ลักษณะเท้าผิดปกติ
เท้าเป็นอวัยวะที่ทีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับน้ำหนัก และพาเราก้าวเดินไปตามที่ต่างๆ ถึงแม้เท้าจะเป็นอวัยวะเล็กๆแต่รู้หรือไม่ว่า เท้าแต่ละข้างมีกระดูกมากถึง 26 ชิ้น กล้ามเนื้อ 23 มัด และเส้นเอ็น 107 เส้น
ตำแหน่งการรับน้ำหนักของ “เท้า”
จากการศึกษาพบว่า ขณะยืนน้ำหนักตัวประมาณ 60% กดลงที่ส้นเท้า อีก 40% กดลงที่ส้นเท้าส่วนหน้า ขณะเดินเท้ารับน้ำหนัก 120% ของน้ำหนักตัว และขณะวิ่งเท้ารับน้ำหนักมากถึง275%ของน้ำหนักตัวจึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าปัญหาเรื่องเท้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย นอกจากนี้ยังพบว่าการปวดเท้าจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ปวดเข่า ปวดสะโพก และปวดหลัง
ปัญหาเท้าที่พบบ่อย
-
นิ้วหัวแม่เท้าเก (hallux หรือ bunion)
เป็นการผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้าโดยกระดูกปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกเบียดไปทางนิ้วเท้าด้านถัดไป และดันให้กระดูกโคนนิ้วหัวแม่เท้านูนออกมามักมีการเบียดและเสียดสีกับรองเท้า
-มักเกิดขึ้นจาก พันธุกรรม โรคข้อบางชนิด การใส่รองเท้าแคบและรองเท้าส้นสูง
-การป้องกันรักษา ลดการเจ็บปวดโดยการควบคุมน้ำหนัก ใส่รองเท้าส้นเตี้ยที่มีหน้ากว้างเพียงพอ เสริมหรือปรับรองเท้า รับประทานยา ในรายที่ผิดรูปมากต้องทำการผ่าตัด
-
อาการเจ็บบริเวณหัวกระดูกผ่าเท้า (metatarsalgia)
-มักเกิดจาก การกระจายน้ำหนักลงไปที่ฝ่าเท้าส่วนหน้ามากผิดปกติ ทำให้มีอาการเจ็บเท้าโดยเฉพาะตอนลงน้ำหนัก เกิดตาปลาและหนังหนาด้านขึ้นบริเวณนั้นหรืออาจเกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับความกว้างของรูปเท้า ทำให้เส้นประสาทถูกบีบ เสียดสี และอักเสบ จนบางครั้งอาจบวมเป็นก้อน
-การป้องกันรักษา ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า ใส่รองเท้าที่มีขนาดและความกว้างเหมาะสมกับรูปเท้า พื้นรองเท้านุ่ม เสริมหรือเปลี่ยนรองเท้า จะผ่าตัดเมื่อจำเป็นเท่าน้น
-
เท้าแบน (pes planus หรือ flat foot)
เป็นภาวะที่อุ้งเท้าด้านในต่ำหรือไม่มีเลย อาจเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง อาจเป็นภาวะปกติหรือผิดปกติก็ได้
-มักเป็นทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม เด็กมักบ่นว่าเท้าหรือขาอ่อนล้าง่าย ร่วมกับปวดอุ้งเท้าหรือบริเวณใต้ตาตุ่มด้านนอก อาการมักเป็นมากขึ้นเมื่อลงน้ำหนัก โดยพบว่าส้นเท้าล้มเอียงและปลายเท้าปัดออกมากกว่าปกติ มักพบร่วมกับกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายตึง
-การรักษาอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีอาการ แต่หากส้นเท้าล้มเอียงมากขึ้นเรื่อยๆอาจทำให้ข้อเสื่อมและเคลื่อนไหวได้น้อย
