All Posts tagged เต้านม

ตอนที่ 659 ท่อน้ำนมอุดตัน

ตอนที่ 659 ท่อน้ำนมอุดตัน
ตอนที่ 659 ท่อน้ำนมอุดตัน
ท่อน้ำนมอุดตัน คืออะไร เกิดได้อย่างไร?

         ท่อน้ำนมอุดตันหรือที่เรียกว่าท่อน้ำนมอุดตันเกิดขึ้นเมื่อท่อน้ำนมหนึ่งในเต้านมอุดตัน สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำนมไม่สามารถไหลผ่านท่อได้อย่างอิสระ นำไปสู่การสร้างน้ำนมและการอักเสบ เป็นปัญหาทั่วไปที่ผู้หญิงให้นมบุตรประสบ อาการอาจรวมถึงก้อนเนื้อนุ่มหรือบริเวณแข็งในเต้านม ปวดเฉพาะที่ บวม และแดงในบางครั้ง การประคบอุ่น การนวดบริเวณที่เป็น และให้แน่ใจว่าเทคนิคการให้นมบุตรที่เหมาะสมสามารถช่วยบรรเทาอาการอุดตันได้ หากอาการยังคงอยู่หรือแย่ลง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 สาเหตุเกิดจากอะไร

  1. ลูกดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า อาจเกิดจากไม่ได้ให้ลูกดูดนมแม่บ่อย หรือจำกัดเวลาในการดูดนมของลูก
  2. มารดาปล่อยให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้านมนาน
  3. มารดามีปริมาณน้ำนมมากเกินไป และไม่ได้ระบายน้ำนมออก หรือระบายออกไม่สมดุลกับปริมาณน้ำนมที่ผลิต
  4. ใส่เสื้อชั้นในที่คับแน่นจนเกินไป ทำให้น้ำนมไหลเวียนได้ไม่สะดวก
  5. ใส่เสื้อชั้นในที่หลวม ไม่กระชับ ทำให้เต้านมหย่อนคล้อย กดทับท่อส่งน้ำนม
  6. มารดามีภาวะเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนที่ทาให้น้ำนมไหลลดลง

วิธีการดูแล

  1. ก่อนให้นมลูก ประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นจัดประมาณ 5-10 นาที
  2. ให้ลูกดูดจากเต้าที่มีปัญหาก่อน เพราะขณะที่ลูกหิวจัดลูกจะดูดแรง ทำให้ระบายน้ำนมออกได้มาก และหลังจากที่ลูกดูดนมเสร็จให้บีบหรือปั๊มน้านมออกจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
  3. ให้ลูกดูดนมบ่อยอย่างน้อย 8-12 ครั้ง / วัน และดูดนานอย่างน้อยข้างละ 15-20 นาที
  4. จัดท่าให้ลูกดูดนมให้ถูกต้องและจัดให้คางลูกชี้ไปบริเวณที่เป็นก้อน เพื่อให้ลิ้นของลูกช่วยรีดน้ำนมส่วนที่เป็นก้อนออกได้ดีขึ้น
  5. จัดให้ลูกดูดนมในท่าต่างๆกันในแต่ละมื้อ เพื่อระบายน้ำนมจากส่วนต่างๆของเต้านม
  6. นวดเต้านมเบาๆ ขณะลูกดูดนม โดยนวดเหนือบริเวณที่อุดตัน ไล่ลงไปถึงหัวนม เพื่อดันให้ก้อนที่อุดตันหลุดออก
  7. ลดอาการปวดและบวมด้วยการประคบเย็นหลังให้นมลูกเสร็จ ถ้าปวดมากกินยาแก้ปวดได้
  8. เลือกเสื้อยกทรงที่ช่วยพยุงเต้านม ไม่หลวมหรือรัดแน่นเกินไป
More

ตอนที่36:ท่าบริหารผู้ป่วยตัดเต้านม

ตอนที่36:ท่าบริหารผู้ป่วยตัดเต้านม

การบริหารร่างกายหลังการผ่าตัดเต้านม

breast1

 

