ตอนที่25:โรคอ้วนกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
อ้วนกับอาการปวดข้อต่างๆ…มันเกี่ยวกันได้ยังไง
อ้วน (obesity) นับว่า เป็นโรคที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกถือเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญปัญหาหนึ่ง ที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วน
วิธีที่ดีที่สุดที่ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คือ การชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ในผู้ใหญ่ ซึ่งต้องการทราบความเสี่ยงต่อเมแทบอลิกซินโดรม จะวัดขนาดรอบเอวด้วย
ตามมาตรฐานกรมอนามัย พ.ศ. ๒๕๔๒ เกณฑ์ที่ใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า ๑๘ ปี ลงมา ใช้เกณฑ์น้ำหนักเทียบกับส่วนสูง ถ้าหากมีน้ำหนักต่อส่วนสูงมากกว่าร้อยละ ๕๐ บวกกับ ๒ เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จะถือว่า น้ำหนักเกิน และหากมากกว่า ๕๐ บวกกับ ๓ เท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถือว่า อ้วน
เกณฑ์ใช้วัดในผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป) ใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (body mass index หรือ BMI) ซึ่งมีวิธีคำนวณดังนี้
BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)๒
ดัชนีมวลกายมีค่า ๑๘.๕ – ๒๔.๙ กิโลกรัม/เมตร๒ ถือว่า น้ำหนักปกติ
ดัชนีมวลกายมีค่า ๒๕.๐ – ๒๙.๙ กิโลกรัม/เมตร๒ ถือว่า น้ำหนักเกิน (overweight)
ดัชนีมวลกายมีค่า ๓๐ กิโลกรัม/เมตร๒ ขึ้นไป ถือว่า เป็น โรคอ้วน (obesity)
อ้วนกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
1 .ปวดเข่า เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยเหตุที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว การชะลอความเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและความสามารถปฏิบัติได้ หากได้รับการแนะนำในเรื่องการใช้เข่าให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาสุขภาพ และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า จะช่วยขจัดปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรัง สาเหตุการที่คนอ้วนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเสื่อมได้มากก็ เนื่องมาจากแรงกดที่เพิ่ม มากขึ้นอันเป็นผลมาจากน้ำหนักตัวที่มาก จึงทำให้ข้อที่มีกระดูกอ่อนทำหน้าที่ป็นตัวดูดซับแรงกระแทกในการรับน้ำหนักเกิดการสึกหรอได้เร็วขึ้นกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งโดยปกติแล้ว คนที่มีน้ำหนักตัวปกตินั้น ขณะเดินจะมีแรงผ่านข้อเข่า 4-5 เท่าของน้ำหนักตัว และถ้าคุณนั่งยอง ๆ ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า เมื่อเทียบกันดูแล้วขนาดคนทีมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติยังต้องรับแรงกระแทกหรือการส่งผ่านน้ำหนักมากขนาดนี้แล้วเทียบกันดูกับคนที่มีน้ำหนักตัวที่มากคงดาได้ไม่ยากว่าสาเหตุของอาการปวดจากการเสื่อมของข้อนั้นมาจากอะไร
2. เรื่องปวดหลัง เมื่อผู้ป่วยน้ำหนักมากมีผลทำให้หลังต้องรับแรงเพิ่ม คนที่มีน้ำหนักตัวมากจึงมีโอกาสปวดหลังมากกว่าคนปกติ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอ ปวดหลัง เรื้อรัง เพราะการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกสันหลัง อาจเป็นผลมาจากวัยที่สูงขึ้น หรือการบาดเจ็บที่มีต่อหมอนรองกระดูกเอง หรือปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น น้ำหนักตัวมากขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ของคนในปัจจุบัน เช่น ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ การยกของหนัก การเดิน ยืน นั่งที่ผิดสุขลักษณะ หรือเล่นกีฬาที่ผิดท่าหรือรุนแรง และไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น จากเหตุผลดังกล่าวทำให้สถิติของผู้ที่มีอาการของโรคปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง ร้าวชาลงเอวหรือขา มีเพิ่มมากขึ้นในทุกอาชีพ และเกือบทุกช่วงอายุ และอีกสาเหตุ
3. ปวดฝ่าเท้าหรือส้นเท้า นำ้หนักเกินเหมาะสม ให้กระดูกส้นเท้าและเนื้อเยื่อรอบๆต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น ที่ทำสาเหตุของการเกิดการปวด เจ้บส้นเท้าเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อรอบๆกระดูกส้นเท้า จากที่กระดูกส้นเท้าและเนื้อเยื่อรอบๆกระดูกส้นเท้าซึ่งรวมทั้งเอ็น และข้อต่างๆได้รับแรงกดกระแทกมากผิดปกติต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเสื่อมและการบาดเจ็บอักเสบของเนื้อเยื่อดังกล่าว ทั้งนี้มักมีสาเหตุจาก การเดินผิดวิธี การเดินและ/หรือ วิ่งมาก การเดิน/วิ่งบนพื้นที่แข็ง ๆ เสมอๆ การสวมใส่รองเท้าที่ไม่ และโรคข้ออักเสบจากสาเหตุต่างๆ
4.ปัญหาอื่นๆ เช่น
4.1ปัญหาการหายใจ มักเป็นโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
4.2เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร้งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำใส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร
4.3มีปัญหาทางด้านสังคม ทั้งกับตัวผู้ป่วยเอง และครอบครัว และมักเป็นโรคซึมเศร้า
การรักษาอาการเบื้องต้น
หลักการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บๆไม่ว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหรือกระดูก ควรตรวจเช็คให้ได้ว่าเกิดจากอะไร อยู่ในช่วงอักเสบหรือไม่หลักการสังเกตง่ายๆว่าอยู่ในระยะอักเสบคือ มี ปวด บวม แดง ร้อน ถ้ามีอาการใดอาการหนึ่ง ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ให้ใช้หลัก “RICE” ดังนี้
R = Rest ให้พักโดยเฉพาะส่วนที่บาดเจ็บ
I = Ice ใช้น้ำแข็งประคบส่วนที่บาดเจ็บ ครั้งละ 20 – 30 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
C = Compression พันกระชับส่วนนั้นด้วยม้วนผ้ายืด ควรใช้สำลีรองก่อน หลักการพันคือพันจากส่วนปลายมาหาส่วนต้น (เวลานอนไม่ต้องพัน)
E = Elevation ยกส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลกลับหัวใจ เป็นการช่วยลดอาการปวดบวม
กาารักษาเมื่อเลยระยะอักเสบไปแล้ว
ระยะที่สอง นานเกิน 24 -48 ชั่วโมง ผู้บาดเจ็บเริ่มทุเลาแล้ว จะใช้ความร้อนและวิธีทางกายภาพบำบัด โดยใช้หลัก “HEAT” ดังนี้
H = Hot ใช้ความร้อนประคบ โดยเฉพาะความร้อนลึก(เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัด) หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้
E = Exercise ลองขยับเขยื้อนส่วนที่บาดเจ็บดูเบาๆ เป็นการบริหารส่วนที่บาดเจ็บและทำการบีบนวดไปด้วย
A = Advanced Exercise ระยะหลังๆ บริหารให้มากขึ้น อาจมีผู้ช่วยในการบริหารส่วนที่บาดเจ็บ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย
T = Training for Rehabilitation เป็นการฝึกเพื่อช่วยฟื้นสภาพจากการบาดเจ็บให้กลับสู่สภาพปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดโดยตรง
ทั้งนี้การรักษาขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้และการบาดเจ็บของแต่ละคน