ตอนที่172: Cardiac Rehabilitation Program
Cardiac Rehabilitation Program
การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
ทำไม ถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ หลังผ่าตัด ?
1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลับมามีความสามารถและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมือนปกติ
- เพื่อให้อาการหอบเหนื่อยน้อยลง มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนก่อนป่วยทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ
3.สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ
ระยะต่างๆของการฝึก
ระยะที่ 1 ระยะที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ในโรงพยาบาล
ระยะที่ 2 ระยะที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลโดยใช้ ระยะเวลาประมาณ 8-12 สัปดาห์
ระยะที่ 3 ระยะผู้ป่วยนอกต่อเนื่อง(เริ่มในระยะ 3 เดือน)
ระยะที่ 4 หลังจากสิ้นระยะที่ 3 แล้วผู้ปวยสามารถออกกำลังกายไดเองอยางปลอดภัยภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด
ข้อหามในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
- Unstable angina
- ภาวะหัวใจวายที่ควบคุมไม่ได
- ลิ้นหัวใจตีบขั้นปานกลางถึงรุนแรง
- Recent pulmonary embolism หรือ severe pulmonary arterial hypertension
- ความดันโลหิตซิสโตลิก ขณะพัก > 200 มม.ปรอท หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิก ขณะพัก> 100 มม.ปรอท
- ความดันโลหิตซิสโตลิกลดลง> 20 มม.ปรอท เมื่อเปลื่ยนจากที่นั่งเป็นท่า
- ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือ เต้นชามากที่ควบคุมไม่ได้
- ไขหรือภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน
- เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
- ปัญหาทางกระดูกและข้อที่จะเป็นอุปสรรคในการออกกำลังกาย
ต้องหยุดออกกำลังกายเมื่อ?
- เมื่อยล้ามาก
- เครื่องติดตามผู้ป่วยทำงานไม่ปกติ
- เวียนศรีษะ มึนงง เซ ซีด เขียว เหนื่อยหอบ คลื่นไส้อาเจียน
- เริ่มมีเจ็บหน้าอก
- ความดันโลหิตตก
- ความดันโลหิตสูงขึ้นมาก (ความดันซิสโตลิก มากกว่า 220 หรือ ไดแอกโตลิก มากกว่า 110 มม.ปรอท)
- อัตราการเต้นหัวใจต่ำลงมากกว่า 10 ครั้ง/นาที เมื่ออกกำลังกาย
- ถ้าคืนที่ผ่านมานอนไม่หลับจนร่างกายอ่อนเพลียมาก
- อากาศร้อนจัด หนาวจัด มีฝุ่นละออง ควัน ไอเสียมาก
คำแนะนำทั่วไปสำหรับการออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายหลังอาการ ควรรอ 1-2 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการดื่ม กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- ไม่ควรออกกำลังกายในที่เปลี่ยว
- ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ อากาศถ่ายเทได้สบาย
- รองเท้าควรเป็นรองเท้าผ้าใบสำหรับออกกำลังกาย เลือกรองเท้าให้พอดี กับเท้าสวมใส่สบาย
- ควรมีป้ายชื่อของท่าน และ แพทย์ประจำตัว
- ควรพกยาอมใต้สิ้น หรือ ชนิดพ่น
- ควรพกโทรศัพท์เผื่อติดต่อฉุกเฉิน
- ควรบอกญาติว่ากำลังไปไหน ทำอะไร
- ระยะการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ด้วยความถี่ 3-5 วัน
การฟื้นฟูสภาพหัวใจ ระยะที่ 1 (Phase 1)
ระยะผู้ป่วยใน (Inpatient Phase)
ระยะที่ 1 คือระยะที่ผู้ป่วยอยู่ ในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
- ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ
- ช่วยให้ ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างปลอดภัย
- ช่วยให้ผู้ป่วยมี ความมั่นใจในการปฏิบัติตน และ ลดความเครียดอาจที่เกิดขึ้น
- เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องหลังออกจากโรงพยาบาลรวมทั้งสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้
