All Posts tagged Coordination Training

ตอนที่181: Coordination Training

ตอนที่181: Coordination Training

Coordination Training

Coordination   คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะทำงานในเวลาหรือลำดับที่ถูกกต้อง   เพื่อให้ได้แรงที่เหมาะสมในตลอดช่วงการการเคลื่อนไหว    การเคลื่อนไหวที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย  Smooth  Accurate  Efficient

ปัญหาที่มักพบ

–  ลำดับของกล้ามเนื้อ   abnormal   saneness   รูปแบบซ้ำๆ เดิมๆ ติดในท่านั้น
–  แยกข้อออกเป็นส่วนๆ  เหมือนหุ่นยนต์   เกร็งแข็ง
–  Tilting  problems  เริ่มต้นการเคลื่อนไหวไม่มีแรงมาก    ขาด  ROM      ไม่มีแรงจูงใจจะทำ
Trunk  on stable   ขณะเคลื่อนไหว  ช้า    จบการเคลื่อนไหว  พลาดเป้า   ไม่สามารถกะแรงได้พอเหมาะ
ไม่มีการหยุด   กะระยะผิด

Frenkle’s   exercise

วัตถุประสงค์   เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ  ที่สามารถบังคับได้ภายใต้กลไกการรับรู้ของระบบประสาทที่เหลืออยู่  เช่น  ใช้ตาดู  หูฟังและการสัมผัส   เพื่อทดแทนการรับรู้ของข้อต่อที่สูญเสียไป  โดยการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องแม่นยำภายใต้การให้จังหวะด้วยการนับช้าๆ  เมื่อทำได้ถูกต้องแล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่าทางที่ยากขึ้น   และหลังจากการฝึก   ผู้ป่วยต้องสามารถบังคับการเคลื่อนไหวในขณะทำกิจกรรมต่างๆ  ได้อย่างอิสระ

 181

หลักการ

  1. ผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าหลวม ไม่ใส่รองเท้าหรือถุงเท้า   อยู่บนพื้นที่เรียนแข็งพอสมควร   ไม่มีแรงเสียดทานที่
    ทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก   ศีรษะยกสูงพอที่จะมองเห็นการเคลื่อนไหวของขาทั้งสองข้าง
    2.  คำสั่งนักกายภาพบำบัด  ควรสั้น  กระชับ  เข้าใจง่าย  เสียงพูดสม่ำเสมอ  มีการนับให้จังหวะ   หรืออาจใช้
    เสียงตนตรีเบา ๆ
    3.  ท่าออกกำลังกาย   ในแต่ละท่า   ผู้ป่วยควรทำได้อย่างถูกต้อง  คือ  ราบเรียบไม่สั่นหรือกระตุกและถูกต้อง
    ตามเป้าหมาย   จึงจะเปลี่ยนไปทำท่าต่อไป
    4.  ความก้าวหน้าของท่าออกกำลังกาย   เมื่อทำท่าง่ายๆ ได้  ให้เพิ่มความซับซ้อนของท่า   โดยไม่ใช้การเพิ่ม
    น้ำหนักหรือเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
    5.  ช่วงการเคลื่อนไหว   การเคลื่อนไหวในช่วงกว้างหรือเต็มช่วงการเคลื่อนไหว   จะทำได้ง่ายกว่าการ
    เคลื่อนไหวในช่วงแคบ   ที่ต้องการบังคับกล้ามเนื้อในการทำงานมากกว่า   แต่ระวังการเคลื่อนไหวไม่ให้
    เกินช่วงการเคลื่อนไหวเพราะอาจทำให้เกิดการเลื่อนหลุดของข้อต่อได้
    6.  ลักษณะการเคลื่อนไหว   การเคลื่อนไหวเร็วจะทำได้ดีกว่าการเคลื่อนไหวช้า   เพราะว่าการเคลื่อนไหวช้า
    ต้องการการควบคุมมากกว่า
    7.  การหลับตา  ลืมตา  การมองเห็นจะช่วยให้เคลื่อนไหวได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
    8.  การควบคุมดูแลผู้ป่วย   ควรดูแลอย่างใกล้ชิด   เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขณะฝึกขึ้นได้
    9.  ช่วงพัก   ควรหยุดพักเป็นระยะๆ
    10.  การวางแผนการรักษา   ต้องพิจารณาถึงสภาพทั่วไปของผู้ป่วย    ความสนใจในการฝึกของผู้ป่วย   และ
    มีการจดบันทึกความก้าวหน้าในการรักษาทุกครั้ง
    11.  ท่าเตรียม   เลือกท่าที่เหมาะสมกับผู้ป่วย  อาจเริ่มจากท่านอนหงายไปนั่งและยืนตามลำดับ

