All Posts tagged shoulder subluxation

 ตอนที่ 733 Shoulder subluxation คืออะไร อาการ วิธีการรักษา วิธีการป้องกัน

 ตอนที่ 733 Shoulder subluxation คืออะไร อาการ วิธีการรักษา วิธีการป้องกัน

     การเคลื่อนตัวของไหล่หรือที่เรียกว่าความคลาดเคลื่อนบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อหัวของกระดูกต้นแขน (กระดูกต้นแขน) หลุดออกจากเบ้าไหล่บางส่วน (glenoid) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยและอาจทำให้เกิดอาการปวดและไม่มั่นคงที่ข้อไหล่ได้ ต่อไปนี้เป็นข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับอาการ วิธีการรักษา และการป้องกันการลุกลามของไหล่

อาการ:

1. ปวดไหล่และไม่สบาย

2. ความรู้สึกของไหล่เลื่อนเข้าและออกจากตำแหน่ง

3. ระยะการเคลื่อนไหวที่จำกัด

4. อาการอ่อนแรงหรือความไม่มั่นคงบริเวณไหล่

5 บวมหรือช้ำบริเวณไหล่

วิธีการรักษา:

1. การพักผ่อนและการตรึงการเคลื่อนไหว: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดแย่ลงและปล่อยให้ไหล่หาย อาจแนะนำให้ตรึงด้วยสลิง

2. กายภาพบำบัด: การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อให้แข็งแรงสามารถช่วยรักษาเสถียรภาพของข้อไหล่และปรับปรุงระยะการเคลื่อนไหวได้

3. การใช้ยา: อาจใช้ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์หรือยาที่สั่งจ่ายเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดและการอักเสบ

4 การย่อขนาดด้วยตนเอง: ในบางกรณี ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอาจจำเป็นต้องนำกระดูกต้นแขนกลับเข้าไปในเบ้าด้วยตนเอง

5 การผ่าตัด: กรณีที่รุนแรงหรือภาวะซับลักซ์ซ้ำๆ อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายและทำให้ไหล่มั่นคง

วิธีการป้องกัน:

1. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง: ออกกำลังกายโดยเน้นที่กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่เป็นประจำเพื่อปรับปรุงการทรงตัว

2. เทคนิคที่เหมาะสม: ใช้ท่าทางที่ถูกต้องเมื่อเข้าร่วมกีฬาหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวไหล่ซ้ำๆ

3. วอร์มอัพและคูลดาวน์: จัดลำดับความสำคัญของการวอร์มอัพกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย และคูลดาวน์หลังจากนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บ

4 หลีกเลี่ยงการใช้งานมากเกินไป: ให้ไหล่ของคุณได้พักผ่อนอย่างเพียงพอและหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวเหนือศีรษะซ้ำๆ ซึ่งอาจทำให้ข้อต่อตึงได้

5. รักษาน้ำหนักให้แข็งแรง: การมีน้ำหนักเกินอาจทำให้ข้อไหล่เกิดความเครียดมากขึ้น ดังนั้นการรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงจะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่ไหล่ได้

More

ตอนที่187: ข้อไหล่เลื่อนหลุด (Shoulder Subluxation)

ข้อไหล่เลื่อนหลุด (Shoulder subluxation)

