนดค่ามุมในท่าเหยียด งอข้อเข่า และขนาดของข้อเทียมที่เหมาะสม นอกจากนั้นแล้ว แพทย์ยังต้องตรวจสอบ ดูการ เคลื่อนไหวของข้อให้ได้ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยคนนั้นๆด้วย
โดยทั่วไปผิวข้อเทียมที่ใส่เข้าไปนั้นจะมีความหนา และมีขนาดใกล้ เคียงกับผิวกระดูกส่วนที่ถูกตัด ออกไป และการที่แพทย์ ใช้สารยึดกระดูก ในการยึดผิวข้อเทียมกับกระดูกจะทำให้การยึดติดของข้อเทียมกับกระดูกมีความแข็งแรงมาก จนสามารถให้ผู้ป่วย เดินลงน้ำหนักได้หลังจากการรผ่าตัดอย่างรวดเร็ว

 5
                                          

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด 48 ชั่วโมงแรก

หลังจากการผ่าตัด แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนราบบนเตียงก่อน ขาทั้งขาถูกพันด้วยผ้ายืด ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบริเวณ ผ่าตัดมากอยู่ 48 ชั่วโมง ทั้งนี้แพทย์จะให้ยาระงับ อาการปวดอย่างเต็มที่ในขณะ 48 ชั่วโมงนี้ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีว่า อาการ ปวดจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ถือได้ว่าเป็นการปวดหลังการผ่าตัดที่รุนแรงมากชนิดหนึ่ง เมื่อรู้สึกขามีกำลังขยับเท้า ได้แล้ว ผู้ป่วยควรกระดิกนิ้วเท้าขึ้น ลง และกระดกข้อเท้าขึ้น ลง บ่อย ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้การไหลเวียนของเลือดเข้าสู่ปกติเร็วขึ้น
หลังจากการผ่าตัด อาจสังเกตได้ว่ามีสายสำหรับให้เลือดที่คั่งค้างอยู่ในแผล (เลือดเสีย) ไหลออกสู่ขวด ซึ่งแพทย์มักเอา สายเลือดเสียออกภายใน 24 – 48 ชั่วโมง โดยเลือดที่ออกมีปริมาณตั้งแต่ 300-900 ซีซี ในผู้ป่วยหลายรายที่มีเลือดจาง อาจต้อง ให้เลือด จำนวน 1-2 หน่วยได้ โดยทั่วไปแพทย์ มักคาสายสวนปัสสาวะให้กับผู้ป่วยไว้เลย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาการลุกนั่ง หรือ เคลื่อนไหวเพื่อปัสสาวะ และสายสวนเหล่านี้สามารถเอาออกได้ เมื่อผู้ป่วยสามารถเดินได้แล้ว
ภายหลังการผ่าตัด แพทย์ต้องถ่ายภาพทางรังสี หลังผ่าตัด เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของข้อเทียม และแนวแกนขา รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ว่าเป็นไปตามที่วางแผนไว้ก่อนการผ่าตัด   ผู้ป่วยควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าอย่างสม่ำเสมอ และฝึกการเหยียดงอข้อเข่าอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปการเหยียด งอข้อเข่ามัก เปลี่ยนแปลงได้มากในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากการผ่าตัด ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาที่ควรฝึกบริหาร อย่าง เต็มที่ และควรงอข้อเข่าได้อย่างน้อย 100 องศา ผู้ป่วยทุกคนจะรู้สึกว่าตึงและปวดข้อเข่าขณะพยายามงอข้อเข่า แต่พบว่าเมื่อผู้ป่วย ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้วอาการปวดและตึงมักน้อยลงจนนหายไป  ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินว่าได้ผลการรักษาดี คือ เดินแล้วไม่มี อาการปวดเหมือนก่อนการผ่าตัด มีแนวของขาข้างที่ผ่าตัดอยู่ในแนวที่ดี มีการเหยียดข้อเข่าได้สุดหรือเกือบสุด และงอข้อเข่าได้ ประมาณ 100 องศาขึ้นไป

