All Posts tagged ศอกบวม

ตอนที่52:โรคปวดศอกด้านนอก (Tennis elbow)

ตอนที่52:โรคปวดศอกด้านนอก (Tennis elbow)

 ปวดศอกด้านนอก (Tennis elbow)

ปวดข้อศอกด้านนอก มีอีกชื่อเรียกว่า เทนนิสเอลโบว์  มักพบการบาดเจ็บบริเวณนี้ในนักกีฬาเทนนิส ที่ใช้แขนตีท่าหลังมือ (Back hand) กลุ่มอาชีพแม่บ้าน (บิดผ้า , กวาดบ้าน , ถูบ้าน , ทำครัว) ยกของหนักเป็นประจำ  เมื่อมีการใช้งานแบบซ้ำๆ บ่อยเกินไป อาจทำให้เกิดการอักเสบหรือฉีกขาดบางส่วนของเอ็นกล้ามเนื้อเหยียดแขนหรือกระดกข้อมือ  มีจุดกดเจ็บ ปวดวมบริเวณกล่าว

 

ดาวน์โหลด (11)

 

อาการ

  • ปวดข้อศอกบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอก
  • มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอก
  • ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอก บางรายอาจมีปวดข้อมือร่วมด้วย
  • มีอาการปวดมากเวลาทำกิจวัตประจำวันหรือกิจกรรมที่ใช้แขน เช่น เล่นเทนนิส, เล่นแบตมินตัน,  บิดผ้า, กวาดบ้าน, ถูบ้าน, ทำครัว และยกของ

 

กายภาพบำบัดปวดข้อศอกด้วยตัวเอง

  • ในระยะ 1-3 วัน แรกควรใช้ความเย็นประคบเพื่อลดอาการปวดและบวม
  • ลดการใช้งานของข้อศอก
  • พันผ้ายืดหรือใส่อุปกรณ์พยุงข้อศอก Tennis and golf elbow support เวลาทำงาน

 

S008

 

ท่าบริหารเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก

  • เหยียดแขนมาด้านหน้า

 tennis

 

 

 

 

 

 

 

  • ใช้มืออีกข้างกดข้อมือลง

 tennis2

 

 

 

 

 

 

  • บิดข้อมือออกมาทางด้านนอก จนรู้สึกตึงๆ ที่ข้อศอก ค้างไว้  5 วินาที ทำ 5 ครั้ง/วัน

 

tennis1

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinics.com

สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่51:โรคปวดศอกด้านใน (Golfer’s elbow)

ตอนที่51:โรคปวดศอกด้านใน  (Golfer’s elbow)

images (5)

โรคปวดศอกด้านใน

(Golfer’s elbow)

 

โรค Golfer’s elbow จะมีอาการปวดที่บริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านในและมีจุดกดเจ็บ บริเวณนี้เป็นที่ยึดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กำมือและกระดกข้อมือ ซึ่งเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป มีการใช้งานแบบซ้ำๆ บ่อยเกิน จนทำให้เกิดอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจมีการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบางส่วนอีกด้วย โรคนี้มักพบในนักกอล์ฟ นักกีฬาที่ใช้การโยนหรือเหวี่ยงแขน และกิจกรรมที่ใช้แขนมากๆ

 

ดาวน์โหลดg

 

ลักษณะอาการ

  • ปวดข้อศอกบริเวณปุ่มกระดูกด้านใน
  • มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มกระดูกด้านใน
  • ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มกระดูกด้านใน บางรายอาจมีปวดข้อมือร่วมด้วย
  • อาจมีอาการบวมร่วมด้วย
  • มีอาการปวดมากเวลาทำกิจวัตประจำวันหรือกิจกรรมที่ใช้แขน

 

ดาวน์โหลด111            images (7)

การรักษาทางการแพทย์

  • การรับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด ลดบวม และแก้อักเสบ
  • การทายาแก้ปวดหรือแก้อักเสบ
  • การฉีดยาสเตียรอยด์
  • การผ่าตัด

 S008

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • การใช้ความร้อนตื้นและความร้อนลึก
  • การใช้ความเย็นในระยะอักเสบ
  • การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
  • การออกกำลังกาย เช่น การยืดกล้ามเนื้อ
  • ใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงศอก เช่น Tennis and Golf elbow wrap

 

การป้องกันเบื้องต้น

1. ใช้หลักการ R.I.C.E คือ

  • R-Rest หมายถึง การหยุดพัก หรือหยุดใช้งานของกล้ามเนื้อหรืออวัยวะส่วนนั้นๆ
  • I-Ice หมายถึง การใช้ความเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด
  • C-Compression หมายถึง การใช้ผ้ายืด หรือ support มาพันรอบๆ บริเวณข้อศอก เพื่อลดอาการ และอาการบวม
  • E-Elevation หมายถึง การยกแขนหรือบริเวณข้อศอกให้สูงกว่าลำตัว เพื่อลดอาการบวม

2. ในนักกีฬา ก่อนเล่นกีฬานั้น แนะนำให้มีการยืดกล้ามเนื้อก่อนเล่นกีฬา เพื่อเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อเกิดความยืดหยุ่น

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com

สายด่วน 085-264-4994

More