ท่าออกกำลังกายแบบ  Frenkle

181 1

การออกกำลังกายในท่านอนหงาย

ผู้ป่วยไม่ใส่ถุงเท้าและไม่มีผ้าคลุมส่วนที่เคลื่อนไหว

ท่าออกกำลังกายชุดที่  1

ท่าออกกำลังกายต่อไปนี้ให้ทำช้าๆ  ท่าละ 3-4 ครั้งจึงเปลี่ยนสลับขา   นักกายภาพบำบัดให้จังหวะนับ  1-4  ในท่าออกกำลังกายท่าหนึ่งๆ  เมื่อผู้ป่วยทำได้คล่องแคล่วแล้ว   ให้ฝึกหัดทำพร้อมกันทั้งสองข้าง
1.  ขาซ้าย  ขวา  ข้อสะโพกและข้อเข่างอมากที่สุด   ส้นเท้าแตะพื้นตลอดเวลา   เหยียดขาออก
2.  กางขา  หุบขา  (  ข้อเข่าเหยียดตรง  )
3.  งอข้อสะโพก   ข้อเข่ามาเพียงครึ่งทาง   เหยียดออก
4.  ยกขาเอาส้นเท้าไปแตะบนเครื่องหมายหรือมือของนักกายภาพบำบัดที่อยู่ในจุดต่างๆ
5.  งอข้อสะโพกและข้อเข่า   กางขาออก   หุบขาเข้า   เหยียดขาออก
6.  งอข้อสะโพกและข้อเข่า   ให้ผู้ป่วยหยุดตามตำแหน่งต่างๆ  ที่ผู้ป่วยต้องการ
7.  เหมือนข้อ  6  แต่หยุดตามคำสั่งของนักกายภาพบำบัด
อาจปรับเปลี่ยนท่าให้ยากขึ้น  เช่น   ให้ส้นเท้าลอยพ้นพื้นเล็กน้อย   หรือเพิ่มท่าให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น

การออกกำลังกายในท่านั่ง

181 2

เริ่มจากการนั่งเก้าอี้มีพนักพิงเก้าอี้และไม่มีพนักพิง   เพื่อให้ผู้ป่วยฝึกหัดนั่ง   ลุกขึ้นยืนและนั่งลงอีกครั้งอย่างถูกต้อง   สำหรับท่าออกกำลังกายนี้   ควรแบ่งช่วงการเคลื่อนไหวและให้จังหวะแก่ผู้ป่วยจะช่วยให้ทำได้ง่ายขึ้น

  1. ฝึกหัดลุกขึ้นยืน จากท่านั่งเก้าอี้   แบ่งเป็นการเคลื่อนไหว  3  จังหวะ
    จังหวะที่  1  เคลื่อนเท่าเข้ามาได้เก้าอี้
    จังหวะที่  2  โน้มตัวไปข้างหน้า
    จังหวะที่  3  ลุกขึ้น   โดยเหยียดข้อสะโพกข้อเข่าให้ตรง  ยืนขึ้น
    อาจใช้ราว   ข้างฝาผนังช่วยในการพยุงลุกขึ้นยืนก่อน   เมื่อทำได้ดีแล้ว   จึงให้ลุกขึ้นเองโดยไม่มีราวจับ
    2.   ฝึกเคลื่อนไหวขาในท่านั่ง
    ท่าที่  1  ฝึกนั่งทรงตัวในท่าที่ถูกต้องเป็นเวลา  2  นาที  อาจเริ่มจากเก้าอี้มีพนัก   เมื่อทำได้ดีจึงเปลี่ยนเป็น
          เก้าอี้ไม่มีพนัก
          ท่าที่  2  ฝึกนั่งหันหน้าเข้าหาราวฝาผนัง   ยกเท้าไปแตะบนราวขั้นที่  2  จากพื้น
          ท่าที่  3  นั่งบนเก้าอี้   เอาส้นเท้าไปแตะบนเครื่องหมายที่อยู่ตรงหน้าทีละข้าง   เมื่อทำได้ดีแล้ว   จึงทำ
          สองข้างพร้อมกัน

การออกกำลังกานในท่ายืน

                       181 3

เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยเรียนรู้ลำดับขั้นในการยืนและเดินที่ถูกต้อง   ควรฝึกในสถานที่ที่ค่อนข้างกว้าง

ท่าที่  1  ฝึกการทรงตัวในท่ายืน
ท่าที่  2  ฝึกเดิน   เริ่มฝึกเดินตามรอยเท้าที่เตรียมไว้ก่อน   ให้ผู้ป่วยมองรอยเท้าและเดินตาม    เมื่อทำได้ดีแล้วให้ก้าวเดินโดยไม่ต้องมองพื้น   จากนั้นฝึกก้าวไปในทิศทางต่างๆ  ในระยะก้าว
ท่าที่  3  ฝึกหมุนตัวโดยเดินตามรอยเท้าที่นักกายภาพบำบัดให้จังหวะในการเปิดส้นเท้าและก้าวเดิน
อย่าให้ติดต่อกันนานๆ  ผู้ป่วยอาจจะเวียนศีรษะได้

181 4

ข้อควรระวัง
1.  อย่าเคลื่อนไหวเกินองศาการเคลื่อนไหว   เพราะจะทำให้ข้อต่อเลื่อนหลุดได้
2.  นักกายภาพบำบัดควรฝึกผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด   ตลอดการฝึก   ระวังผู้ป่วยล้ม
3.  นักกายภาพบำบัดต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยฝึกในท่านั้นๆ  ได้อย่างถูกต้องและดีแล้วจึงจะเปลี่ยนไปใน
ท่าต่อไป
4.  มีช่วงพักระหว่างการฝึก   เมื่อพบว่าผู้ป่วยเหนื่อยหรือไม่มีสมาธิในการฝึก

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: @firstphysio

>>> TEL. 085-264-4994

More