All Posts tagged ภาวะการกลืนลำบาก

ตอนที่61:กิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ตอนที่61:กิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ดื่มน้ำ

กิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

ภาวะการกลืนลำบาก

ภาวะการกลืนลำบาก หมายถึง ภาวะที่มีขบวนการกลืนบกพร่องหรือถูกรบกวน ทำให้ไม่สามารถกลืนน้ำและกลืนอาหารได้เหมือนปกติ เช่น กลืนช้า กลืนแล้วเจ็บ หรือกลืนไม่ลง

 

การตรวจประเมินภาวะการกลืนลำบาก

1. สภาวะของผู้ป่วย

– ดูระดับความรู้สึกตัว ผู้ป่วยต้องมีระดับการรู้สึกตัวดี

2. ความสามารถในการกลืน

2.1 โครงสร้างของช่องปาก สังเกตความผิดปกติของช่องปาก

– ฟันปลอม

– แผลในปาก

– เลือดออกในช่องปาก

2.2 การทำงานของกล้ามเนื้อ

– ปาก : การห่อปาก ภาวะน้ำลายไหล การปิด-เปิดปาก

– ลิ้น : ดูการแลบลิ้น การเคลื่อนไหวไปด้านหลัง

– ขากรรไกร : ดูการปิด-เปิด การเคลื่อนไปด้านข้าง

2.3 การทดสอบ Oral Apraxia

– ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในช่องปาก ทดสอบโดยการออกคำสั่งให้ทำตาม แล้วดูว่าทำได้ทันที หรือต้องทำให้ดูก่อน

2.4 ทดสอบความสามารถในการกลืน

– ดูการสำลัก/ไม่สำลัก น้ำลายตัวเอง

– น้ำ 5 cc.-10 cc.

– คลำกล่องเสียง ขณะกลืนน้ำลาย (ดูว่ามีการเคลื่อนไหว หรือไม่) และดูระยะเวลาในการกลืน ใช้เวลามากที่สุด 1-3 วินาที

– อมลมในปากแล้วกดแก้ม (ดูว่ามีลมออกจากปาก หรือจมูก)

– ดูจำนวนครั้งในการกลืนอาหารในแต่ละคำจนหมด

– ดูอาหารและน้ำที่เหลือในปาก

– เสียงผิดปกติ เช่น เสียงแหบ (hoarseness) หรือ ออกเสียงลำบาก (Dysphonia) หรือ เสียงพร่า (Gurgling voice/Wet voice)

 

การรักษา/ฟื้นฟูของภาวะการกลืนลำบาก

1. การจัดท่า

ท่านั่ง : จัดท่าให้สะโพกและเข่างอเล็กน้อยจะช่วยยับยั้งความตึงตัวของกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ ควรให้มีการก้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ทำได้โดยหนุนหมอนใต้หลังของผู้ป่วย โดยคำนึงถึง

  • สมดุลการทรงตัว ลำตัว คอ และเชิงกรานไม่เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
  • นั่งบนผิวเรียบไม่ยืดหยุ่น เท้าวางราบบนพื้น
  • เข่างอ 90 องศา
  • ลำตัวโน้มไปด้านหน้าเล็กน้อย
  • ลงน้ำหนักบนสะโพกทั้งสองข้างเท่ากัน
  • หลังตรง
  • มือวางบนโต๊ะ
  • ศีรษะและคออยู่กึ่งกลางลำตัวและก้มหน้าเล็กน้อย
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยทรงตัวไม่ดี อาจพิจารณาให้อยู่ในท่านั่ง โดยใช้หมอน หรืออุปกรณ์ช่วยพยุงตัว

2. การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ

2.1 ริมฝีปาก

– ทำปากจู๋ เป่าเทียน

– เม้มริมฝีปาก ยิ้มกว้างๆ

– การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบปาก

– กลั้วน้ำ

2.2 ลิ้น

– อมเกร็ดน้ำแข็งขนาดพอคำ (ให้ก้มหน้าเล็กน้อย ห้ามเงยหน้าเพราะจะทำให้หลุดลงคอ)

– การเคลื่อนไหวลิ้น ให้เลียริมฝีปาก หรือเลียไอศกรีม

– ไม้กดลิ้น กดกลางลิ้นและข้างปาก

– ให้ออกเสียง “ลา ลา คา คา คาลา คาลา”

2.3 ขากรรไกร

– ใช้มือโยกขากรรไกรไปมา

– ให้อ้าปาก หุบปาก

3. การรักษา Oral apraxia

สอนโดยการสาธิตให้ดู หรือใช้รูปภาพ หรือใช้วีดีโอ และใช้การสะท้อนกับสายตาและการมองเห็นร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการลองผิด ลองถูก สอนจากท่าง่ายไปท่ายาก และให้ทำซ้ำๆ

4. อาหาร ลำดับขั้นตอนการเลือกอาหาร เรียงจากง่ายไปยากดังนี้

4.1 อาหารบด หรือปั่นข้น เช่น โจ๊กข้น ฟักทองบด กล้วยขูด/บด สังขยา ไอศกรีม

4.2 อาหารบด หรือปั่นปานกลาง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวปั่น

4.3 อาหารอ่อนข้น เช่น โจ๊ก ข้าวต้มข้นๆ ข้าวสวยนิ่มๆ เนื้อสัตว์บด

4.4 อาหารทั่วไป เช่น ข้าวสวย ผลไม้ ผักต้ม

4.5 อาหารเหลวใส เช่น น้ำผลไม้ น้ำนม น้ำข้าว

หมายเหตุ : ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเครื่องเทศ และมีรสชาติที่เปรี้ยวเกินไป โดยเฉพาะ น้ำส้มสายชู

 

ทดสอบ Oral apraxia

  • แลบลิ้นออกมา
  • เอาลิ้นแตะจมูก
  • เอาลิ้นแตะคาง
  • กัดริมฝีปาก
  • ทำปากจู๋
  • ทำแก้มป่อง
  • ยิงฟัน
  • ทำฟันกระทบกันเบาๆ
  • แกว่งลิ้นไปมา ซ้าย-ขวา
  • ผิวปาก
  • ยิ้ม
  • กระแอม
  • เลียริมฝีปาก
  • อ้าปากกว้างๆ
  • เป่าลม
  • แลบลิ้น
  • ห่อลิ้น
  • ฟันกัดลิ้นเบาๆ
  • ไอ
  • กระดกลิ้น
  • ทำแก้มป่อง ซ้าย-ขวา
  • เม้มปาก ใช้ลิ้นเลียฟันบนด้านนอก
  • ใช้ลิ้นดันแก้มซ้าย-ขวา
  • ยื่นริมฝีปากล่าง

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

 

More