All Posts tagged Bell’s palsy

ตอนที่131: กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก ( BELL’S PALSY)

ตอนที่131: กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก  ( BELL’S PALSY)

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก 

( BELL’S PALSY)

Bell’s palsy เป็นภาวะที่เส้นประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้ามีการอักเสบหยุดการทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงด้านเดียวกัน คือ เปลือกตาตกลง มุมปากตกลง หลับตาไม่สนิท น้ำไหลมุมปาก ขยับยิ้มมุมปากด้านนั้นๆ ไม่ได้bell'spalsy

 

สาเหตุของ

เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทเส้นที่ 7 ที่ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า โดยอักเสบจากเชื้อไวรัส มีหลักฐานพบว่ามักเป็นจากเชื้อเริม หรือร้อนในที่ทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากและอวัยวะเพศ นอกจากนั้นอาจเป็นจากเชื้ออื่นๆ เช่น งูสวัดการอักเสบทำให้เส้นประสาทบวม มีผลทำให้เส้นเลือดเล็กๆ ที่เลี้ยงเส้นประสาทส่งเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทไม่ได้ รบกวนการทำงานของเส้นประสาททำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าให้ทำงานได้

 

bell's palsyอาการ

  • คิ้วตกลงเปลือกตาตกลง มุมปากตก
  • ปิดตาไม่สนิท ทำให้ตาแห้ง
  • ชาลิ้น
  • หูอื้อ
  • เคี้ยวแล้วน้ำลายไหลเพราะปิดปากไม่สนิท

 

 

 

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  face massage

 

 

  1. การนวด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการหน้าเบี้ยวมักจะกล้ามเนื้อตึงตัวกว่าปกติ

S__7995402 2 S__7995403 2

 

 

 

 

 

 

 

S__7995404 2

S__7995405 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อหน้า โดยใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อ (electrical stimulator) เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบปลายประสาทและชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ

กระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงทุกจุด อย่างน้อยเช้า -เย็น จุดละ 2-3 นาที

 

ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้า หน้ากระจก

Face exercise

 

 

 

 

 

 

 

 

วางแผ่นร้อนเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

hotpack

S__7995414 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

http:// www.firstphysioclinics.com

Line ID : 0852644994

TEL.: 085-264-4994

More

ตอนที่21:อัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)

ตอนที่21:อัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)


อัมพาตใบหน้า1

เวลาที่คุณตื่นมาตอนเช้าแล้วรู้สึกว่ามีตึงๆบริเวณใบหน้า ปิดตาข้างใดข้างหนึ่งไม่สนิท เวลาทานอาหารแล้วมีน้ำลายไหลออกทางมุมปาก จนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เวลาพูดยิ้ม หรือกระพริบตา พูดไม่ชัด ใบหน้าเบี้ยว อาการผิดปกติเหล่านี้เรียกว่า อาการของโรคอัมพาตใบหน้า เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 มีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้ารวมไปถึงลิ้นและกล้ามเนื้อใบหน้า เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย

 

อัมพาตใบหน้า 3

 

สาเหตุการเกิดอัมพาตใบหน้า

               อาจเกิดจากการติดเชื่อไวรัส จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติในผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สตรีที่ตั้งครรภ์

 

 

อัมพาตใบหน้า 5

อาการของโรคอัมพาตใบหน้า

              อาการมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน อาการที่พบก่อนคือ ปวดหู ปวดข้างใดใบหน้าด้านนั้นอาจมีโอกาสเกิดอัมพาตได้ เมื่อตื่นมาตอนเช้าจะชาบริเวณใบหน้า ตึง แสบตาเนื่องจากขณะที่ลมพัดไม่สามารถปิดตาให้สนิทได้ จะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าได้ อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นทานอาหารแล้วไหลออกทางมุมปาก ต่อมาอาการมากขึ้นและสังเกตได้ชัดเจนคือ ปากเบี้ยว คิ้วตก พูดไม่ชัด อาการจะเกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 วัน

วิธีการรักษา

               อัมพาตใบหน้าสามารถรักษาให้หายได้ เพราะสาเหตุเกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 มีการบวมจากการอักเสบและขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทจึงทำให้ไม่สามารถส่งคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อใบหน้าซีกนั้นได้ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้ภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่าเส้นประสาทถูกทำลายมากน้อยแค่ไหน หากเกิดปัญหากับเส้นประสาทมากอาจจะต้องใช้เวลา 2 เดือน – 2 ปี และขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอายุ ยิ่งอายุมากจะหายช้า ส่วนใหญ่จะหายได้สนิทไม่หลงเหลือความผิดปกติ หรืออาจจะเหลือร่องรอยเล็กน้อย

1. รักษาด้วยยา

             การใช้ยาให้ได้ผลดีจะต้องได้รับยาอย่างเร็วที่สุด หากนานเกิน 3-4 สัปดาห์ การใช้ยามักจะไม่ค่อยได้ผล

2. รักษาทางกายภาพบำบัด

              กายภาพบำบัดสามารถทำได้หลายเทคนิกการรักษา ได้แก่

  • การนวดเบาๆ บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเองและบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าโดยการแสดงท่าทางบนใบหน้า เช่น แยกเขี้ยวยิงฟัน ยิ้มเหยียดมุมปากแล้วใช้มือยกมุมปากขึ้นตามไปด้วย ทำวันละ 5-10 นาที

  • ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยและให้ผลทางด้านจิตใจของผู้ป่วยได้มาก การกระตุ้นด้วไฟฟ้าเพื่อชล่อการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ให้ลีบเล็กลง ระหว่างรอการฟื้นตัวกลับคืนมาของเส้นประสาท

  • ประคบร้อนบริเวณใบหน้า

อัมพาตใบหน้า 6

 

 

3. รักษาโดยการผ่าตัด

                 มักเลือกทำในรายที่มีอาการของโรคชนิดรุ่นแรง และไม่สามารถรักษาหายได้ทางยาหรือกายภาพบำบัด

การป้องกันและการปฏิบัติตน

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับใบหน้าและลำคอ เช่น หนุนหมอนที่สูงเกินไป นั่งหรือนอนบนที่นอนที่นุ่มแล้วมีส่วนโค้งเว้าเป็นประจำ เพราะการนอนท่าผิดธรรมชาติอาจส่งผลต่อระบบประสาท หลีกเลี่ยงกีฬาหรือกิจกรรมที่ต้องหมุนคอ  เช่น กอล์ฟ มีความเสี่ยงสูง

หลีกเลี่ยงความเครียด หลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด พักผ่อนให้เพียงพอ

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More