ตอนที่125: Dysphagia
การฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดในผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก
ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(cerebrovascular accident) ร้อยละ 28-45 จะมีภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) ร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยต้องรับอาหารทาง สายยาง ซึ่งเป็นภาระของญาติในการจัดหาอาหาร พิเศษ ผู้ป่วยเองก็ขาดโอกาสในการรับรสอร่อยของ อาหาร นอกจากนั้นในบางรายที่ไม่ต้องใช้ยา อาจทำให้ เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา ได้แก่ ภาวะขาด อาหาร ภาวะขาดน้ำ ภาวะการสำลักอาหารเข้าปอด แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อ(aspiration pneumonia) ถ้าให้ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านการกลืน ปัญหาและภาระทั้งตัวผู้ป่วยและ ครอบครัวก็จะลดลง
การรักษาทางด้านกิจกรรมบำบัด
-
การจัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม
-
จัดท่าผู้ป่วยในท่านั่ง เข่างอ 90 องศา เท้าวางราบกับพื้น หลังตรง ศีรษะอยู่กึ่งกลางก้มเล็กน้อย
-
หากผู้ป่วยนอนบนเตียงควรจัดท่าให้มีศีรษะตั้งตรงมากที่สุดอาจใช้หมอนรองใต้ไหล่ และต้นคอผู้ป่วย
-
การควบคุมกล้ามเนื้อริมฝีปากและลิ้น
2.1 การควบคุมริมฝีปาก
-
Quick stretch ยืดกล้ามเนื้อปากโดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางที่มุมปาก กดแรงลงแล้วปัดลง ถ้าเป็นริมฝีปากล่าง ริมฝีปากบนปัดขึ้น
-
ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างและหุบปากสลับกัน
-
ให้ผู้ป่วยยิ้ม
-
ให้ผู้ป่วยทำปากจู๋
-
ให้ผู้ป่วยเม้มปาก
-
ฝึกออกเสียง อา-อี- อู
-
การควบคุมขากรรไกร
-
-
อ้าปากค้างไว้ 5 วินาที และออกเสียง “อา” แล้วหุบปากให้ฟันกระทบกัน
-
ปิดริมฝีปากแล้วเคลื่อนขากรรไกรล่างไปด้านข้างค้างไว้ 5 วินาที (ทำสลับข้างซ้าย – ขวา)
-
การฝึกการเคลื่อนไหวลิ้น
-
-
ให้ผู้ป่วยใช้ลิ้นดันกระพุ้งแก้ม 2 ข้างสลับกัน
-
ให้ผู้ป่วยแลบลิ้น
-
ให้ผู้ป่วยฝึกออกเสียง ลา ลา ลา คา คา คา ซ้ำกันหลายๆรอบ
-
ให้ผู้ป่วยยกลิ้นแตะเหงือก แล้วให้เคลื่อนลิ้นจากด้านหน้าไปด้านหลังซ้ำๆ
-
ให้ผู้ป่วยเม้มปากแล้วพยายามดันลิ้นออกมาด้านหน้าและด้านข้าง
-
วิธีการนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ
-
-
ใช้นิ้วหัวแม่มือวางที่มุมปากของผู้ป่วย นวดในทิศทางออกจากปากโดยรอบทั้งริมฝีปากบนและริมฝีปากล่าง
-
ใช้นิ้วหัวแม่มือวางเหนือริมฝีปากบน ลูบออกจากแนวกลางปากออกไปทางด้านข้าง
-
ใช้นิ้วชีและหัวแม่มือจับบริเวณริมฝีปากบนดึงออกแล้วปล่อยให้ริมฝีปากดีดตัวกลับ
-
เริ่มฝึกการกลืนโดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายตัวเอง โดยผู้ฝึกใช้มือลูบบริเวณร่องข้างคอหอยในทิศทางขึ้นถึงใต้คางแล้วดันริมฝีปากผู้ป่วยให้ปิด แล้วบอกให้ผู้ป่วยพยายามกลืน
-
เมื่อผู้ป่วยฝึกการกลืนน้ำลายได้ดีแล้วจึงเริ่มป้อนอาหาร เริ่มจากอาหารบดหรือปั่นข้นก่อน โดยตักอาหารในปริมาณเล็กน้อย (1/3 – ½ ช้อนชา)
-
เมื่อผู้ป่วยกลืนได้ดีแล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นอาหารอ่อนข้น เช่น โจ๊ก หลังจากนั้นค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารที่หยาบขึ้นเช่น ข้าวสวย
-
หลังจากที่ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวและกลืนได้ดีแล้ว จึงให้ผู้ป่วยฝึกดื่มน้ำจากช้อน หลอดดูด และ แก้วน้ำ