All Posts tagged ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ตอนที่168: ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ตอนที่168: ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

1.ภาวะข้อต่อหัวไหล่เคลื่อน (Shoulder subluxation)

การบำบัดฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด

หมายเหตุ แสดงภาพผู้ป่วยอ่อนแรงซีกขวา

1.1   การจัดท่าที่เหมาะสม

ท่านอนหงาย  ควรน้าผืนเล็ก วางที่ใต้สะบักด้านที่อ่อนแรง เพื่อป้องกันสะบักจม

168

ท่านอนตะแคง  ควรนำหมอนมารองใต้แขนและมือของผู้ป่วย ไม่ให้แขนตก

168 1

ในท่านั่ง ควรจัดให้แขนของผู้ป่วยวางอยู่บนหมอนหรือโต๊ะด้านหน้าผู้ป่วย

168 2

1.2   การจับและเคลื่อนไหวแขนอย่างถูกวิธี

ควรหลีกเลี่ยงในท่าดังต่อไปนี้

  • การยกแขนผู้ป่วยโดยการจับเฉพาะที่มือผู้ป่วยและสะบักยังไม่เคลื่อนมาข้างหน้าอีกทั้งกระดูกต้นแขนยังไม่อยู่ในลักษณะหมุนออกอย่างเพียงพอ
  • การยกไหล่ผู้ป่วยในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น จากเตียงไปยังเก้าอี้หรือรถเข็นนั่ง
  • การให้ผู้ป่วยดึงรอกเหนือศีรษะโดยใช้มือข้างปกติช่วย

168 3

1.3   การออกกำลังกาย

คงไว้ซึ่งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โดยใช้แขนข้างปกติช่วยพยุงแขนข้างอัมพาตโดยทำสม่ำเสมอในแต่ละวัน

168 4

ฝึกนั่งโดยลงน้ำหนักแขนด้านอัมพาต

168 5

หลีกเลี่ยงวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การยกหรือดึงแขนผู้ป่วย การเคลื่อนไหวข้อไหล่ให้แก่ผู้ป่วยโดยขาดความระมัดระวังเป็นต้น

1.4   ควรใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น hot pack,cold pack, ultrasound ในกรณีที่ปวดไหล่

1.5   เทคนิคการนวดเพื่อลดปวด

168 6

โดยใช้ฝ่ามือคลึงเป็นวงกลมเบาๆ บริเวณหัวไหล่

1.6   ควรให้มีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อไหล่

โดยการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน หรือน้ำหนัก เช่น ยก dumbbell เริ่มจาก น้ำหนักน้อยๆก่อน

168 7

1.7   การกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ด้วยกระแสไฟฟ้า (electrical stimulation)ซึ่งนิยมทำในระยะแรกที่มีอาการอ่อนแรง

1.8   ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อไหล่ (shoulder sling) ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ต้านแรง          ดึงดูดของโลก ได้แก่ ท่านั่ง ยืน และเดิน

168 8

  1. 2. ภาวะอาการแสบร้อนร้าวแขนมาที่มือ Reflex sympathetic dystrophy

2.1   การจับและเคลื่อนไหวแขนอย่างถูกวิธี

– ไม่ควรให้ข้อมืออยู่ในลักษณะกระดกลง แต่ควรอยู่ในลักษณะกระดกข้อมือเล็กน้อย โดยอาจใช้อุปกรณ์ดามมือ (splint) ร่วมด้วย

– เคลื่อนไหวมือและข้อมือของผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล

– ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแขนและมือด้วยตนเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีการหดตัว

2.2   การออกกำลังกายเพื่อคงไว้ซึ่งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

โดยใช้มือข้างปกติยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ

168 9

งอ-เหยียดศอก

168 10

กระดกข้อมือขึ้น-ลง

168 11

2.3   การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน

โดยการให้น้ำหนักเช่น ยก dumbbell เริ่มจากน้ำหนักน้อยๆ ก่อน เป็นต้น

168 12

2.4   ควรใช้เทคนิคการนวดเพื่อลดปวด

โดยใช้ฝ่ามือคลึงเป็นวงกลมเบาๆ บริเวณหัวไหล่แขน และมือ

2.5   ควรใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น hot pack,cold pack, ultrasound ในกรณีที่ปวด

 

  1. Deconditioning (decrease cardiovascular fitness)

3.1   ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด

การปั่นจักรยาน ,การใช้เครื่องฝึกเดิน หรือ การยกน้ำหนักด้วย dumbbell หรือ ถุงทราย

 