 

 

 

 

ท่าที่ 1     ยืนหันหน้าเข้าหาฝาผนัง ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะฝาผนัง ระดับเดียวกับหัวไหล่ ค่อยๆ ไต่ฝ่ามือไปตามฝาผนังจนสุดแขน

breast2

 

 

 

 

 

ท่าที่ 2     ใช้เชือกยาวขนาดพอเหมาะคล้องไว้กับราวม่านข้างเตียงหรือราวอื่นๆ ใช้มือจับปลายเชือกทั้ง 2 ไว้ แล้วดึงขึ้นลงสลับกันไป

  breast3

 ท่าที่ 3     ยกมือทั้ง 2 ขึ้นแตะที่หัวไหล่ ข้อศอกแนบกับลำตัว ยกข้อศอกให้แขนทั้ง 2 ข้างตั้งฉากกับลำตัว

breast4

 

 

 

 

 

ท่าที่ 4     กางแขนทั้ง 2 ข้างออกไปในระดับเดียวกับหัวไหล่ หมุนปลายแขนทั้ง 2 ข้างให้เป็นวงกลม

breast5

 

 

 

 

 

 ท่าที่ 5

จังหวะที่ 1 กางแขนทั้ง 2 ข้างออกในระดับเดียวกับหัวไหล่

จังหวะที่ 2 งอแขนทั้ง 2 ข้างตั้งฉากกับลำตัว ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะที่ต้นคอด้านหลัง

จังหวะที่ 3 งอแขนไปข้างหลังให้หลังมือทั้ง 2 ข้างแตะบริเวณเอว

breast6

 

 

 

 

 

ท่าที่ 6    ใช้ไม้เท้าขนาดเหมาะมือ ยาวขนาดพอเหมาะมือทั้ง 2 ข้างกำไว้ในลักษณะคว่ำมือ ระยะห่างกันพอสมควร

จังหวะที่ 1 เหยียดแขนตรงไว้ด้านหน้าลำตัว

จังหวะที่ 2 ชูแขนเหนือศีรษะจนสุดแขน

จังหวะที่ 3 ลดแขนลงเท่าระดับหัวไหล่ ให้ไม้ที่ถืออยู่ในมืออยู่ด้านหลังระดับเดียวกับต้นคอ

breast7

 

 

 

 

 

ท่าที่ 7    ใช้มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ ยกมือและแขนข้างที่ทำผ่าตัดวางไว้บนศีรษะค่อยๆ เลื่อนมือและแขนไปตามศีรษะทางด้านข้างจนสุดแขน

breast8

 

 

 

 

 

ท่าที่ 8     ใช้มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ งอแขนที่ทำผ่าตัดไปข้างหลัง ให้มืออยู่ระดับเอวค่อยๆ เลื่อนมือไปข้างหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

breast9

 

 

 

 

 

ท่าที่ 9    ใช้เชือกยาวขนาดพอเหมาะผูกไว้กับลูกบิดประตูให้ผู้ป่วยยืนตรง หันหน้าเข้าหาประตู มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ มือข้างที่ทำผ่าตัดจับปลายเชือกแล้วหมุนแขนเป็นวงกลม

breast10

 

 

 

 

 

ท่าที่ 10   ยืนตัวตรงหันหน้าเข้าหาฝาผนัง มือข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดท้าวสะเอวไว้ ใช้มือข้างที่ผ่าตัดแตะฝาผนังระดับเดียวกับหัวไหล่ค่อยๆ ไต่ไปตามฝาผนัง

 

เลือกใช้ท่าบริหารที่ถนัดสำหรับท่าน 3-4 ท่า และบริหารเป็นประจำทุกวัน ท่าละ 20 ครั้ง จะช่วยฟื้นฟูร่างกายไม่ให้มีการติดของข้อไหล่ และไม่ให้เกิดการบวมของแขนด้านเดียวกับเต้านมที่ผ่าตัดได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More