All Posts tagged Pleural Effusion

ตอนที่207: ภาวะของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด/น้ำท่วมปอด (Pleural Effusion)

ภาวะของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด/น้ำท่วมปอด 

(Pleural Effusion) 

ในช่องเยื่อหุ้มปอดปกติจะมีของเหลวอยู่ประมาณ 2-3 มิลลิลิตร ในหนึ่งวันจะมี protein-free fluid ไหลเข้ามาในช่องอก และดูดซึมกลับประมาณ 5 ถึง 10 ลิตร

สาเหตุ

          -โรคปอด เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอด ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมกับปอดอักเสบ มะเร็งปอดหรือ

มะเร็งอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มปอด

-โรคหัวใจ ได้แก่ ภาวะหัวใจวาย เลือดคั่ง

-โรคไต ได้แก่ ภาวะไตวาย กลุ่มอาหารที่มีไข่ขาวในปัสสาวะ

-โรคตับแข็ง

-โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น โรคเอสแอลอี

-โรคอื่นๆที่พบได้ไม่บ่อย เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดร่วมกับฝีบิดในตับ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

เป็นต้น

กลไกการเกิดการสะสมของของเหลวในช่องอกได้แก่

  1. increased hydrostatic pressure เช่น ภาวะหัวใจวาย (heart failure)
  2. increase capillary permeability เช่น pneumonia หรือ inflammatory pleuritis
  3. decreased plasma colloid oncotic pressure เช่น hypoalbuminemia
  4. increased intrapleural negative pressure เช่น ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
  5. impaired lymphatic drainage of the pleural space เช่น tumor, radiation, fungal disease

ของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ transudate และ exudate การแบ่งเช่นนี้มี ประโยชน์ในการวินิจฉัยหาสาเหตุ และการวางแนวทางการรักษาแก่ผู้ป่วย

1.ของเหลวชนิด transudate เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางระบบของการเกิดและการดูดซึม ของ pleural fluid เช่น การลดลงของ plasma colloid osmotic pressure ในภาวะ hypoalbuminemia , nephrotic syndrome หรือ มีการเพิ่มขึ้นของ hydrostatic pressure ในภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

2.ของเหลวชนิด exudate จะเกิดจากโรคของ pleura หรือ ทางเดินท่อน้ำเหลือง (lymphatics) เช่น bacterial pneumonia , tuberculosis (วัณโรค) หรือ เนื้องอกภายในช่องอก

อาการ

          คือ เจ็บแน่นในหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย นอกจากนี้อาจมีอาการต่างๆ ร่วมด้วยขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น อาจมีไข้ ไอเรื้อรั้ง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดข้อ ปวดท้อง บวม

กาตรวจร่างกาย

หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ปอดข้างที่เป็นเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ เคาะทึบ(dullness) และใช้เครื่องฟังตรวจจะไม่ได้ยินเสียงหายใจ ถ้าเป็นมากๆหลอดลมใหญ่จะถูกดันให้เบี้ยวไปอีกข้างหนึ่ง

การวินิจฉัยโรค

          ทำได้โดย การตรวจ X-ray และการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่ การนำ fluid ออกมาตรวจ (thoracentesis) ซึ่งรวมถึงการตรวจ cytology ด้วย การทำ pleural biopsy และ การทำ thoracoscopy

การรักษาทางการแพทย์ พิจารณาจากปัจจัย 2 ปัจจัยคือ

1.อาการ ซึ่งเกิดจากการมีของเหลวกดการขยายตัวของปอด รวมถึงการติดเชื้อซึ่งอาจเกิดขึ้นได้  และ

อาจกลายเป็น empyema หากไม่ได้รับการ รักษา

  1. 2. ลักษณะของเหลวเป็นชนิด exudate หรือ transudate ซึ่งโดยทั่วไปหากพบลักษณะของ exudate

ผู้ป่วยมักต้องได้รับการระบายของเหลวออกเนื่องจากไม่สามารถดูดซึมกลับได้เองตามกลไก ปกติ และ

มักมักมีปัญหาการติดเชื้อในที่สุด

 

 

วิธีระบายของเหลวออกจากช่องทรวงอก

  • การใช้เข็มเจาะและดูดออกโดยตรง (Thoracentesis)
  • การใส่ท่อระบายช่องทรวงอก (Thoracostomy) หรือที่เรียกกันว่าใส่ ICD (Intercostal Closed

Drainage)

ส่วนการรักษาเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นใหม่นั้นต้องพิจารณาที่สาเหตุด้วย โดยส่วนใหญ่จะพบ ปัญหาในกลุ่ม malignant pleural effusion ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ chemotherapy หรือ radiation ซึ่ง การรักษาได้แก่ การทำ Thoracostomy ร่วมกับ chemical pleurodesis หรือการทำ surgical pleurectomy

การรักษาทางกายภาพบำบัด

          1.การฝึกการหายใจ จะเน้นการขยายตัวของปอดส่วนล่าง

2.การบริหารหัวไหล่และทรวงอก เพื่อช่วยการเคลื่อนไหวของทรวงอกดีขึ้น และยังช่วยการขยายตัวของ

ปอดโดยการเร่งการซึมกลับของสารเหลว

 

 

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994ตอนที่18

 

More