เทคนิคการไอเพื่อขับเสมหะ
หายใจเข้าทางจมูกให้มากที่สุด กลั้นหายใจไว้ 1-2 วินาที ใช้ผ้าหรือทิชชู่ปิดปากไว้ แล้ว ไอออกมาโดยเร็วและแรง2ครั้งติดกัน
เคาะปอดช่วยขับเสมหะได้อย่างไร
สาเหตุของการเกิดเสมหะ
เสมหะเกิดจากการระคายเคืองหรืออักเสบของทางเดินหายใจและปอด ทำให้เยื่อบุผิวภายในของทางเดินหายใจและปอดผลิตน้ำคัดหลั่งมีลักษณะเหลวใส ถ้าสั่งออกมาได้ทางจมูกเราก็มักเรียกว่าน้ำมูกถ้าออกผ่านทางปากก็มักเรียกว่าเสมหะ
น้ำมูกที่เกิดขึ้นในจมูกและโพรงจมูกจะกระตุ้นปลายประสาทที่อยู่ในโพรงจมูก ทำให้เกิดการจาม
ส่วนเสมหะที่เกิดในคอ หลอดลม และถุงลมนั้น ถ้ามีการไหลมายังหลอดลมใหญ่ก็จะกระตุ้นปลายประสาทให้มีการไอ
การเคาะปอด
การเคาะปอดจะช่วยให้เสมหะที่ติดค้างอยู่ตามถุงลมเกิดการสั่นสะเทือนและหลุดล่อนออกจากถุงลมโดยจะทำร่วมกับการจัดท่า หรือทำการเคาะปอดก่อนแล้วค่อยจัดท่า เพื่อให้เสมหะที่หลุดออกจากถุงลมไหลออกไปตามแขนงปอด
ข้อห้ามในการเคาะปอด
– ไอมีเสมหะปนเลือด
– โรคหัวใจ หรือหลอดเลือดโป่งพอง
– กระดูกซี่โครงหัก
– วัณโรคปอดระยะเฉียบพลัน
– มะเร็งปอด
-ถุงหนองในเนื้อปอดในตำแหน่งใกล้เยื่อหุ้มปอด
– หนองหรือของเหลวในเยื่อหุ้มปอด
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ปอด ( lung ) : เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ
หน้าที่หลักของปอด : คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือนลูกโป่ง ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว้า ถุงลม เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง เกิดขึ้น
- ปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือ ขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดหุ้มปอดทั้งสอง ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกัน
กระบวนการหายใจ : ทางเดินหายใจของคน

1) อากาศเข้าสู่จมูก (จมูกจะมีโพรงจมูกภายในโพรงจมูกจะมีขนเล็กๆและน้ำเมือกทำหน้าที่กรองฝุ่นและทำให้ลมหายใจชุ่มชื้น)
2) จากนั้นอากาศผ่านไปตามคอหอย (pharynx) โดยมีช่องลม (glottis) เป็นช่องที่อยู่บริเวณฐานของคอหอยช่องนี้มีฝาปิดช่องลม (epiglottis) คอบปิดเปิดไม่ให้อาหารหลุดเข้าไปในหลอดลม
3) อากาศเข้าสู่หลอดลมคอปลายสุดของหลอดลมคอแยกออกเป็นหลอดลม (bronchus) ซ้ายและขวาสู่ปอดทั้งสองข้างหลอดลมจะแตกแขนงเล็กลงทุกทีเรียกว่าหลอดลมฝอย (bronchiole) ซึ่งมีจำนวนมากมายผนังหลอดลมจะบางลงตามลำดับปลายสุดของหลอดลมเหล่านี้จะเป็นถุงลม (alveolus) ทั้งหลอดลมคอหลอดลมและหลอดลมฝอยตอนต้นๆจะเป็นกระดูกอ่อนรูปเกือกม้าเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ เพื่อป้องกันการแฟบจากแรงกดของเนื้อเยื่อรอบๆในที่สุดอากาศก็จะผ่านเข้าสู่ถุงลมได้
4) เมื่ออากาศเข้าสู่ถุงลม แก๊สออกซิเจนจะแพร่ออกจากถุงลม โดยจับกับเม็ดเลือดแดงปนไปกับเลือด เพื่อลำเลียงเข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกาย
5) เมื่อแก๊สออกซิเจนแพร่เข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกาย แก๊สออกซิเจนเผาผลาญสารอาหารในเซลล์ร่างกาย เกิด พลังงาน น้ำ และ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดในเซลล์ร่างกาย จะแพร่ออกจากเซลล์ปนกับเลือด เพื่อลำเลียงไปยังปอด โดยจะแพร่ผ่านเส้นเลือดฝอยที่ล้อมรอบถุงลม และเข้าสู่ถุงลมเพื่อขับออกนอกร่างกายโดยกระบวนการหายใจออก
“โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คืออะไร”
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ การสูบบุหรี่ โดยโรคนี้ประกอบไปด้วยโรค 2 ชนิดย่อย คือ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการไอและมีเสมหะเรื้อรังเป็นๆหายๆ อย่างน้อยปีละ 3 เดือนและเป็นอย่างน้อย 2 ปีติดต่อกัน ส่วนโรคถุงลมโป่งพองนั้นเกิดจากถุงลมโป่งพองตัวออกทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติไป โดยทั่วไปเรามักพบ 2 โรคนี้เกิดร่วมกันและแยกออกจากกันได้ยาก
“อาการเป็นอย่างไร”
อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่สำคัญ คือ อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่าย ต้องออกแรงหายใจมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่อาการกำเริบ รวมถึงอาจมีเสียงหายใจดังวี๊ดขณะหายใจเข้า นอกจากนั้น มักพบอาการอ่อนเพลียเนื่องจากต้องออกแรงเพิ่มในการหายใจ และต้องใช้กล้ามเนื้ออื่นช่วย เช่น กล้ามเนื้อคอ หน้าท้อง ไหล่ เป็นต้น เมื่ออาการกำเริบมากขึ้นผู้ป่วยจะทำกิจกรรมต่างๆได้น้อยลงจนต้องเข้ารับการ รักษาที่โรงพยาบาล สำหรับอาการหอบเหนื่อยจะเป็นอาการสำคัญของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดโรคถุง ลมปอดโป่งพอง
ถ้าทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
1. การฝึกหายใจที่ถูกต้องช่วยได้

