ตอนที่126: Passive Chest Mobilization
การออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหวทรวงอกโดยผู้อื่น
(Passive Chest Mobilization)
-
ยืดซี่โครงด้านหน้า (Anterior Rib Cage Stretching)
- เริ่มจากให้ผู้ป่วยนอนหงาย มือกอดอกหรือประสานกันไว้ด้านหน้า
- ผู้รักษาเอาแขนตรึงที่บริเวณทรวงอกด้านล่าง (Lower Rib Cage)
- เริ่มจากให้ผู้ป่วยนอนหงาย มือกอดอกหรือประสานกันไว้ด้านหน้า
- จากนั้นผู้รักษานำอีกมือยกแขนผู้ป่วยขึ้นเหนือศีรษะในจังหวะหายใจเข้าทำค้างไว้สักครู่ โดยทำ 2 ครั้งต่อวัน
-
ยืดซี่โครงด้านข้าง (Lateral Trunk Flexion)
- เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้รักษาสอดแขนใต้หลังผู้ป่วยจับทรวงอกด้านข้าง บริเวณใต้รักแร้ด้านตรงข้ามกับผู้รักษา มืออีกข้างตรึงบริเวณทรวงอกด้านล่าง
- จากนั้นให้ผู้รักษาออกแรงดึงผู้ป่วยเข้าหาตัวเอง ให้ผู้ป่วยมีการเอียงตัว โดยทำ 2 ครั้งต่อวัน
- เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้รักษาสอดแขนใต้หลังผู้ป่วยจับทรวงอกด้านข้าง บริเวณใต้รักแร้ด้านตรงข้ามกับผู้รักษา มืออีกข้างตรึงบริเวณทรวงอกด้านล่าง
-
การบิดซี่โครง (Rib Torsion)
- เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้รักษาวางมือไว้ด้านหน้าทรวงอกผู้ป่วยเยื้องมาทางด้านข้างของกระดูกหน้าอก (sternum) มืออีกข้างวางตามแนวซี่โครง
- ขณะที่ผู้ป่วยทำการหายใจเข้าให้ผู้รักษาปล่อยมือตามการขยายตัวของผนังทรวงอก และขณะหายใจออกให้ออกแรงดันสวนทางกัน โดยให้มือที่อยู่ด้านหน้าผนังทรวงอกกดลง และมือที่อยู่ด้านข้างแนวซี่โครงยกขึ้น ให้ผู้รักษาทำสลับกัน 2 ครั้งต่อวัน
- เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้รักษาวางมือไว้ด้านหน้าทรวงอกผู้ป่วยเยื้องมาทางด้านข้างของกระดูกหน้าอก (sternum) มืออีกข้างวางตามแนวซี่โครง
-
การเคลื่อนข้อต่อ Facet และ Costovertebral
การเคลื่อนข้อต่อ Facet
- เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้รักษานำมือประคองบริเวณท้ายทอย มืออีกข้างประคองบริเวณหลังส่วนบน (ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง)
- ผู้รักษาออกแรงยกผู้ป่วยขึ้นให้อยู่ในท่างอตัว ขณะที่ผู้ป่วยหายใจออกสุด
- จากนั้นให้ผู้รักษาประคองวางผู้ป่วยนอนลงบนเตียง ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ โดยทำสลับกัน 2 ครั้งต่อวัน
-
การเคลื่อนข้อต่อ Costovertebral
- เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย นำมือประสานกันบริเวณท้ายทอย นำศอกมาชนกันบริเวณด้านหน้า ผู้รักษานำมือจับบริเวณศอกของผู้ป่วย มืออีกข้างประคองบริเวณหลังของผู้ป่วย
- ผู้รักษาออกแรงยกหลังผู้ป่วยขึ้นให้อยู่ในท่าแอ่นตัว ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่
- จากนั้นให้ผู้รักษาประคองวางผู้ป่วยนอนลงบนเตียง ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ โดยทำสลับกัน 2 ครั้งต่อวัน
-
การยืดกล้ามเนื้อคอบริเวณอื่นๆ
การยืดกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อด้านข้างทรวงอก
- เริ่มจากผู้ป่วยนอนตะแคงทับหมอน ผู้รักษานำมือจับที่บริเวณสะโพก มืออีกข้างจับแขน
- ผู้รักษาออกแรงยกแขนผู้ป่วยขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่
- จากนั้นผู้รักษาประคองแขนผู้ป่วยกลับที่เดิม ขณะที่ผู้ป่วยหายใจออกสุด โดยทำสลับกันข้างละ 2 ครั้งต่อวัน
-
การยืดกล้ามเนื้ออก
- เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายมือวางข้างลำตัว ผู้รักษาจับมือของผู้ป่วย
- ผู้รักษาออกแรงยกแขนผู้ป่วยให้ชูขึ้นเหนือศีรษะ ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่
- จากนั้นผู้รักษาประคองแขนผู้ป่วยกลับที่เดิม ขณะที่ผู้ป่วยหายใจออกสุด โดยทำสลับกัน 2 ครั้งต่อวัน
-
ข้อห้ามในการเคลื่อนไหว
ในการเคลื่อนไหวทรวงอกมีข้อห้ามในการทำหลายประการ ได้แก่
- กระดูกซี่โครงหัก (fracture) ขั้นรุนแรงและไม่มั่นคง
- มะเร็งกระดูก (cancer) และมีการแพร่กระจายทั่วไป
- กระดูกอ่อนบริเวณซี่โครงอักเสบจากเชื้อวัณโรค (tuberculous spondylitis)
- กระดูกพรุน (severe osteoporesis)
- หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน (herination)
- ภาวะปวดขั้นรุนแรง (severe pain) เป็นต้น
ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ
http:// www.firstphysioclinics.com
Line ID : 0852644994
TEL.: 085-264-4994
More