All Posts tagged เทคนิคการเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง

ตอนที่137: เทคนิคการเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง

ตอนที่137: เทคนิคการเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง

เทคนิคการเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง

 

หลักการและวิธีการเคาะปอด

1.ทำมือเป็นอุ้งเหมือนรูปถ้วย เพื่อให้เกิดลมหรืออากาศภายในอุ้งมือมากที่สุด

หลักการและวิธีการเคาะปอด

  1. การเคาะบนผนังทรวงอกควรมีผ้ารองเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น

1

 

3.ใช้มือทั้ง 2 ข้าง เคาะเป็นจังหวะสลับกันเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ  อยู่ในอัตราการเคาะประมาณ 3-7 ครั้ง/วินาที เสียงที่เคาะควรเป็นเสียงที่กังวานและโปร่ง

2

  1. ทิศทางในการเคาะ ควรเป็นวงกลมหรือเคลื่อนไปมา  ความถี่ในการเคาะสามารถเลื่อนปรับได้ ตามปัจจัยต่างๆและการเคาะ ใช้เวลาติดต่อกันนาน 2-5 นาที ต่อปอดกลีบหรือต่อท่า

3

การเคาะปอด ถึงแม้จะมีประโยชน์ต่อการรักษาคือ สามารถทำให้เสมหะหลุดร่อนออกมาจากเนื้อปอดและทางเดินขึ้นมาสู่ทางเดินหายใจส่วนต้น  แต่ก็มีข้อเสียจากการเคาะปอดคือ ทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่หลอดลมและมีผื่นแดงบริเวณที่เคาะ  นอกจากนี้และการเคาะยังต้องระวังในกรณีต่างๆดังต่อไปนี้

ข้อควรระวังในการเคาะปอด

ระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ เช่น

  • เจ็บหน้าอก (Chest pain)
  • ระบบการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ (Hemodynamic) ไม่คงที่
  • ระบบการแข็งตัวของเลือด (Coagulopathy)ไม่ปกติแต่ไม่รุนแรง
  • ภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ (Irregular pulse)
  • ผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจ (Cardiothoracic surgery)
  • สัญญาณชีพเปลี่ยนเล็กน้อย เมื่อเปลี่ยนท่าทางผู้ป่วยและสามารถกลับมาสู่ปกติในภายหลังประมาณ 2-3 นาที

 ระบบหายใจผิดปกติ (Pulmonary Condition)

  • มีอาการของระบบหายใจถูกกด (Respiratory distress)
  • ไอเป็นเลือด (Hemoptysis) เล็กน้อย เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่เยื่อบุหลอดลม
  • มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ได้รับการรักษาแล้ว (treated pneumothorax)
  • ภาวะหายใจหอบเหนื่อย (Dyspnea) ในระดับที่ไม่หนักมาก
  • ผู้ป่วยที่อยู่ระยะติดเชื้อระยะเรื้อรัง (Chronic infection disease)
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคฝีในปอด (Lung abscess) หรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
  • หลอดลมเกร็ง (bronchospasm) ไม่รุนแรง

  ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal Condition)

  • ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตรียรอยด์เป็นเวลานาน (prolong steroid therapy)
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมกระดูกแบบมั่นคง (spinal fusion surgery)
  • ภาวะการอักเสบของกระดูกอ่อนบริเวณซี่โครง (costal chrondritis)
  • การเจริญของกระดูกผิดปกติ (osteogenesis imperfecta)
  • มีลมใต้ผิวหนัง (subcutaneous emphysema)
  • บริเวณแผลเปิด (open wound)
  • แผลไหม้ ระยะเรื้อรัง (burn wound)
  • บริเวณแผลผ่าตัดยังไม่ติดดี
  • ตำแหน่งบริเวณหน้าอกที่มีแผลติดเชื้อ

ภายใน 1 ชั่วโมงหลังอาหารหรือผู้ป่วยที่ได้รับอาหารแบบหยด (Drip) หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ หรือผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง หอบหืด หรือตื่นเต้นง่าย รวมไปถึงกลุ่มคนไข้เด็กที่คลอดก่อนกำหนด (prematurity) ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์

 

ข้อห้ามในการเคาะปอด           

     ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

  • อาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง (severe angina chest pain)
  • ระบบการแข็งตัวของเกล็ดเลือดไม่ทำงาน (coagulopathy) ขั้นรุนแรงโดยเฉพาะค่าเกล็ดเลือด (platelet count ) มีค่าต่ำอยู่ในช่วง 20000 – 40000 /mm3
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (Arrhythmia) ได้แก่ การเกิด premature ventricular

Contraction (PVC) เป็นจำนวนมากกว่า 5 ตัวต่อนาที หรือ Arrhythmia เป็นต้น

  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจใหม่ (acute cardiothoracic surgery)
  • สัญญาณชีพมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ที่บ่งบอกถึงสภาวะการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจล้มเหลว เช่น ความดันต่ำหรืออัตราการเต้นของหัวใจลดลง เป็นต้น

 ระบบหายใจผิดปกติ (Pulmonary Disorder)

  • ไอเป็นเลือดสดๆ (hemoptysis) ในปริมาณที่มากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากขั้นรุนแรง (severe dyspnea)
  • ผู้ที่อยู่ในระยะติดเชื้อในระบบหายใจ ระยะเฉียบพลัน (acute infection) หรือปอดอักเสบในระยะแรก (acute pneumonia)
  • ผู้ป่วยที่มีก้อนลม หรือลิ่มเลือดในกระแสเลือดในปอด (pulmonary embolism)
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด (CA lung)
  • ผู้ป่วยที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ไม่ได้รับการรักษา (untreated pneumothorax)
  • ผู้ป่วยวัณโรคในระยะแรก (acute tuberculosis)
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองขั้นรุนแรง (severe pulmonary emphysema)
  • ผู้ป่วยที่มีลมในระบบไหลเวียนเลือดปอด (pneumatocele)
  • ภาวะลมแทรกในชั้นเนื้อเยื่อผิวหนัง (subcutaneous emphysema)

 ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal Condition)

  • ผู้ป่วยที่มีกระดูกซี่โครงหัก (fracture rib) หลายตำแหน่ง
  • ผู้ป่วยกระดูกหน้าอกหัก (sternum fracture)
  • ผู้ป่วยกระดูกไหปลาร้า และสะบักหัก (clavicle and scapular fracture)

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

More