ตอนที่4:ปวดไหล่….. โรคง่ายๆที่ใครก็เป็น
ปวดไหล่
อาการปวดเมื่อยบริเวณไหล่เป็นอาการที่พบบ่อยได้บ่อยในทุกวันนี้ โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงานที่ต้องแขนเป็นประจำ ซึ่งต่างจากเดิมที่มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปแล้ว เมื่อพูดถึงหัวไหล่แล้ว บางคนอาจคงสงสัยว่ามีอันตรายที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนนี้ด้วยหรือ แต่ทราบหรือไม่ว่าหัวไหล่เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวได้มาก
ที่สุดของร่างกายและเป็นข้อที่หลุดหรือบาดเจ็บได้ง่ายมากที่สุดเหมือนกันเนื่องจากความมั่นคงของข้อต่อที่มีความมั่นคงน้อยที่สุด แต่ถูกกระชับด้วยกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่ กิจกรรมที่เราจึงมักใช้หัวไหล่ในกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาดร่างกาย การทำงาน รวมทั้งการเล่นกีฬา ซึ่งหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หัวไหล่ จะทำให้คุณภาพการดำเนินชีวิตเป็นไปได้ยากลำบากมากขึ้น
อาการปวดไหล่ ที่พบบ่อยหลักๆคือ เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และมีอาการปวดเรื้อรัง อาการปวดหัวไหล่มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละโรค อาจปวดได้ในบางช่วงเวลา หรือปวดตลอดเวลา ปวดไหล่จากบางโรคจะมีอาการเป็นๆ หายๆ เกิดขึ้นแล้วก็หายไปได้เอง แต่บางโรคก็ไม่หาย มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ภาวะไหล่ติด ข้อเสื่อม ภาวะแคลเซียมเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่หากปล่อยให้อาการปวดไหล่เรื้อรังจะส่งผลทำให้ข้อไหล่เกิดการจำกัดการเลื่อนหวและเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้ในที่สุด
อาการปวดไหล่เกิดได้หลายสาเหตุ
1. การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิด กล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหักหรือ ข้อเคลื่อน
2. การใช้ข้อไหล่อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อข้อไหล่ฉีกขาด
3. การเสื่อมตามธรรมชาติ ของกระดูก กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
4. โรคข้ออักเสบที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น
5. เส้นเอ็นอักเสบและมีแคลเซี่ยมเกาะซึ่งเมื่อเอ๊กซเรย์ก็จะเห็นหินปูนสีขาวเป็นก้อนที่บริเวณรอบข้อไหล่
6. อาการปวดไหล่ซึ่งเป็นผลของอาการปวดร้าวมาจากที่อื่นหรือการอักเสบบริเวณใกล้เคียง เช่น กระดูกคอเสื่อม ถุงน้ำดีอักเสบ โรคของหัวใจ โรคตับ มะเร็ง เป็นต้น
7. ข้อไหล่ติดแข็ง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดไหล่ ผู้ป่วยก็จะไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะเกิดเยื่อพังผืดแทรกในข้อ และเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและลีบเล็กลง ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก อาการสำคัญก็คือ ถ้าเคลื่อนไหวข้อไหล่จะปวดมากขึ้น ถ้าอยู่นิ่ง ๆ จะไม่ปวด