-ส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงอายุ 45 – 65 ปี เนื่องจากเอ็นประคองอุ้งเท้าหย่อนหรือสูญเสียหน้าที่ มักเป็นข้างเดียว มักปวดบริเวณอุ้งเท้าและข้อเท้าด้านใน หรืออาจปวดบริเวณใต้ตาตุ่มด้านนอกร่วมด้วย อาการกำเริบเมื่อใช้งานหนักหรือเดินมาก ถ้าเป็นมากขึ้นอาจเขย่งปลายเท้าไม่ได้ เท้าผิดรูป และข้อติดตามมา
-การบำบัดรักษามุ่งเน้นไม่ให้ผิดรูปมากขึ้น และลดอาการปวดโดยการบริหารข้อเท้าอย่างเหมาะสม การคุมน้ำหนัก การเสริมและปรับรองเท้า พิจารณาผ่าตัดเมื่อจำเป็น
-
พังผืดใต้เท้าอักเสบหรือรองช้ำ (plantar fasciitis)
พังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นพังผืดปกติที่ทอดยาวจากกระดูกส้นเท้าถึงกระดูกปลายฝ่าเท้า มีส่วนสำคัญมากต่อการเดินและวิ่ง โดยทำงานสมดุลกับเอ็นร้อยหวาย
-มักเกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินกว่ามาตรฐาน ตำอหน่งที่อักเสบบ่อยคือจุดเกาะที่ตำแหน่งส้นเท้า โดยเริ่มจากบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆที่สะสมมานาน มักร่วมกับเอ็นร้อยหวายตึง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงมานาน การขาดการออกกำลังกาย หรือการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม
-อาการปวดส้นเท้ามักเป็นในช่วงเช้า โดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง หรือเมื่อลุกขึ้นยืนหลังจากนั่งนานๆ เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการจะทุเลา แต่หากอาการอักเสบรุนแรงจะปวดมากขึ้นหลังจากยืนนานหรือเดินนานๆได้
-การบำบัดรักษาที่สำคัญที่สุดคือ การนวดฝ่าเท้าด้วยตัวเอง ร่วมกับการยืดเอ็นร้อยหวายหรือพังผืดใต้ฝ่าเท้า วันละ 2-3 รอบ รอบละ 10-15 ครั้ง ดังนี้
-
ท่านั่ง
- นั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืด ใช้ผ้าคล้องปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง
- ค้างไว้นับ 1-10 ถือเป็น 1 ครั้ง แนะนำให้บริหารท่านี้ทุกเช้าก่อนลงจากเตียง
-
ท่ายืน
- ยืนหันหน้าเข้ากำแพงใช้มือยันกำแพงไว้วางเท้าที่ต้องการพูดไว้ด้านหลัง งอข้อศอกพร้อมกับงอเข่าลง โดยขาด้านหลังเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา
- ย่อลงจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึงแล้วค้างไว้นับ 1-10 ถือเป็น 1 ครั้ง
-การบำบัดรักษาอื่นๆ ได้แก่ รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใฃ่สเตียรอยด์ การแช่เท้าในน้ำอุ่น การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด การควบคุมน้ำหนัก การคุมน้ำหนัก การเสริมและการปรับรองเท้า
ตำแหน่งของการปวดเท้า สัมพันธ์กับท่ายืนอย่างไร?
