ตอนที่76:กายภาพบำบัดกับเด็กสมองพิการ
กายภาพบำบัดกับเด็กสมองพิการ
เด็กสมองพิการเกิดจากความผิดปกติของสมองใหญ่หากเกิด ในทารกก่อนที่สมองจะพัฒนาเต็มที่จะทำให้มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งส่งผลต่อด้านการเคลื่อนไหว สติปัญญา พฤติกรรม การรับรู้
สาเหตุเกิดจาก
- พันธุกรรมจากยีน หรือโครโมโซม ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก เสียการทรงตัว
- มารดาได้รับสารพิษหรือติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติและเกร็ง
- สมองขาดเลือดหรือขาดอากาศทำให้สมองตาย มักมีสาเหตุจากระหว่างคลอดรกพันคอ สำลักน้ำคล่ำ คลอดก่อนกำหนด มักเกิดกับสมอง 2 ซีก ทารกจึงมีการอ่อนแรงทั้ง 2 ซีกของร่างกาย และในวัยทารกและเด็ก หลอดเลือดโป่งพอง สมองอักเสบ ติดเชื้อ จมน้ำมักเกิดกับสมองซีกเดียว จึงมีการอ่อนแรงและเกร็งซีกเดียว
- ภาวะการคลอดที่ไม่ราบรื่น เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนดคือ ก่อน 9- 10 เดือนค่ะ คลอดหลังกำหนด คืออายุครรภ์ 42 สัปดาห์ไปแล้ว คลอดยากต้องใช้ระยะเวลาในคลอดยาวนานกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดออกในสมอง โรคปอดเรื้อรัง ตับวาย ไตวาย
- สุขภาพของเด็กหลังคลอดและปัจจัยแทรกซ้อนช่วงหลังคลอดใหม่ๆ เช่น เด็กตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป ตัวเหลืองจนต้องเปลี่ยนเลือด ต้องเข้าตู้อบเป็นเวลานาน
ลักษณะของพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การใช้ภาษา ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า คือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น เด็กอายุ 20 เดือนแต่ยังเดินไม่ได้ ในขณะที่เด็กปกติเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9 – 15 เดือน เป็นต้น โดยความล่าช้านั้นปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยทารกและวัยเด็กตอนต้น พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้านและพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ท่าทางเพื่อลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในเด็กสมองพิการ
- การจัดท่าทาง ในเด็กสมองพิการจึงมีความสำคัญมากในการลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ควรจัดท่าให้เด็กนอนตะแคง งอเข่า และงอสะโพกไม่ให้สะโพกบิด ขณะ เมื่ออุ้มเด็กต้องงอเข่าสะโพก รวมถึงการประคองไหล่ทั้งสองข้างให้งุ้มเข้าเล็กน้อย
- ท่ายืนต้องค่อยๆเริ่มจากท่านั่งเท้าชิดพื้นลุกขึ้น ยืนพิงที่ยืน หรืออาจด้านหลัง ด้านหน้าก็ได้
- ถ้ามีอาการเกร็งมากขึ้น ให้สังเกตว่ามีภาวะผิดปกติอื่นๆรบกวนร่างกายหรือไม่ เช่น เป็นไข้ติดเชื้อ เล็บขบ เป็นแผล
เราจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างไร จะมีทีมเวชกรรมฟื้นฟูช่วยฝึก สอน และแนะนำวิธีการปฏิบัติอย่างละเอียดแก่พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็ก
ลูกจะเดินได้หรือไม่
ลูกจะเดินได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ว่าเนื้อสมองจะเสียหายรุนแรงมากเพียงใด โดยทั่วไป เด็กจะสามารถนั่งเองได้ตอนอายุ2ปี
และจะเดินได้ในที่สุด แต่ท่าเดินจะไม่ปกติ เช่น เดินเกร็ง แข็ง เดินเปะปะ เป็นต้น
การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงหรือดาม
- อุปกรณ์ช่วยพยุงแขน เพื่อยืดกล้ามเนื้อข้อมือและนิ้วมือให้เหยียดออก
- อุปกรณ์ช่วยพยุงขา เพื่อยืดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและกล้ามเนื้อน่องและกล้ามงอเข่าลดเกร็ง ป้องกันข้อติดและเท้าผิดรูป
วิธีการบำบัดรักษาทางกายภาพบำบัด
1. การนวด ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดปวดและลดเกร็งได้ ควรใช้ร่วมกับแผ่นความร้อนไฟฟ้า
2. การฝึกในน้ำ การฝึกบริหารในน้ำช่วยลดเกร็ง เคลื่อนไหวได้ง่ายและลดปวดได้
3.การบังคับใช้มือที่อ่อนแรง โดยให้มือด้านที่มีแรงยกข้างที่อ่อนแรงขึ้นมาช่วยเพิ่มแรงข้างที่อ่อนแรงขึ้นมา
4. การฝึกยืน โดยใชเครื่องเตียงฝึกยืน แบบใช้มือหมุน สำหรับเด็ก
ขยับข้อสะโพกแล้วมีเสียงเกิดจาก
- ข้อสะโพกเคลื่อนหรือหลุด เนื่องจากกล้ามเนื้ออกงอสะโพกและหุบขาเข้า มีความตึงตัวมากเกินไปโดยจะมีวิธีแก้ไขโดยการฉีดยาหรือถ้าหดค้างแล้วต้องผ่าตัด
เท้าแบนเกิดจากความผิดปกติที่เท้าหรือผลมาจากสะโพกบิดส่งผลมายังเท้า การใส่รองเท้าตัดพิเศษมี2ด้าน คือช่วยกระจายแรงกดที่ฝ่าเท้าและชะลอการผิดรูปของเท้า
ลูกมีการสำลักอาหารบ่อยๆ
- เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยวอาหารอ่อนแรง เกิดการทำงานไปประสานกันต่อเนื่อง จึงเกิดการสำลักได้ง่าย การจัดท่านั่งลดเกร็ง ก้มศีรษะเล็กน้อย ช่วยหุบริมฝีปาก รวมถึงอาหารเลือกที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดการสำลักได้
ลูกเป็นปอดบวมบ่อยเกิดจาก
- เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปัญหาปอดแฟบ คือเมื่อมีการหายใจเข้าถุงลมในปอดขยายออกยาก เพราะปอดขาดสารลดแรงตึงผิว และการอยู่ในท่านอนนานๆ ทำให้เสมหะตกค้างก็ก่อให้เกิดภาวะปอดแฟบ และลุกลามเป็นโรคปอดอักเสบ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More