All Posts tagged เอ็นเสื่อม

ตอนที่121: ปวดข้อศอก (TENNIS ELBOW)

ตอนที่121: ปวดข้อศอก (TENNIS ELBOW)

พยาธิสภาพ

เกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นที่เสื่อมสภาพรอบๆข้อศอกจากการขาดความยืดหยุ่นและใช้งานหนักซ้ำๆจนร่างกายซ่อมแซมไม่ทันจึงทำให้เกิดการอักเสบ

 

สาเหตุ

  1. ลักษณะงานที่ต้องใช้แขนหรือข้อมือซ้ำๆเช่น ช่างประเภทต่างๆที่ต้องทำงานโดยใช้ข้อมือทำงานซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นทาสี ตอกตะปูหรือหมุนไขควง ชาวไร่ชาวนาที่ใช้จอบเสียมขุดดิน แม่บ้านที่ทำงานบ้านประเภทซัก บิด ขัดหรือถูพนักงานพิมพ์ดีดและเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  2. นักกีฬาหรือผู้ที่เล่นเทนนิสนานๆครั้ง อุปกรณ์หรือทักษะการเล่นไม่ถูกต้องโดยเฉพาะท่าตีด้วยหลังมือ

( backhand)

 

อาการปวดเป็นอย่างไร

  • ปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอกอาจมีอาการปวดร้าวไปทั้งแขนจนถึงข้อมือ
  • ปวดมากขึ้นเวลายกของเกร็งแขน ขยับข้อศอกข้อมือหรือกำมือแน่นๆเพราะจะไปใช้งานบริเวณ

ที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จนถึงอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย

  • อาการปวดจะเป็นอยู่ประมาณ 6 – 12 สัปดาห์แต่ถ้าเป็นมานานมากอาจใช้เวลารักษาเป็นปี

 

การรักษา

ระยะที่ 1ระยะเฉียบพลัน เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวด

  • พักหรือใช้งานให้น้อยลงโดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการ หลีกเลี่ยงการใช้งานผิดท่า
  • ประคบด้วยน้ำแข็ง ภายใน 2 วันแรกควรประคบครั้งละ 20 นาทีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดความปวดจากการอักเสบและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • ถ้าจำเป็นแพทย์จะพิจารณาให้ใช้แถบรัดใต้ข้อศอก(Tennis elbow support) กรณียังต้องใช้งานแขนมาก

ระยะที่ 2 ระยะเรื้อรัง เพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

  • รักษาโดยการประคบร้อน
  • ยืดกล้ามเนื้อ
  • กดจุดคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่มีอาการเจ็บ
  • เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อบริเวณแขน
  • ถ้าไม่ดีขึ้นปรึกษานักกายภาพบำบัด หรือแพทย์

 

การออกกำลังกาย

 

1.การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) โดยการกระดกข้อมือขึ้นลงขณะที่ทำข้อศอกควรเหยียด

ตรง ในการทำแต่ละครั้งให้ค้างไว้ 20-30 วินาที ทำซ้ำ5-10 ครั้ง ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่ควรระวังไม่ทำจนมีอาการปวดมาก

7

  1. การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening)โดยใช้อุปกรณ์ช่วย
  • กระดกข้อมือขึ้นลง โดยนั่งบนเก้าอี้ถือดรัมเบลหนักขนาด 5 กิโลกรัมไว้ในมือวางแขนบนขาหรือบนโต๊ะกระดกข้อมือขึ้นลงช้าๆ

8

  • บริหารมือ โดยกำลูกบอลยางหรือลูกเทนนิสไว้ในมือแล้วพยายามบีบค้างไว้ 25 วินาที ในครั้งแรกๆ อาจไม่ค่อยมีแรงต้องฝึกทำซ้ำๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

9

  • บริหารนิ้วโดยใช้หนังยางที่มีความดึงพอควรสวมที่นิ้วทิ้ง 5 แล้วพยายามกางนิ้วออกให้มากที่สุดค้างไว้ 25 วินาทีทำ 3 ครั้งแล้วเพิ่มความแข็งแรงของ

10

ระยะที่ 3 ทำเหมือนระยะที่ 2 แต่เพิ่มน้ำหนักของอุปกรณ์ หรือเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้งานต่อไปสำหรับนักกีฬาสิ่งที่ต้องทำคือการจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น อาทิเช่นการใช้อุปกรณ์ในบ้าน เช่น ด้ามไม้กวาด ท่าหยิบจับหนังสือ/เอกสาร ไม้เทนนิสต้องขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่เกินควรหัวไม้ควรมีขนาดประมาณ 95-110ตารางนิ้ว ทำจากกราไฟด์จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เส้นเอ็นไม่ควรขึงดึงเกินไป ควรเช็คทุก 6เดือน ด้ามจับต้องมีขนาดเหมาะมือ เป็นต้น รวมทั้งทักษะการเล่นที่ถูกต้องจะช่วยลดการบาดเจ็บได้มาก

ส่วนผู้ที่ทำงานโดยต้องใช้กล้ามเนื้อแขน ข้อมือข้อศอกในลักษณะซ้ำๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานที่หนักเกินไปแต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้การบริหารกล้ามเนื้อในท่าต่างๆ ที่กล่าวมาจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยลดการบาดเจ็บของข้อศอกบริเวณด้านนอกได้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ในกรณีที่ได้รับการรักษาเต็มที่แล้วอย่างน้อย 3 – 6 เดือน อาการยังไม่ดีขึ้นการผ่าตัดนำพยาธิสภาพของเส้นเอ็นออกจะช่วยลดอาการได้

เรียบเรียงโดย :นศก.ปารวี    โพธิ์แก้ว ชั้นปี 3  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

http://www.firstphysioclinics.com

สายด่วน : 085-264-4994

Line ID :0852644994

 

More