By Firstphysio Clinic
15 Jan, 2017
อุปกรณ์กายภาพบำบัด
Brachial plexus injury, กายภาพบำบัด, กิจกรรมบำบัด, คลินิก, บริบาล, ผู้สูงอายุ, ฟื้นฟู, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, อุปกรณ์กายภาพบำบัด, อุปกรณ์ดูแลคนแก่
ES for Brachial Plexus Injury
หลักในการกระตุ้นไฟฟ้า สำหรับผู้ป่วย Brachial Plexus Injury
การกระตุ้นไฟฟ้าสามารถชะลอการลีบของกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงไว้ แต่ผลที่ได้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1.ชนิดของกระแสที่ใช้กระตุ้น : ใช้กระแสไฟตรงแบบเป็นช่วงๆ ในกรณีกล้ามเนื้อไม่ได้ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงทั้งมัดหรืออยู่ใกล้กับกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง กระแสที่ใช้กระตุ้นควรเป็น Triangular wave form เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงเกิดการปรับตัว ทำให้ช่วยหลีกเลี้ยงการหดตัวของกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงได้ แต่ถ้าผู้ป่วยเป็น complete BPI การกระตุ้นกล้ามเนื้อไม่จำเป็นที่จะต้องระวังเส้นประสาทข้างเคียงที่จะไวต่อการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ดังนั้น Regtangular wave form จึงเหมาะสมกว่าเพื่อให้ได้กระแสเต็มพื้นที่ในช่วงกระตุ้น
2.Current Intensity : Maximal stimuli level เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
3.Frequency : ความถี่ที่นำมาใช้ในการกระตุ้นคือ ความถี่ต่ำ (low frequency)
4.ช่วงการกระตุ้น : ช่วงกระตุ้นจะมากน้อยขึ้นอยู่กับ chronaxie ของกล้ามเนื้อที่ทำการรักษา pulse duration ที่จะนำมาใช้รักษาควรจะมากกว่าหรือเท่ากับ chronaxie ส่วนการเลือก pulse duration ช่วงพักที่มักใช้ในแต่ละครั้งของการ contraction ประมาณ 500-1000 ms ถ้าให้ช่วงพักแคบเกินไปการเกิดการล้าจะง่ายขึ้น การฟื้นตัวของกล้าเนื้อทีขาดประสาทมาเลี้ยงจะใช้เวลานานมากกว่ากล้ามเนื้อปกติ
5.Technique bipolar technique : โดยวางขั้วกระตุ้นครอบคลุมส่วนต้นและส่วนปลายของ muscle belly ถ้าวางแบบ monopolar technique ควรให้ dispersive วางไว้บนส่วนของร่างกายที่ห่างจากบริเวณที่กระตุ้น ส่วน active electrode ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเป็นขั้วที่วางอยู่บนกล้ามเนื้อที่ต้องการรักษา ซึ่งควรจะเคลื่อนขั้วกระตุ้นไปทั้วๆ เพื่อให้กระแสไฟกระตุ้นทุกมัดของใยกล้ามเนื้อ การวางขั้วกระตุ้นที่คิดว่าเป็นบริเวณ motor point จะเกิดผลได้เพียงบางส่วนของกล้ามเนื้อเท่านั้น
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18
More
ในปัจจุบันนี้ Brachial plexus injury เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อย เนื่องจากเป็นข่ายประสาทสำคัญที่วางตัวอยู่ทั้งบริเวณคอและรักแร้ เกิดจากการรวมกลุ่มของรากประสาทไขสันหลัง 5 เส้น คือC5,C6,C7,C8,T1 เมื่อรวมตัวกันแล้วจะแบ่งออกเป็นเส้นประสาทต่างๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกตั้งแต่กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ไปจนถึงปลายนิ้ว
สาเหตุของการบาดเจ็บแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ

1. การบาดเจ็บที่เกิดกับส่วนบนของ brachial plexus มักจะเป็นผลมาจากการแยกหรือดึงต้นคอและไหล่ไปในทิศทางตรงกันข้าม เช่น ล้มลงในท่าศีรษะและหัวไหล่กระแทกพื้นหรือในระหว่างการคลอด ซึ่งทารกถูกดึงศีรษะออกมาในขณะที่ยังตะแคงข้าง ผลจากการบาดเจ็บอาจทำให้ dorsal root และ ventral root ของเส้นประสาทไขสันหลังระดับ C5 และ C6 ถูกกระชากมาจากไขสันหลัง ในผู้ป่วยเหล่านี้ อาจพบอัมพาตของกล้ามเนื้อของกระดูกสะบักและสูญเสียความรู้สึกในบริเวณผิวหนังของหลังที่เลี้ยงโดย C5 และ C6 หรืออาจมีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อและสูญเสียความรู้สึกของแขน

2. การบาดเจ็บที่เกิดกับส่วนล่างของ brachial plexus มักจะเป็นผลมาจากการเกิดขึ้นในท่าที่แขนถูกดึงไปด้านหลังอย่างแรง เช่นคลอดทารกโดยดึงแขนขึ้น หรือท่าหล่นต้นไม้แล้วคว้ากิ่งไม้เพียงแขนเดียว จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บของ C8 และ T1 โดย dorsal root และ ventral root ถูกกระชากออกมาจากไขสันหลังลักษณะอาการคือกล้ามเนื้อแขนยังทำงานได้ดี แต่กล้ามเนื้อมือใช้การไม่ได้ ไม่สามารถงอข้อมือได้ ข้อนิ้วส่วนต้นจะเหยียด ข้อนิ้วกลางและปลายจะงออยู่ในท่าที่เรียกว่า “claw hand”
การบาดเจ็บของ brachial plexus อาจแบ่งออกเป็น
1. การบาดเจ็บชนิดที่มีบาดแผล (open injuries )
- บาดแผลจากของมีคม (sharp)
- บาดแผลจากการยิง หรือระเบิด (gun shot or blast)
- เส้นประสาทนั้นมีการฉีกขาดจาดการกระแทกหรือถูกตัดผ่าน
2. การบาดเจ็บชนิดไม่มีบาดแผล ( close injuries )
- การบาดเจ็บที่ตำแหน่ง supraclavicular
- เป็นการบาดเจ็บจากแรงดึงเป็นสำคัญ จะทำให้เกิดพยาธิสภาพในลักษณะ root avulsion นอกจากนี้ อาจได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกหรือแรงกด ซึ่งอาจเกิดโดยตรงหรือจากการที่ชิ้นกระดูกบริเวณหัวไหล่ไปกดทับ
3. การบาดเจ็บจากรังสี (post radiation injury)
- เกิดขึ้นภายหลังได้รับรังสีรักษาที่บริเวณหัวไหล่ และหน้าอกข้างหน้า เพื่อรักษามะเร็งของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง ที่พบบ่อยสุดคือมะเร็งเต้านม
4. การบาดเจ็บจากการคลอด (obstetrical palsy)
- เกิดกับทารกที่กำลังคลอดจากครรภ์มารดา โดยมีปัจจัยต่างๆมาทำให้การคลอดเป็นไปโดยความยากลำบาก ปัจจัยต่างๆได้แก่ ทารกมีน้ำหนักมาก ความไม่สมดุลของขนาดทารกกับช่องทางในการคลอด ไหล่ตืดขนาดคลอด และการคลอดท่าก้น การบาดเจ็บนี้เกิดจากแรงที่ดึงศีรษะแยกออกจากไหล่ที่ติดอยู่
การรักษาทางการแพทย์
การักษาการรักษาทางกายภาพบำบัด

1. การใช้แผ่นความร้อนไฟฟ้า เพื่อลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ

2. การใช้แผ่นความเย็นในระยะอักเสบ หรือช่วงหลังผ่าตัด
3. การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง เพื่อลดอาการปวดของกล้ามเนื้อที่มีการตึงตัว หรืออักเสบ
4. การขยับดัดดึงข้อต่อ เพื่อป้องกันข้อไหล่ หรือข้อศอกติด


5. แนะนำการออกกำลังกาย โดยการใช้รอก, ถุงทราย และดัมเบล เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
More