All Posts tagged Cold Pack

ตอนที่173: Cold Therapy

ตอนที่173: Cold Therapy

Cold Therapy

Basic Principle

การรักษาด้วยความเย็น(cryotherapy) หมายถึง การรักษาโดยการใช้ความเย็นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือทั่วร่างกาย โดยการรักษาด้วยความเย็นนี้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน   โดยผลในการบำบัดรักษานั้นยังได้รับความสนใจในการศึกษาถึงประสิทธิผลต่อการบาดเจ็บในรูปแบบต่างๆ ในทางกายภาพบำบัด ผลทางสรีรวิทยาในการรักษาด้วยความเย็นที่ชัดเจน ได้แก่ ผลต่อการลดการอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ ช่วยในการลดปวดบวมและผลในการห้ามเลือด

ความเย็น

สามารถรับกระแสประสาทโดยผ่านทั้ง Aδ และ C fiber  โดยอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส         จะมีการส่งสัญญาณแปลผลที่สมองให้รับรู้ว่าเป็นความปวดโดยผ่านตัวรับความรู้สึก คือ ANKTMI              receptors

Technique

  1. Ice massage วิธีนี้คือการใช้ก้อนน้ำแข็งหรือน้ำแข็งป่นห่อด้วยผ้าลูบหรือถูบนพื้นที่ที่เราจะรักษา โดยลูบตามทิศเดียวกับการนวดด้วยมือ การนวดนั้นไม่ควรค้างที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานานกว่า 2-3 นาที เพราะอาจทำให้ผิวหนังได้รับอันตรายได้ ข้อดีของวิธีนี้ คือ เตรียมง่ายและราคาถูก ข้อเสีย คือ เปียกเลอะเทอะ และผู้ถูกรักษาอาจทนความเย็นได้ไม่นานนัก
  2. Refreezable cold pack คือแผ่นเย็นที่บรรจุเจล วิธีใช้ควรแช่แผ่นเย็นก่อนใช้งานในครั้งแรก 24 ชั่วโมง และ 30 นาที ก่อนใช้งานครั้งถัดไป ขณะใช้หากแผ่นเย็นมีความเย็นจัดควรมีปลอกคลุมหรือผ้ารองก่อนวาง วางเป็นระยะเวลานานประมาณ 10-15 นาที ข้อดี เตรียมง่าย ใช้ง่าย ถูก ข้อเสีย คือ ความเย็นลดลงเร็ว
  3. Ice towel วิธีใช้ คือ จุ่มผ้าขนหนูลงถังน้ำแข็งแล้ววางบริเวณที่ต้องการประมาณ 10-15 นาที เปลี่ยนผ้าใหม่ทุกๆ 2-3 นาที ข้อดี เตรียมง่าย ใช้ง่าย เหมาะกับงานกีฬา ข้อเสีย ความเย็นลดลงเร็ว เปียกเลอะเทอะ
  4. Cold baths or ice-water whirlpool คือการแช่ส่วนที่ต้องการ เช่น แขน ข ลงในถัง กะละมังที่ใส่น้ำเย็นแช่นานประมาณ 10-20 นาที ข้อดี เตรียมง่าย รักษาเองได้ที่บ้าน ข้อเสีย ความเย็นลดลงเร็ว
  5. Ice pack วิธีการทำ คือ ผสมน้ำเปล่ากับน้ำแข็งในอัตราส่วน 1:1 ใส่ถุงมัดปากวางบนบริเวณที่ต้องการ ประมาณ 10-20 นาที ข้อดี เตรียมง่าย ทำเองที่บ้านได้ สามารถทำในบริเวณกว้างกว่า ข้อเสีย ความเย็นลดลงเร็ว
  6. Vapocoolant spray  spray  มีส่วนผสมของสารที่ให้ความเย็น เช่น Ethyl chloride หรือ Fluori Methane การรักษาด้วยเทคนิคนี้จะทำให้ผิวหนังที่ได้รับการรักษามีความเย็นจัด แต่ไม่ส่งผ่านลงไปใต้ผิวหนังมากหนัก ขณะรักษาบริเวณที่จะรักษาต้องไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม และควรระมัดระวัง อย่าฉีดใกล้ตัว ใกล้ผิวหนังมากไป หรือฉีดในปริมาณที่มากเกินไป ระยะควรห่างจากผิวหนังประมาณ 30 หรือ 18 นิ้ว ที่มุมเฉียง 30 องศา ฉีดด้วยความเร็ว 4 นิ้วต่อวินาทีและไม่ควรฉีดนานเกิน 6 วินาที ถ้าบริเวณที่ทำได้รับการฉีดเกิดน้ำแข็งเกาะ ควรนวดออกเบาๆ การรักษาด้วยวิธีนี้ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อขณะทำการรักษาร่วมด้วยวิธีนี้สามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วจึงเป็นที่นิยมมาใช้ในการรักษา ข้อดี ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ข้อเสีย ที่ผิวได้รับความเย็นเป็นหลัก,ความเย็นลดลงเร็วและราคาแพง