-ลำตัวเอียงไปด้านซ้ายหรือขวาด้านใดด้านหนึ่งเอวและใบหน้าจะเอียงไปด้านตรงข้าม
-ไหล่ข้างซ้ายหรือขวา ข้างใดข้างหนึ่งเอียงค่อนมาทางด้านหน้า เอวจะเอียงไปทางด้านตรงกันข้าม
-ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณเอวด้านใดด้านหนึ่ง
-ผู้ที่หลังโก่งกระดูกบริเวณไหล่จะโค้งงอ ซึ่งทำให้ใบหน้ายื่นออกมาข้างหน้า
-ทำให้เกิดอาการเจ็บที่ไหล่และเอว
-มีหลายคนที่บริเวณด้านล่างของท้องยื่นออกมาทางด้านหน้า ทำให้หลังแอ่น กระดูกบั้นเอวจะเอียงไปทางด้านหน้าทำให้เอวต้องรับน้ำหนักมาก
-ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณเอว
-ข้อต่อกระดูกของหัวเข่า เอว และข้อต่อสะโพกต้องรับหน้าที่หลัก
-มักทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณหัวเข่าทั้งสองข้าง
-คือสภาพของช่องว่างระหว่างหัวเข่าวัดได้กว้างกว่าสองนิ้วมือ ส้นเท้าทั้งสองข้างบิดเข้าหากัน
-มักจะทำให้เกิดอาการเจ็บที่หัวเข่าทั้งสองข้าง
อุปกรณ์เสริมเท้าผิดรูป
ประโยชน์
- ป้องกันภาวะเสี่ยงที่จะเกิดแผลที่เท้าและการรุกรามของแผลที่เท้าและนำไปสู่การตัดนิ้วเท้า เท้าในที่สุด
- ปรับสมดุลเท้า กระจายน้ำหนักได้ดี
- ผลิตจาก พียู ที่มีความแข็งแรง ทนทานไม่ยุ่ยง่าย
- ลดแรงกดและแรงบีบที่เท้า ป้องกันการกระแทกที่นิ้วเท้าได้ทุกนิ้ว
- มีช่องระบายความอับชื้นไม่ให้เกิดเชื้อรา
- สายรัดข้อเท้าลดภาวะการจิกเกร็งของนิ้วเท้าขณะเดิน (ซึ่งแผลมักเกิดที่นิ้วเท้าก่อน)
- น้ำหนักเบา ให้ความนุ่มสบายขณะสวมใส่
- มีสารซิลเวอร์นาโน ช่วยลดกลิ่นเหม็นอับที่เท้า
- ล้างด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาทำความสะอาดได้
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เท้าผิดรูป ปวดเท้า และผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพเท้า
ประโยชน์
- วัสดุทำจากซิลิโคนเกรด A
- ถอดทำความสะอาดง่าย
- นำไปใส่ร่วมกับรองเท้าคู่อื่นได้
- เพิ่มส่วนโค้งเว้าของอุ้งเท้า
- เสริมบุคลิกภาพขณะเดิน
- ลดอาการข้อเท้าเอียง (rearfoot valgus)
- ลดการอักเสบเส้นเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อส้นเท้า (plantar facilities)
- กระจายแรกการลงน้ำหนักเท้าได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่เท้าแบน
ประโยชน์
- ใส่ในรองเท้าขณะยืนหรือเดิน
- ถอดทำความสะอาดง่าย
- ลดอาการชาฝ่าเท้า/เหน็บชา
- ลดอาการปลายเท้าเย็น
- ลดอาการปวดฝ่าเท้า และส้นเท้า
- เพิ่มการไหลเวียนเลือด
- เพิ่มการผ่อนคลายเท้า
- เหมาะสำหรับผู้มี่ปวดอุ้งเท้าและส้นเท้าเป็นประจำ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More
ปัญหาและทางแก้
เท้าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ต้องรับบทหนักในทุกๆวัน ความผิดปกติบางอย่างของเท้าเกิดจากกรรมพันธุ์ บางอย่างเกิดจากการเสื่อมของสภาพของร่างกายหลายครั้งเกิดจากการวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม แต่ส่วนใหญ่แล้วความผิดปกติของเท้ามักเกิดจากหลายๆสาเหตุร่วมกัน เช่น ในกรณีเท้าผิดรูปที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตได้หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่แก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ
เท้าผิดรูป คือ รูปร่างของเท้าที่ผิดรูปร่างไปจากเท้าปกติ ซึ่งมีทั้งประเภทที่บนได้บ่อยจนคนทั่วไปไม่รู้สึกว่าสิ่งนี้คือความผิดปกติ กับความผิดปกติที่เห็นได้อย่างชัดเจน เราสามารถแบ่งการผิดรูปของเท้าแบบง่ายๆ ตามส่วนต่างๆ ของเท้าได้เป็น 3ประเภท คือ
- การผิดรูปของเท้าส่วนหน้า ได้แก่ การผิดรูปของหัวแม่เท้าและนิ้วเท้าเล็กๆ
- การผิดรูปของเท้าส่วนกลาง ได้แก่ การผิดรูปของอุ้งเท้า
- การผิดรูปของเท้าส่วนหลัง ได้แก่ การผิดรูปของส้นเท้า
การผิดรูปของเท้าส่วนหน้า
เป็นเท้าผิดรูปส่วนหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ แต่ที่พบส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการใส่ รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ รองเท้าหัวแคบ ทำให้นิ้วหัวแม่เท้าเก หรือบิดเข้าสู่นิ้วชี้ปัญหาที่พบนอกจากรูปลักษณ์ที่ไม่สวยงามแล้ว ยังมีอาการปวดบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้าที่นูนออกเพราะเสียดสีกับรองเท้า อาจเกิดหนังด้านหรือมีอาการอักเสบของถุงน้ำดีที่บริเวณนี้และนิ้วหัวแม่เท้าที่เกอาจไปเบียดกับนิ้วชี้เท้าจนทำให้นิ้วชี้โก่งลอยเสียดสีกับรองเท้า เกิดหนังด้าน ทำให้เจ็บด้านบนได้อีก หนำซ้ำนิ้วเท้าที่เบียดกันยังอาจก่อให้เกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นปัญหาที่บนได้บ่อย
นอกจากนี้การมีนิ้วหัวแม่เท้าเก ทำให้ผ่าเท้าบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ภาระจึงตกอยู่กับผ่าเท้าบริเวณนิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย ทำให้เกิดปัญหาเจ็บบริเวณฝ่าเท้า บางคนอาจมีหนังด้านเกิดขึ้น ถ้าหนังด้านหนามากจนเกิดเป็นก้อนแข็ง เวลาเดินจะรู้สึกเหมือนเหยียบก้อนหินแข็งๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายคนทนไม่ไหว พยายามหาวิธีกำจัด เช่น การเอากรรไกรตัดเล็บ ใช้ยาลอกหนังด้าน แต่ลอกแล้วหนังก็จะเกิดขึ้นมาใหม่ จนเป็นปัญหาเรื้อรังเพราะต้นตอเกิดจากโครงสร้างของเท้าที่เอื้อให้เกิดปัญหานี้
วิธีแก้ไข ในกรณีที่นิ้วหัวแม่เท้าเกจนผิดรูปไปมากแล้ว ทางแก้ที่จะทำให้นิ้วเท้ากลับมาเป็นปกติคือ การผ่าตัด แต่ถ้าต้องการการแก้ปัญหาอาการปวดที่เกิดขึ้น สามารถบรรเทาได้ด้วยการเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม ได้แก่รองเท้าพื้นนุ่มเพื่อลดแรงกดที่ผ่าเท้ารองเท้าหน้ากว้างเพื่อไม่ทำให้นิ้วเท้าเบียดกัน ถ้ารองเท้าที่มีอยู่หน้ากว้างไม่พอ สามารถขยายหน้ารองเท้าซึ่งจะทำเฉพาะจุดที่กดนิ้วเท้าหรือขยายทั้งหัวรองเท้าก็ได้ ซึ่งร้านรองเท้าบางแห่งมีบริการนี้นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ดามนิ้วเท้า (splint) เพื่อกันไม่ให้นิ้วหัวแม่เท้าที่เกไปเกยเบียดนิ้วเท้าอื่นซึ่งช่วยลดอาการปวดเมื่อยนิ้วหัวแม่เท้าที่เกได้มาก
ส่วนหนึ่งอาจมีผลพวงจากการเกิดนิ้วหัวแม่เท้าเกเพราะทำให้เกิดหนังด้านบริเวณฝ่าเท้าส่วนหน้า แต่สาเหตุของปัญหานี้ที่พบบ่อยคือ “การใส่รองเท้าส้นสูง” ฝ่าเท้าจึงต้องรับน้ำหนักมากยิ่งส้นรองเท้ามีความสูงมาก การกดของน้ำหนักก็ยิ่งมากตามขึ้นไปด้วยบางครั้งอาจจะมีอาการปวดร้าวไปที่นิ้วเท้าและข้อเท้า และมักพบหนังด้านในบริเวณฝ่าเท้าด้วย