วิธีการ
ก่อนเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายทุกครั้ง ผู้ฟื้นฟูต้องพิจารณาข้อห้ามสำหรับการออำกำลังกายและควรเฝ้าระวังขณะผู้ป่วยออกกำลังกาย และหยุดออกกำลังกายเมื่อมีข้อบ่งชี้
โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจประกอบด้วย ขั้นตอนย่อยจากระยะต้น ซึ่งมีระดับการใช้ออกซิเจน (METs) ต่ำจนถึงขั้นที่สูงขึ้น วิ่งต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น การให้โปรแกรมตามขั้นตอนจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ช้า หรือเร็วขึ้นกับอาการและสภาพของผู้ป่วย แต่ละขั้นตอนย่อยของโปรแกรมประกอบด้วย
1.การฝึกกิจวัตรประจำวันต่างๆ
2.การออกกำลังกาย
3.การให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการปฎิบัติตัว
การออกกำลังกาย
รูปแบบ (mode) ใช้การออกกำลังกายแบบ callisthenic exercise และการเดินเป็นหลัก
ความหนักเบา (intensity)
ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (post- myocardial infraction) ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยมีชีพจรขณะออกกำลังกายมากกว่าชีพจรขณะพักไม่เกิน 20 ครั้ง/นาที ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ หรือการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยมีชีพจรขณะออกกำลังกายมากกว่าชีพจรขณะพักไม่เกิน 30 ครั้ง/นาที
ระยะเวลาในการออกกำลังกาย (duration)
5-10 นาทีในระยะแรก และค่อยๆเพิ่มขึ้นได้ 20-30 นาที
ความถี่ (frequency)
วันละ 2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพผู้ป่วย
เป้าหมายของการฟื้นฟูสภาพในระยะที่ 1 คือ ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และทำกิจกรรมหรืออกกำลังกายในระดับ 5 METs ได้
METs คืออะไร ?
คืออัตราการใช้พลังงานระหว่างการทำกิจกรรมใดกิจรรมหนึ่งเมื่อเทียบกับขณะพัก ยกตัวอย่าง การใช้พลังงาน 4 MET กล่าวคือ การใช้พลังงานเป็น 4 เท่า เมื่อเทียบกับขณะพัก
ตารางเทียบกิจกรรม
สถานที่ | ขั้นตอน | การฝึกกิจกรรม | การออกกำลังกาย | งานบ้านและงานอดิเรก |
ICU
CCU |
< 2METs | -นั่งห้อยขาข้างเตียง 15 นาที เช้า เย็น
– นั่งเก้าอี้ 15 -30 นาที 2-3 ครั้ง/วัน – ช่วยตนเองบางส่วน เช่น กินเอง หรือ หวีผม |
– เริ่มขยับข้อ แขน ขา ตามรูป 1-3 ท่าละ 5 ครั้ง
|
– |
ตึกผู้ป่วยในหรือบ้าน | < 2 METs | -นั่งเก้าอี้ได้บ่อยขึ้น
– เริ่มเดินในห้องได้ |
– เดิน 15 เมตร ไป –กลับ
– ออกกำลังกาตามรูป 1-6 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น |
|
ตึกผู้ป่วยใน หรือ บ้าน | 3 METs | -เดินไปห้องน้ำได้
– เดินตามทางตึกผู้ป่วยได้ |
-เดิน 24 เมตร ไป-กลับ
-ออกกำลังกายตามรูป 1-7 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น – ขึ้นลงบันได 2-3 ขั้นบันไดได้ – เดิน 90 เมตร เช้าและเย็น |
– ทำงานในสำนักงานความหนักปานกลาง
– อาบน้ำฝักบัว – เตรียมผักและผลไม้ – ขับรถ – เต้นจังหวะช้าๆ – ทำสวนเบาๆ – เล่นโบว์ลิ่ง
|
ตึกผู้ป่วยใน หรือบ้าน | 4 METs | – อาบน้ำเองได้(มีคนเผ้า)
– ช่วยเหลือตนเองได้เกือบทุกอย่าง เช่น เดิน
|
– เดิน 150 เมตร เช้าและเย็น
– เดินลงบันได 1 ชั้น-กลับด้วยลิฟท์ – ออกกำลังกายจามรูป 1-8 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น
|
– กวาดบ้าน ทำความสะอาดบ้านด้วยเครื่องดูดฝุ่น ถูพื้น
– ใช้คราดกวาดใบไม้ – ล้างรถหรือเช็ดหน้าต่าง – เล่นกับลูกหลาน ห้ามอุ้มเด็ก – เต้นความเร็วระดับปานกลาง – เล่นกอล์ฟโดยไม่ใด้ถือถุงกอล์ฟเอง – ว่ายน้ำช้าๆ – เล่นปิงปอง – ไทชิ |
ตึกผู้ป่วยใน หรือ บ้าน | 5 METs | – ทบทวนการปฎิบัติตนที่บ้าน | – เดิน 150 เมตร เช้าและเย็น