6
10
ภาพการฝึกงอข้อเข่า

การฝึกงอข้อเข่า 

โดยผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ที่มีล้อ เลื่อนเก้าอี้ไปข้างหน้า โดยตรึงเท้าให้อยู่กับที่ จะทำให้เข่างอมากขึ้น ให้ทำต่อเนื่องช้า ๆ แต่ทำ บ่อย ๆ ทุกวันในช่วง 6 สัปดาห์แรก   เมื่อข้อเข่าเริ่มเข้าสู่ภาวะคงที่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปประมาณ 6 เดือน ข้อเทียมจะมีความ แข็งแรง เสมือนว่าเป็นข้อเข่าของผู้ป่วยเอง  จึงไม่จำเป็นต้องกังวลว่าข้อจะหลุดออกมา   ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ ขึ้นลงบันไดได้ สามารถออกกำลังกายเช่น เดินเร็ว ๆ รำมวยจีน เล่นกีฬาเช่น ว่ายน้ำ กอล์ฟ ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ที่หนักเช่นการวิ่งเร็ว การกระโดดอย่างต่อเนื่อง การเล่นกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น เทนนิส เป็นต้น การนั่งที่เหมาะสม ควรนั่งบนเก้าอี้ มีผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่สามารถนั่งยอง ๆ หรือนั่งขัดสมาส หรือนั่งพับเพียบได้

การมาพบแพทย์ตามนัด

แพทย์จะนัดมารับการตรวจอีกครั้งเพื่อประเมินสภาพทั่วไป และตัดไหม ภายใน 2-3 สัปดาห์นับจากวันผ่าตัด หลังจากนั้นการนัด จะห่างขึ้น เช่นทุก 3-6 สัปดาห์ พร้อมกับการถ่ายภาพทางรังสีเป็นครั้งคราว เมื่อผู้ป่วยดูปกติดีแล้ว แพทย์มักจะนัดมารับการ ตรวจทุก 6 เดือน ถึง 1 ปี

คำแนะนำก่อนกลับบ้าน

1. สังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการปวดบวม

2. การเลื่อนหลุดของข้อเข่าเทียม ให้มาพบแพทย์ทันที

3. การมาตรวจตามนัด

4. การรับประทานยาต้านการอักเสบตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

5. ควบคุมน้ำหนักเพื่อช่วยในการถนอมอายุการใช้งานแก่ข้อเข่าใหม่

6. แนะนำการใช้เครื่องช่วยเดินในระยะแรก เพื่อสร้างความมั่นคงในการเคลื่อนไหว

7. แนะนำการบริหารกล้ามเนื้อขาอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

ท่ากายบริหารกล้ามเนื้อขา

1. นอนราบเหยียดหัวเข่าให้ตรง กดหัวเข่าข้างที่ทำผ่าตัดให้แนบชิดกับพื้น

2. นอนราบให้งอหัวเข่าข้างดี ยกขาข้างที่ทำผ่าตัดให้ได้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้

3. นั่งตัวตรง หลังพิงเก้าอี้ ยกปลายเท้าให้สูงเท่าระดับเก้าอี้ เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาไว้

4.นอนคว่ำ งอเข่าทั้งสองข้างให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

 

การเริ่มหัดเดินโดยใช้ walker

การเดินขึ้นบันไดโดยใช้ไม้ยันรักแร้

วางไม้เท้าทั้งสองข้างให้ตรง และมั่นคง เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกาย ยกเท้าข้างที่ไม่ได้ รับการผ่าตัดขึ้น และวางไปบนบันไดขั้นแรก โน้มตัวไปข้างหน้า โดยใช้ไม้เท้าทั้งสองข้าง และเท้าข้าง ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด เป็นเครื่องช่วยรับน้ำหนักตัว จากนั้นยกเท้าข้างที่ได้รับ
การผ่าตัดขึ้นและวางไว้ที่ขั้นบันได คุณอาจต้องการ คนช่วยท่านขณะขึ้นบันไดใน 2-3 ครั้ง
แรกๆ จนกระทั่งท่านรู้สึกคุ้นเคยกับการขึ้นบันได

การเดินลงบันไดโดยใช้ไม้ยันรักแร้

การก้าวเท้าข้างที่ผ่านการผ่าตัดในจังหวะเดียวกันกับการเคลื่อนไม้เท้าทั้งสองข้างลงไปบนบันไดขั้นที่อยู่ต่ำลงไป ใช้ไม้เท้าทั้งสองข้างงเพื่อให้เกิดความสมดุล และรองรับน้ำหนักตัวขณะ ก้าวลงบันได ซึ่งในระยะแรกๆ ท่านอาจต้องการผู้ช่วย

 

ที่มา  http://www.phraehospital.go.th/or/TKA.html

 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

 

 

More