วิธีแก้ไข การแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ “การเลิกใส่รองเท้าส้นสูง” แต่ถ้าเลิกและเลี่ยงไม่ได้ ควรต้องปรับร้องเท้าให้ใส่สบายขึ้น เช่นพื้นรองเท้าบริเวณฝ่าเท้าต้องใช้วัสดุที่นุ่มถ้ารองเท้าคู้ที่ซื้อมาเป็นพื้นแข็งให้ใช่แผ่นเจลถนอมเท้า ใส่ไว้ในรองเท้าบริเวณฝ่าเท้า จะช่วยให้พื้นรองเท้านิ่มขึ้นนอกจากนี้การใส่รองเท้าส้นสูง อาจทำให้อุ้งเท้าโก่งมากขึ้นเมื่อยง่ายจึงควรใช้อุปกรณ์รองอุ้งเท้าซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดและช่วยให้สบายขึ้น
มักพบในผู้ที่มีนิ้วชี้และนิ้วกลางยาวกว่าหัวแม่เท้า สาเหตุหลักคือเกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม มาเป็นระยะเวลานานรองเท้าที่คับจะดันให้นิ้วเท้าโก่งขึ้นมีปัญหาส่วนที่โก่งกดเบียด เสียดสีกับรองเท้าจนเกิดเป็นตาปลา หนังด้านปลายนิ้ว
วิธีแก้ไข สามารถทำได้ง่ายมาก คือเลือกรองเท้าให้เหมาะสมโดยวัดความยาวจากส้นเท้าถึงปลายนิ้วเท้าที่ยาวที่สุดซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหัวแม่เท้าตลอดไปส่วนหัวของรองเท้าควรเลือกควรเลือกเท่ากับพื้นที่ความกว่างของนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด ในกรณีที่นิ้วโก่งมากจนยึดติด คลายไม่ได้ต้องใช้วิธีการแก้ไชโดยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ถ้าเริ่มมีอาการต้องรีบแก้ไขแต่จะให้ดีที่สุดควรปรับรองเท้าให้เหมาะสมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
การผิดรูปของเท้าส่วนกลาง
เป็นเท้าผิดรูปส่วนกลางที่บนบ่อยที่สุด สาเหตุเป็นได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ และความเสื่อมของเส้นเอ็นหากเกิดจากกรรมพันธุ์จะมีลักษณะการผิดปกตินี้ตั้งแต่เด็กๆโดยจะเริ่มเห็นตั้งแต่เด็กเริ่มเดินและจะเห็นชัดขึ้นเมื่ออายุ 3-4 ขวบ สังเกตได้จากรอยเท้าที่เหยียบไปบนพื้นจะมีลักษณะเต็ม ไม่มีอุ้งเท้า ประกอบกับลักษณะส้นเท้าบิดคุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตว่าลูกเดินไม่สวยหรือบ่นปวดเมื่อยน่องเวลาเดินมากแต่ถ้าเป็นเท้าแบนในแบบผู้ใหญ่ มักพบในผู้ที่มีอายุ 50-60 ปี โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากๆปัญหาเกิดจากความเสื่อมของเส้นเอ็นบริเวณเท้า เรียกโรคนี้ว่า “เส้นเอ็นพยุงส้นเท้าเสื่อม” ผู้ป่วยจะปวดบริเวณอุ้งเท้าร้าวขึ้นมาถึงบริเวณตาตุ่มด้านใน (ตาตุ่มที่อยู่ด้านเดียวกับหัวแม่เท้า) โดยจะมีอาการปวดบวมแดงร้อน ซึ่งเป็นสัญญาณการอักเสบของเส้นเอ็น หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอุ้งเท้าจะค่อยๆแบนลง ส้นเท้าจะบิดออกเท้าส่วนหน้าจะแปออกคล้ายเท้าเป็ด หากมีส้นเท้าบิดมากๆเป็นเวลานานอาจทำให้ข้อเสื่อมและเคลื่อนไหวได้น้อยลง
วิธีแก้ไข ถ้าพบตั้งแต่เด็กๆสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับรองเท้าหรือใส่อุปกรณ์ประคองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษส่วนการใส่รองเท้าที่เหมาะสมซึ่งการแก้ไขในที่นี้คือการ ทำให้เท้าไม่ผิดรูปไปมากกว่าเดิม ไม่ผิดรูปจนน่าเกลียด แต่การจะทำให้อุ้งเท้ากลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเท้าว่ามีความผิดปกติมากน้อยเพียงใด