  1. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ

4.1   โปรแกรมกายภาพบำบัดทางระบบหายใจ

การฝึกการหายใจอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

4.1.1.การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมหน้าท้อง

เริ่มจากเอามือประสานกันไว้ที่หน้าท้องใต้ลิ้นปี่ หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ให้ท้องป่อง

จากนั้นหายใจออกทางปากช้าๆ ยาวๆ ให้ท้องยุบ

168 13

4.1.2.การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครงส่วนบน

วางมือทั้ง  2 ข้างบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า หายใจเข้าทางจมูกช้าๆจนสุด ให้ทรวงอกขยับขึ้น จากนั้นหายใจออกทางปากช้าๆ ยาวๆ ให้ทรวงอกขยับกลับมาที่เดิม

168 14

4.1.3.การฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครงส่วนล่าง

วางมือทั้ง 2 ข้างบริเวณชายโครง หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ลึกๆ ให้รู้สึกว่า ชายโครงขยายออกด้านข้าง จากนั้นหายใจออกทางปากยาวๆ ให้ชายโครงยุบกลับสู่ที่เดิม

168 15

 

4.1.4 การหายใจร่วมกับการเคลื่อนไหวของทรวงอกและลำตัว

เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อรอบทรวงอก หัวไหล่และลำตัว ซึ่งจะมีผลให้หายใจได้สะดวกขึ้น โดยทำพร้อมกับการหายใจ โดยแบ่งเป็น 2 แบบ

แบบที่ 1 นั่งตัวตรง ยกแขนทั้ง2ข้างขึ้น พร้อมหายใจเข้าเต็มที่ จากนั้น หายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับค่อยๆลดแขนลง

168 9

 

5.แผลกดทับ (pressure sore)

กรณีผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนย้ายบนเตียงได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและการสูญเสียการรับความรู้สึกบนผิวหนัง

5.1 ควรจัดท่านอนอย่างเหมาะสม

การจัดท่านอน

  • ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่รับแรงกดนานเกินไป ถ้าเปลี่ยนท่านอนแล้วรอยแดงบริเวณผิวหนังไม่หายภายใน 30 นาทีอาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนท่านอนได้บ่อยขึ้น โดยมีการหมุนเวียนเปลี่ยนท่านอน เช่น นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา สลับกันไป
  • การนอนตะแคง ควรจัดให้นอนตะแคง กึ่งหงาย ใช้หมอนยาวรับตลอดแนวลำตัว รวมทั้งบริเวณข้อเข่า ข้อเท้า ควรทำให้สะโพก ทำมุม 30 องศา และใช้หมอนรองตามปุ่มกระดูก และใบหู

168 16

  • การนอนหงาย ควรมีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่า ตาตุ่มทั้ง 2 ข้าง ขา 2 ข้าง และรองใต้น่องและขาเพื่อให้เท้าลอยพ้นพื้นไม่กดที่นอน

168 17

  • การจัดท่านอนศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา แต่ถ้าจำเป็นศีรษะสูงเพื่อให้อาหาร หลังจากให้อาหาร 30 นาที – 1 ชั่วโมง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศา
  • กรณีที่นั่งรถเข็น ควรให้มีเบาะรองก้น และกระตุ้นให้เปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัว หรือยกก้นลอยพ้นพื้นที่นั่งทุก 30 นาที

168 18

 การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด

  • อุปกรณ์ลดแรงกดอยู่กับที่ เช่น ที่นอนที่ทำจาก เจลโฟม ลม น้ำ หมอน เป็นต้น
  • อุปกรณ์ลดแรงกดสลับไปมา เช่น ที่นอนลม ไฟฟ้า
 
6.ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน (Deep vein thrombosis)

เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน

6.1 ควรงดการให้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษา (แต่เริ่มการออกกำลังกายได้เมื่อควบคุมโรคได้)

6.2 ควรนอนพักและจัดให้ร่างกายส่วนที่บวมอยู่สูงกว่าระดับหัวใจในท่านอนหงาย

6.3 ใช้ผ้าพัน พันบริเวณเท้าไล่ขึ้นมาบนขา เพื่อการ compression ลดการบวม

6.4 ออกกำลังกายโดยการกระดกข้อเท้าขึ้น-ลงบ่อยครั้ง

 

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

 

 

 

 

 

 

More