ตอนที่71:โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) หมายถึงอาการที่กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกเกิดการอ่อนแรง ท้าให้หลับตาได้ไม่สนิท มุมปากตก และขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้โดยเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท
สมองเส้นที่ 7 โรค Bell’s palsy พบในช่วงระหว่าง 13-34 รายต่อประชากร 100,000 รายต่อปี พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ถึง 3 เท่าในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์หรือในช่วงสัปดาห์แรก
หลังคลอด และในผู้ที่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง
ลักษณะอาการ
- ผู้ป่วย Bell’s palsy จะมีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกอย่างเฉียบพลัน
- อาการที่พบบ่อยได้แก่ คิ้วตกลง เปลือกตาตกลง ปิดตาไม่สนิท รอยย่นข้างจมูกหายไป มุมปาก
การรักษาทางการแพทย์
- การรักษาทางยา จะให้ได้ผลดีต้องกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ จะเป็นในกลุ่มสเตอรอยด์ และควรไปตามแพทย์นัดทุกครั้ง ***ไม่ควรซื้อยาทานเอง
- การรักษาโดยการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดแก้ไขหนังตาที่ปิดไม่สนิท การต่อและเลี้ยงเส้นประสาทสมองคู่อื่นเพื่อนำมาใช้ทดแทนเส้นประสาทสมองคู่ที่ ๗
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1. การใช้แผ่นความร้อนไฟฟ้าประคบบริเวณใบหน้าข้างที่อ่อนแรง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
2. การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงไม่ให้ฝ่อลีบเล็กลง
3. การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อในขณะที่รอการฟื้นตัวของเส้นประสาท
ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า
- ให้ผู้ป่วยออกกำลังหน้ากระจกเพื่อคอยดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เริ่มแรกให้ใช้มือช่วยในการออกกำลังกาย ถ้าเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวมากขึ้นค่อยๆลดการช่วยลง ทำท่าละ 20 ครั้ง 3 รอบ/วัน
ท่าที่ 1 ให้ฝึกยักคิ้วขึ้นทั้งสองข้าง
ท่าที่ 2 ให้ฝึกขมวดคิ้วเข้าหากัน
ท่าที่ 3 ให้ฝึกย่นจมูก
ท่าที่ 4 ให้ฝึกหลับตาหลับตาปี๋
ท่าที่ 5 ให้ฝึกทำจมูกบาน
ท่าที่ 6 ให้ฝึกยิ้มโดยไม่ยกมุมปาก
ท่าที่ 7 ให้ฝึกยิ้มยกมุมปากขึ้น
ท่าที่ 8 ให้ฝึกทำปากจู๋