1.1. การหายใจแบบเป่าปาก
1.2 การหายใจด้วยกะบังลม
2. วิธีการควบคุมการไอ : เพื่อช่วยให้ปอดโล่งขึ้น

3. แนวทางชีวิตเพื่อสุขภาพ
3.1. การออกกำลังกายให้ประโยชน์มาก

– เพิ่มความแข็งแรง
- จะช่วยลดปัญหา การหายใจไม่ทัน
- การยกน้ำหนักหรือยกกระป๋องอาหารหนักๆ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้
– เพิ่มความยืดหยุ่น
- ช่วยลดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยให้การทรงตัวได้สมดุลขึ้น
- พยายามทำตัวผ่อนคลายในการเหยียดทุกครั้ง และอย่ากลั้นหายใจ
– เพิ่มความทนทาน
- ช่วยให้คุณปฏิบัติภารกิจได้นานขึ้น
- เดินด้วยความเร็วในระดับที่คุณยังพูดคุยได้โดยไม่รู้สึกหายใจไม่ทัน
3.2 ปรับนิสัยบางประการ
– รับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง ควรแบ่งอาหารมื้อย่อยวันละหลายมื้อแทนที่จะเป็นมื้อหนัก 3 มื้อ วิธีนี้จะช่วยลดแรงที่ดันกะบังลม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหายใจไม่ทัน
– ดื่มน้ำมากๆ

- การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้มูกไม่ข้นและขับออกมาด้วยการไอได้ง่ายขึ้น
- ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด
– ที่สำคัญ คือ ต้องเลิกบุหรี่

4. เลี่ยงสิ่งก่อความระคายเคือง
4.1 ระคายเคืองในอากาศ
- ควันบุหรี่
- ฝุ่นละอองในบ้าน
- ละอองเกสรดอกไม้,เศษหญ้า
- หมอกควัน
4.2 อากาศเปลี่ยนแปลง
- อากาศเย็น
- อากาศร้อน
- อากาศแห้งชื้นมาก
4.3 กลิ่นและไอระเหย
- สารที่มีกลิ่นฉุน เช่น น้ำหอม แอมโมเนีย
- ละอองสเปรย์
4.4 สัตว์ เช่น สุนัข แมว นก
5. ควบคุมอาการด้วยยา

5.1 ยาขยายหลอดลม : ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น
- ช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมคลายตัว ลดการบีบรัดของหลอดลม
- ช่วยลดความถี่ในการกำเริบของโรค
- ช่วยบรรเทาอาการไอและลดเสมหะ
- ลดความจำเป็นในการใช้ยาสูดพ่น
5.2 ยาละลายเสมหะ : ควบคุมการสร้างและการขับเสมหะ
- ลดการสร้างเสมหะโดยยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่สร้างเสมหะโดยตรง
- เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของเสมหะ ทำให้ไอขับออกมาได้ง่ายขึ้น
- สะดวกใช้ โดยรับประทานยาเพียงวันละครั้งเดียว
- หลังจากหยุดยาจะยังมีผลในการรักษาต่ออีกระยะหนึ่ง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
More