ตอนที่69:การฟื้นฟูเด็กสมองพิการ
การฟื้นฟูเด็กสมองพิการ (CP)
หากสมองใหญ่มีความผิดปกติก่อนที่สมองจะพัฒนาเต็มที่ ทารกหรือเด็กจะมีพัฒนาการล่าช้าหลายด้าน แพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ซีรีบรัล พัลซี (cerebral palsy) หรือที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์ไทยว่า อัมพาตสมองใหญ่ แต่แพทย์ทั่วไปมักเรียกว่า สมองพิการ หรือเรียกย่อๆว่า ซีพี (CP)
การบำบัดรักษา
1.การบำบัดด้วยยา
- หากเด็กมีอาการเกร็งทั้งตัว แพทย์มักจ่ายยาชนิดกิน เช่น ยาไดอะซีแปม (diazepam) ยาทิซานิดีน (tizanidine) ยาแบโคลเฟน (baclofen) เด็กจะต้องได้รับยาต่อเนื่อง
- เมื่อเด็กมีอาการเกร็งลดลง อาจปรับขนาดยาลงได้ โดยลดลงอย่างช้าๆ แล้วดูอาการ 1 สัปดาห์ ค่อยพิจารณาปรับลดยาต่อ
- พ่อแม่ค่อยปรึกษาแพทย์ที่จ่ายยาให้ก่อนการปรับลดหรือเพิ่มขนาดยา เพราะบางครั้งแพทย์อาจจ่ายยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันอาการชัก เพราะอาการชักจะทำให้สมองของเด็กขาดอากาศและเสียหายมากขึ้น
- หากเด็กมีอาการหดเกร็งเฉพาะที่ เช่น กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้องอเข่า กล้ามเนื้อหุบขา จนรบกวนการเคลื่อนไหวหรือการเคลื่อนที่ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูอาจแนะนำการฉีดยาลดเกร็งเฉพาะที่ มี 2 วิธี คือ การฉีดฟีนอลหรือแอลลกอฮอล์และการฉีดโบทูลินุมทอกซิน
2. วิธีการบำบัดรักษาอื่นๆ
- การนวด การนวดช่วยผ่อนคลายและลดปวดได้ ในประเทศไทยมูลนิธิเพื่อเด็กพิการได้นำการนวดแผนไทยมาใช้ พบว่าสามารถลดอาการเกร็งลงได้
- การฝึกในน้ำ การฝึกกายบริหารในน้ำช่วยลดอาการเกร็งได้เช่นกัน สร้างโอกาสให้เด็กเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น และลดปวดได้
3. การรักษาด้วยกายภาพบำบัด
- วางแผ่นร้อนไฟฟ้า Thermo pad เพื่อช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
- แนะนำการยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย
- การฝึกพัฒนาการ การนั่ง ยืน และการทรงตัวด้วยอุปกรณ์ เช่น เบาะลาดเอียงรูปลิ่ม, เตียงฝึกยืน, หมอนรูปทรงกระบอก, ลูกบอล
- แนะนำการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น รถเข็นนั่งแบบพับได้ ,เครื่องช่วยฝึกเดิน แบบมีล้อหน้าสองล้อ ขนาดกลาง ปรับได้ , เครื่องช่วยฝึกเดิน แบบมีล้อสี่ล้อพร้อมอาน สำหรับเด็ก,เครื่องช่วยฝึกเดิน แบบอเนกประสงค์ สำหรับเด็ก
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More