– เดินลงบันได 1 ชั้น-กลับด้วยลิฟท์ – ออกกำลังกายจามรูป 1-8 ท่าละ 5-10 ครั้ง เช้าและเย็น
|
– ขุดดินด้วยเสียมหรือพลั่ว
– ตัดหญ้าด้วยมือ – ทำความสะอาดรางน้ำ – ทาสี – เต้นด้วยความเร็วขึ้น – แบดมินตัน – เล่นปิงปองคู่ – เพศสัมพันธ์ ห้ามอุ้มคู่รักหรือผลักดัน |
การฟื้นฟูสภาพหัวใจ ระยะที่ 2 (phase 2)
ระยะผู้ป่วยนอก (outpatient phase)
ระยะที่ 2 คือ ระยะที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลในช่วงแรก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการฝึกประมาณ 8-12 ผู้ป่วยต้องการการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
วัตถุประสงค์
1.เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยการให้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
2.เพิ่มความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
3.เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายที่ดี โดยเร็วอันจะเป็นการทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น
4.เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจในขบวนการการฟื้นฟู ซึ่งเน้นที่การเข้าใจและลดปัจจัยเสี่ยง
5.เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวรับทราบถึงบทบาทในการร่วมรักษาผู้ป่วย
วิธีการ
ในระยะที่2 เป็นโปรแกรมที่มีการควบคุมติดตาม (monitoring) ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ได้แก่ วัดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ก่อนและหลังการออกกำลังกาย โดยทั่วไประยะนี้ใช้เวลา 8-12 สัปดาห์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสมรรถภาพเพิ่มขึ้น และมีข้อบ่งชี้ในการเข้าระยะที่ 3 ผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมระยะที่ 3 ได้เลย
การออกกำลังกาย
รูปแบบ (mode)
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) คือ การออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง อาทิเช่น การเดินทางราบ การเดินบนสายพาน การปั่นจักรยานมือหรือแขน เป็นต้น สำหรับการออกกำลังกายที่ใช้แขนหรือมีการเคลื่อนไหวของทรวงอก จะเริ่มได้ภายหลัง 4-6 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วย post-MI, post-PCI และภายหลัง 8 สัปดาห์สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดหัวใจ
การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (resistance exercise or weight training)ได้แก่ dumbbell ระยะนี้ให้เริ่มจากน้ำหนัก 1 กิโลกรัมก่อน (หรือน้ำหนักน้อยที่สุดที่มี)
ความถี่ (frequency)
ในการออกกำลังแบบแอโรบิคควรออกอย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ 15-45 นาทีRPE 12-13
การปรับเพิ่มการออกกำลังกาย (Progression)
ในระยะแรกของการออกกำลังกายให้เริ่มจาก intensity น้อยๆ และปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายโดยเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายให้ครบตามที่กำหนด เช่น เดินนานขึ้นจนครบ แล้วจึงค่อยเพิ่มความหนักเบาในการออกกำลังกาย (intensity) เช่น เดินเร็วขึ้น เป็นต้น
สถานที่ | ขั้นตอน | การฝึกกิจกรรม | การออกกำลังกาย | งานบ้านและงานอดิเรก |
บ้าน | 6 METs | ปั่นจักรยาน 16 กม. ต่อ ชม.
ออกกำลังกายแบบ แอโรบิคและ แรงต้าน |
-เต้นแอโรบิกบัลเล่ย์หรือลีลาศจังหวะเร็ว
– พิลาเต้ – เบสบอล – เทนนิสคู่ |
การฟื้นฟูสภาพหัวใจในระยะที่ 3 (phase 3) “ระยะต่อเนื่อง”
ระยะที่ให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องการการติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นระยะที่ 2
ผู้ป่วยแบบใด สามารถอยู่ในระยะนี้ได้?