สำหรับผู้สูงอายุ หากเส้นเอ็นประคองอุ้งเท้าเสื่อมจนเอ็นย้วยหรือขาด จนกระทั่งส่งผลให้เท้าแบนแล้ว สามารถแก้ไขได้โดยการผ่าตัดเพื่อให้โครงสร้างเท้ากลับมาเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่เลือกวิธีนี้ จะเลือกวิธีการปรับรองเท้าแทน โดยหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าแตะที่แบนติดพื้น ให้เลือกใส่รองเท้าหุ้มส้นที่มีโครงประคองอุ้งเท้าไม่ให้บิด เลือกใส่รองเท้าที่มีอุ้ง หากหารองเท้าที่มีอุ้งเหมาะสมกับเราไม่ได้ ให้ใช่อุปกรณ์รองอุ้งเท้าเสริมหรืออาจสั่งติดแผ่นรองเท้าพิเศษ ซึ่งจะได้แผ่นรองเท้าที่เหมาะกับตนพอดิบพอดี โดยติดต่อได้ที่โรงพยาบาลของรัฐที่มีคลินิกสุขภาพเท้า โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ตามต่างจังหวัด สามารถติดต่อของสั่งตัดได้ที่ โรงพยาบาลศูนย์แต่ราคาค่อนข้างสูง ปัจจุบันราคาอยู่ที่คู่ละ 2,000-4,000 บาท
ในกรณีที่เท้าพึ่งจะเริ่มแบน แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในฝ่าเท้าด้วยวิธีการง่ายๆคือในช่วงที่มีอาการเจ็บให้บริหารโดยใช้อุ้งเท้าทั้งสองข้างคีบประคองลูกบอลขนาดประมาณลูกฟุตบอล แต่ถ้าอาการปวดบรรเทาลงแล้ว จะใช้วิธียืนเขย่งปลายเท้าขึ้นลงโดยเริ่มทำที่จำนวนน้อยๆเพื่อไม่ให้เกิดอากรอักเสบซ้ำ และเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งแต่ที่ไม่ควรละเลยคือการดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
ปัญหาเกิดจากกรรมพันธุ์ และปัญหาเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เช่นในผู้ป่วยเบาหวาน เส้นประสาทส่วนปลายเท้ามักจะเสื่อมกล้ามเนื้อที่ฝ่าเท้าทำงานได้น้อยลง ปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อุ้งเท้าสูงคือบริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้าเพราะเมื่อเหยียบพื้นน้ำหนักตัวที่ควรจะกระจายทั่วเท้าก็จะกลับตกที่สองจุดนี้
วิธีแก้ไข เวลาเลือกซื้อรองเท้าควรเลือกรองเท้าพื้นนุ่มทีมีส่วนโค้งใต้อุ้งเท้า หลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีพื้นแบน และใช้อุปกรณ์รองอุ้งเท้าเสริมหรือจะสั่งตัดแบบพิเศษช่วยให้กระจายน้ำหนักตัวได้ดีมากขึ้น
การผิดรูปของเท้าส่วนหลัง
ส่วนใหญ่จะมาจากอุ้งเท้าที่มีปัญหา เช่นเท้าแบนตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งการผิดรูปของเท้าส่วนหลังมักจะเกิดจากอุบัติเหตุจึงพบได้ไม่บ่อยนัก
สุดท้ายขอฝากในส่วนของการดูแลเท้าโดยภาพรวมหากเกิดอาการเจ็บปวด สิ่งที่ควรทำคือการพักเท้าแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้มือนวดคลึงเบาๆเพื่อยืดคลายเส้นและกล้ามเนื้อถ้าเจ็บฝ่าเท้าควรจะใส่รองเท้าเดินในบ้าน โดยเลือกคู้ที่มีพื้นนุ่ม(ไม่แนะนำให้ใส่รองเท้ากันเปื้อนพื้นบาง) และถ้าพื้นรองเท้ายุบตัวลงจากการใส่ไปนานๆอย่าเสียดายที่จะเปลี่ยนคู่ใหม่เพื่อสุขภาพเท้าที่ดีของตัวเราเอง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
www.firstphysioclinic.com สายด่วน 085-264-4994
More