  7. การลูบด้วยความเย็นอย่างเร็ว (Quick icing) เป็นวีธีที่ใช้น้ำแข็งตีหรือตบอย่างเร็วประมาณ 3-5 ครั้ง ตามแนวกล้ามเนื้อที่ต้องการกระตุ้นเกิดผล 24-72 นาที ข้อดีข้อเสียคล้าย spray
  8. ถั่วแช่แข็ง (Frozen peas) หลักการคล้ายการใช้แผ่นเย็น แช่ตู้เย็นแล้วนำมาประคบ 10-20 นาที
  9. Cold gel เจลหรือยาถูนวดสูตรเจลที่มีส่วนผสมของสารให้ความเย็น เช่น Ethanol และ Menthol (active cold-forming agents) ขณะทำการรักษาควรนวดร่วมด้วยเพื่อให้ความเย็นผ่านชั้นผิวหนังได้ดีกว่าการทาเพียงอย่างเดียว ข้อดี ใช้งานง่าย ข้อเสีย แพงและความเย็นลดลงเร็ว
  10. เฝือกบรรจุอากาศเย็น (Inflatable splints) โดยเทคนิคอาศัยการเติมอากาศหรือก๊าซที่มีความเย็นลงไปในเฝือกเพื่อทำให้ส่วนที่ทำการรักษามีแรงบีบรัดเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวร่วมกับมีผลของความเย็นในการรักษาร่วมด้วย โดยอุปกรณ์นี้มีราคาค่อนข้างสูงมากแต่ให้ความเย็นได้ทั่วถึง
  11. ปลอกสวมให้ความเย็น(Controlled-cold compression units) เครื่องมือนี้ประกอบด้วยถังซึ่งใช้บรรจุน้ำเย็นท่าลำเลียงน้ำและปลอกสวม (cuff) สัมผัสกับส่วนที่ต้องการรักษา น้ำเย็นที่ใช้มีอุณหภูมิประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส บรรจุลงในถังโดยขณะทำการรักษานั้น น้ำเย็นจะไหลลงมาขังอยู่ในปลอกที่สวมหรือสัมผัสกับส่วนที่ทำการรักษาโดยน้ำสามารถทำการเปลี่ยนได้หลายครั้งโดยการระบายน้ำที่ใช้แล้วออกไปแล้วทำการเติมน้ำเย็นชุดใหม่ลงไปในถังโดยการรักษาโดยวิธีนี้ทำให้เนื้อเยื่อที่ได้รับการรักษามีอุณหภูมิลดลงใกล้เคียงกับการใช้แผ่นเย็น หากแต่การรักษานี้จะมีผลของการบีบรัด(compression) ข้อดี ได้ผลของความเย็นและแรงบีบรวมกัน เลือกอุณหภูมิที่จะใช้ในการรักษาได้,รักษานักกีฬาข้างสนามได้ ข้อเสีย เตรียมยาก
  12. เครื่อง cryotherapy เป็นครื่องมือที่พ่นลมเย็นออกมา โดยส่วนที่ทำการรักษาไม่ต้องสัมผัสกับตัวเครื่อง ผู้รับการรักษาอยู่ในท่าทางที่ผ่อนคลาย เครื่องมือนี้ใช้เพื่อทำให้บริเวณที่ต้องการรักษาชาก่อนการรักษาด้วยเลเซอร์หรือshock wave therapy ตามมา ซึ่งอาจนำเครื่องมือนี้มาใช้เพียงเครื่องเดียวเพื่อลดปวดได้

ข้อดี ไม่ต้องสัมผัสอุปกรณ์และเลือกอุณหภูมิที่ใช้รักษาได้ ข้อเสีย แพงและเป็นความเย็นแห้ง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาด้วยความเย็น

  1. ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างอุปกรณ์นั้นๆกับบริเวณที่ทำการรักษา
  2. ระยะเวลาในการทำการรักษา
  3. ความสามารถในการนำความเย็นที่แตกต่างกันของเนื้อเยื่อที่ต่างชนิด
  4. เทคนิค อุปกรณ์ หรือวิธีการรักษา

 