- ผ่านการเข้าโปรแกรมฟื้นฟูระยะที่ 2 แล้ว อย่างน้อย 6 ครั้ง
- การออกกำลังกายในระยะที่ 2 สามารถออกกำลังกายได้มากกว่าหรือเท่ากับ 5 METs
- มีความเข้าใจและสามารถออกกำลังกายตามโปรแกรมได้ด้วยความเหมาะสมและปลอดภัย และสามารถจับชีพจรของตนเองได้อย่างแม่นยำ
วิธีการ
การออกกำลังกายแบบ resistance exercise หรือการยก dumbbell โดยใช้หลักการ 1 repetition maximum (น้ำหนักมากที่สุดที่ผู้ป่วยสามารถยกได้ 1 ครั้ง) หรือ 90% repetition maximumโดยให้ผู้ป่วยลองยกน้ำหนักจากจำนวนน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้น้ำหนักที่ผู้ป่วยสามารถยกได้ 2-3 ครั้ง
ระยะเวลาในการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายชุดละ 12-15 ครั้ง ทำ 2 ชุด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง RPE 12-16
ข้อบ่งชี้ในการสิ้นสุดระยะที่ 3
- ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมระยะที่ 3 เป็นเวลา 3-6 เดือน และแพทย์วินิจฉันแล้วว่า ผู้ป่วยสามารถออกจากระยะที่ 3 ได้
- สามารถออกกำลังกายได้อย่างน้อย 8 METs และไม่มีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหนาอกเมื่ออกกำลังกาย ใน intensity ปานกลาง
- สามารถออกกำลังกายที่บ้านด้วยตนเองอย่างปลอดภัย
- มีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
สถานที่ | ขั้นตอน | การฝึกกิจกรรม | การออกกำลังกาย | งานบ้านและงานอดิเรก |
บ้าน | 7 METs | ปั่นจักรยาน 19.2 กม. ต่อ ชม.
ออกกำลังกายแบบ แอโรบิคและ แรงต้าน |
– ว่ายน้ำท่ากรรเชียง
– ปีนเข่า ไม่มีสัมภาระ – เต้นจังหวะเร็ว – เล่นฟุตบอล(ซ้อม) |
|
บ้าน | 8 METs | เดินด้วยความเร็ว 8 กม. ต่อ ชม.
ปั่นจักรยานด้วยความเร็ว 20.8 กม. ต่อ ชม. |
– ปีนเขา สัมภาระหนัก 5 กิโลกรัม
– ฮอกกี้ สนาม/น้ำแข็ง – กระโดดเชือก – เทนนิสเดี่ยว |
ระยะที่ 4 ระยะคงสภาพ
ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายเพื่อรักษาสภาพความแข็งแรงของหัวใจได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย และออกกำลังกายแบบ แอโรบิคและแบบแรงต้าน
ความถี่ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์
ระยะเวลา 30-60 นาที RPE 12-16
ตารางแสดงระดับความเหนื่อย RPE (rate of perceived exertion)
6 | รู้สึกเหนื่อยเหมือนกับนั่งเล่นเฉยๆ |
7 | |
8 | |
9 | เริ่มรู้สึกเหนื่อยเล็กน้อย แต่สามารถคุยได้ปกติ |
10 | |
11 | รู้สึกเหนื่อยมาก แต่ยังทนได้ ไม่มีอาการใจสั่น พูดสื่อสารได้ |
12 | |
13 | รู้สึกเหนื่อย หายใจเร็ว ต้องหยุดพัก พุดได้เป็นคำๆ |
14 | |
15 | รู้สึกเหนื่อยตนหอบ พูดไม่ไหว ในสั่น/ต้องหยุดพัก |
16 | |
17 | รู้สึกเหนื่อยมาก หายใจไม่ทัน รุ้สึกหัวใจเต้นเร็ว |
18 | |
19 | รุ้สึกเหนื่อยมาก หายใจหอบลึก ใจสั่นมาก อ่อนเพลียมาก ไม่มีแรงต้องนอนพัก |
20 |
ตารางแสดงการบันทึกโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านของ
ชื่อ-สกุล ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..
สัปดาห์ที่ | วันที่ | วิธีการออกกำลังกาย | เวลา (นาที) | RPE | หมายเหตุ |
>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.firstphysioclinics.com
>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)
>> > LINE ID: 0852644994
>>> TEL. 085-264-4994
More