โดยการเลือกใช้เครื่องมือที่ให้ความเย็นนั้นควรพิจารณาถึง

  1. พื้นที่ที่ทำการรักษา เป็นส่วนของลำตัว หรือแขน ขา
  2. เป็นความเย็นแห้งหรือชื้น
  3. ความสะดวกในการเลือกใช้
  4. ผลการรักษาที่ต้องการ

 

Physiological effect ผลทางสรีรวิทยา
-2.2 ผิวหนังเย็นแข็ง
-1.9 ปวดหรือบวมภายใน 4-7 นาที
5 เกิด paralysis ของเส้นประสาทส่วนปลาย
9 ลดความเร็วของการนำกระแสประสาท
10 แดงหรือบวมใน 1 ชั่วโมง
0-20 ช่วงวิกฤต
23 เส้นประสาทส่วนปลายลดการทำงานอย่างเด่นชัด

 

  1. Pain relief เนื่องจาก

– ความเย็นช่วยลดความเร็วการนำกระแสประสาทที่นำความรู้สึกปวด(C fiber)

– ความเย็นช่วยลด activity ของ free nerve ending

– ความเย็นช่วยเพิ่ม pain threshord

– cold sensation ถูกกระตุ้นผ่านทาง pain sensation (pain gatertheory)

  1. muscle tone

การประคบด้วยความเย็นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 นาที จะส่งผลต่อ 1)ความไวของ muscle spindle (muscle spindle sensitivity) ลดลง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงที่บริเวณที่รับความรู้สึกในประสาทส่วนกลาง (sensory terminal) และมีผลทำให้ firing rate ของ Ia afferents 2)ร่วมกับการนำกระแสประสาทที่ช้าลงทั้งในกล้ามเนื้อและเส้นปรสาทยนต์ (motor nerves)และ 3)การทำงาน α และ Y efferents ที่ลดลง

เหตุผลที่กล้ามเนื้อลดความตึงตัว(tone)หรือการเกร็งตัว (spasticity) ลงเพราะรีเฟล็กซ์จากผิวหนังที่เย็นไปยับยั้งตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการตื่นตัว           (excitatory stimuli)ที่อยู่ใน anterior horns ของไขสันหลัง

ด้วยกลไกทั้งหมดนี้จึงทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงขณะและภายหลัง การประคบด้วยความเย็น 1- 1 ½       ชั่วโมง นักกายภาพบำบัดจะได้ประโยชน์จากการที่กล้ามเนื้อบริเวณที่ได้ความเย็นอ่อนตัวลงเพื่อการออกกำลังกายที่ง่ายขึ้น ในผู้ที่มีกล้ามเนื้อเกร็งตัวมาก(spasticity) แต่การกระตุ้นด้วยเวลาสั้นๆ โดยการนวดด้วยน้ำแข็ง(ice massage) กลับทำให้เกิดการตื้นตัวแล้วมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเพราะเกิดจากการที่ excitability ของα motor neurons เพิ่มขึ้นอย่างทันทีในช่วงแรกแต่ผลดังกล่าวอยู่ได้ไม่นาน

  1. ประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ (muscle performance)

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะลดลงภายหลังการแช่ในน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อาจเนื่องมาจากความหนืดของเนื้อเยื่อที่เพิ่มขึ้นและเมตาบอลิซึมที่ลดลง จึงเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อลดลงชั่วขณะแต่จากการทดลองพบว่าภายหลังการให้ความเย็นไปแล้ว 1 ชั่วโมง ความแข็งแรงกลับเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเริ่มต้นเล็กน้อยความคล่องแคล่วโดนประเมินจากการทดสอบการเกร็งของกล้ามเนื้อร่วมกัน(cocontraction test) การวิ่งและคะแนนความคล่องแคล่วพบว่าภายหลังการแช่น้ำเย็นที่ 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที ความคล่องแคล่วลดลง

 

 

 

  1. การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ (Tissue Healing)

การซ่อมแซมเนื้อเยื่อจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญและเด่นชัด ในการรักษาด้วยความเย็นโดยผลดังกล่าวเกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ลดลงอย่างมากทำให้ความต้องการปัจจัยต่างๆลดลงจึงง่ายต่อการควบคุมและการซ่อมแซมต่อไป

การให้ความเย็นมีห้ามเลือดและลดบวมได้ดีและทำให้อาการปวดและการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ(spasm) ลดลง การลดบวมเป็นผลมาจากหดตัวของหลอดเลือดอย่างฉับพลัน(immediate vasoconstriction) ซึ่งจะทำให้การไหลเวียนเลือดในบริเวณนั้นลดลง จึงเป็นเหตุให้ลดการเคลื่อนที่ของสารน้ำภายในบริเวณดังกล่าวออกสู่ภายนอก (interstitium)

การหดตัวของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นนาน 10-15 นาที จะตามมาด้วยวงจรของการขยายตัวของหลอดเลือดที่เหนี่ยวนำจากการใช้ความเย็น (cold-induced vasodilation CIVD) หรือเรียกว่า hunting reaction ทำให้บริเวณที่ได้รับความเย็น เช่น มือ แขน เท้า เป็นต้น เป็นสีแดง เนื่องจากขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งนักกายภาพบำบัดพึงระวังการบวมที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้ความเย็นเนื่องจากอาจมีสาเหตุมาจาก CIVD หรืออาจจะเกิดจากระบบไหลเวียนน้ำเหลืองได้รับบาดเจ็บ(thermal injury of lymphatic system) จากอุณหภูมิที่ใช้ก็ได้

  1. ผลทั้งระบบ (systemic Effects)

การที่หลอดเลือดที่ผิวหนังหดตัวทั่วทั้งร่างกายนั้นจะทำให้ร่างกายเกิดการเติมสนองทั้งระบบ โดยจะทำให้เลือดมีความหนืดมากขึ้นและการที่ความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้นนี้ จะทำให้แรงต้านทานส่วนปลายเพิ่มขึ้นมีผลทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นที่เห็นชัดคือความดันเลือดแดง(arterial blood pressure) เพิ่มขึ้น ร่วมกับการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อซึ่งอยู่เหนือการควบคุม(involuntary increase in muscle tone) จึงทำให้เกิดการสั่นทั่วร่างกายและการสัมผัสความเย็นจัดเป็นเวลานานนั้น จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งโดยเฉพาะที่บริเวณระยางค์(แขน ขา) ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดอันตรายในบริเวณดังกล่าวในทางอ้อมได้ จากการได้รับความเย็นที่มากเกินไป(non-freezing cold injury)

การสัมผัสความเย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส อาจจะทำให้เกิดภาวะอัมพาตชั่วคราวของประสาทรับความรู้สึกและประสาทยนต์(sensory and motor paralysis) ของเส้นประสาทในบริเวณนั้นๆได้โดยภาวะ hypothermia จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิแกนกลางของร่างกายลดต่ำลงกว่า 35 องศาเซลเซียส ซึ่งจะรบกวนการทำงานของสมองและหัวใจและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

Indication 

การใช้ความเย็นในการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใน 6 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บนั้นการรักษาด้วยความเย็นจะส่งผลต่อการลดบวม ลดการอักเสบ และช่วยลดปวด ความเย็นยังช่วยในการลดอัตราเมตาบิลิซึมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเพราะมีผลป้องกันไม่ให้เซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงตายเนื่องจากการขาดออกซิเจนเนื่องจากบวมซึ่งเป็นผลปิดกั้นการลำเลียงออกซิเจนในเลือดผ่านหลอดเลือด โดยผลในการลดอัตราเมตาบอลิซึมนี้ทำให้เซลล์สามารถอยู่ได้ในอัตราเมตาบอลิซึมที่ต่ำโดยการชะลอกิจกรรมต่างๆภายในเซลล์การประคบด้วยความเย็นยังมีผลต่อการลดความเร็วในการนำกระแสประสาทและการส่งผ่านสัญญาณประสาท

 

Precaution

–  ไม่ควรทำการรักษากับผู้ที่ไวต่อความเย็น

–  ไม่ควรใช้ในบริเวณที่มีการไหลเวียนของเลือดน้อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน,     โรคหลอดเลือดส่วนปลายผิดปกติหรือความดันโลหิตสูง

–  ควรระวังในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการปรับสมดุลอุณหภูมิร่างกาย

  

Contraindication 

–  ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคแพ้ความเย็น(specific cold-sensitivity) ดังต่อไปนี้

  1. cold urticaria จะมีอาการแดง บวม เป็นผดผื่นในบริเวณที่ได้รับความเย็น
  2. cryoglobulinemia เมื่อได้รับความเย็นจะทำให้โปรตีนในเลือดจับตัวกลายเป็นเจลซึ่งจะอุดกั้นการไหลเวียนเลือดได้และจะทำให้เกิดการขาดเลือด(ischemia) หรือเนื้อตาย(gangrene) ในบริเวณดังกล่าวได้
  3. Raynaud’phenomenon เมื่อได้รับความเย็นจะทำให้หลอดเลือดเกิดการเกร็งตัว(vasospastic disorder)
  4. Paroxysmal cold hemoglobinuria เมื่อได้รับความเย็น จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกสลาย (lysed RBC) และจะปะปนออกมาในปัสสาวะ

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

More