ข้อไหล่เคลื่อนหลุด (shoulder subluxation) ภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหมายถึงการเพิ่มขึ้นของระยะระหว่างหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) และเบ้า (glenoid fossa) ของกระดูกสะบัก ในภาวะปกติความมั่นคงของข้อไหล่ขึ้นอยู่กับการทำงานของกล้ามเนื้อ เอ็นรอบข้อไหล่และเยื่อหุ้มข้อไหล่ เมื่อเกิดภาวะอัมพาตครึ่งซีกและกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่อ่อนแรงจะทำให้ head of humerus แยกออกจากเบ้า glenoid fossa มากขึ้น ตามปกติการเกิดข้อไหล่เคลื่อนห่างออกจากกันนี้ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและช่วงการเคลื่อนไหวขณะทำ passive movement อาจเป็นปกติ แต่ภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ได้ง่ายและส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดตามมา ภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุดส่งผลให้กลไกการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เปลี่ยนแปลง น้ำหนักของแขนจะดึงยืดกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และเส้นเลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆรอบข้อไหล่จนอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บและปัญหาอื่นๆได้แก่ ข้อไหล่ติด, ข้อไหล่เจ็บ, เกิดการบาดเจ็บของ brachial’s plexus, reflex sympathetic dystrophy, adhesive changes และ subaromial impingement ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุดควรได้รับการดูแลโดยการจัดให้ข้อไหล่อยู่ในภาวะที่เนื้อเยื่อไม่ถูกดึงยืด และการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ควรทำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้อ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกลไก locking mechanism ไม่สามารถเกิดได้ตามปกติ ในภาวะปกติเบ้า glenoid fossa ของกระดูกสะบักจะวางตัวอยู่ในลักษณะ upward, forward และ laterally เพื่อรองรับ head of humerus ขณะแขนห้อยข้างลำตัวเยื่อหุ้มข้อและเอ็นข้อไหล่ทางด้านบนจะตึงส่งผลให้เกิดแรงดึงของกระดูกต้นแขนเคลื่อนต่ำลงมา กลไกดังกล่าวนี้เป็นเหมือน locking mechanism ของข้อไหล่ที่ช่วยเสริมความมั่นคงขณะห้อยแขนข้างลำตัว กล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการเกิด locking mechanism คือกล้ามเนื้อของกระดูกสะบักที่ทำให้กระดูกสะบักวางตัวอยู่ในลักษณะ neutral หรือมี upward rotation เล็กน้อย เมื่อมีการกางแขนเอ็นและเยื่อหุ้มข้อไหล่ด้านบนจะหย่อนตัวและเกิดการเคลื่อนของกระดูกสะบักและเบ้า glenoid fossa ทำให้ locking mechanism ไม่สามรถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นในขณะกางแขนความมั่นคงของข้อไหล่จึงขึ้นกับการทำงานของกล้ามเนื้อ rotator cuffs และ posterior deltoid เป็นสำคัญ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อ trapezius และ rhomboid ต่ำกว่าปกติ (flaccidity) มีการอ่อนแรงของ serratus anterior จะพบว่ามี scapular depression ร่วมกับ downward rotation ของแขนข้างอ่อนแรงขณะพักมากกว่าแขนข้างปกติ การเกิด downward rotation ในขณะทำ abduction ทำให้ locking mechanism ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ กล้ามเนื้อ deltoid และ rotator cuffs ไม่สามารถเกิด active force เสริมความมั่นคงของข้อไหล่ได้ ดังนั้นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่น่าจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดต่อการรักษาภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การใช้เครื่องช่วยพยุงข้อไหล่ ระยะที่ความตึงตัวของกล้ามเนื้อในช่วง flaccid เป็นระยะเวลาที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ถูกยืด โดยเริ่มให้การดูแลโดยเร็วภายใน 1-2 วันหลังเกิด CVA เครื่องช่วยพยุงไหล่มีรูปแบบต่างๆจำนวนมากได้แก่ Single strap hemisling, Harris hemisling, Bobath shoulder roll, Henderson shoulder ring, Cavalier support, Rolyan humeral cuff sling และ GivMohr sling นอกจากนี้การให้คำแนะนำผู้ป่วยให้จัดที่วางเพื่อรองรับแขนข้างอ่อนแรงเพื่อไม่ให้น้ำหนักแขนดึงยืดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่เป็นวิธีการจัดการเบื้องต้นที่ดี การรักษาด้วยไฟฟ้า ในปัจจุบันการรักษาที่ดีที่สุดคือการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า พบว่าการกระตุ้นไฟฟ้าช่วยป้องกันการเกิดภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุดได้ดีกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นถ้าทำในระยะแรกหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจะไม่ให้ผลในรายที่เป็นมานานแล้ว กล้ามเนื้อที่มักถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าคือ supraspinatus และ posterior deltoid

 

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

More

ตอนที่168: ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ตอนที่168: ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

1.ภาวะข้อต่อหัวไหล่เคลื่อน (Shoulder subluxation)

การบำบัดฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด

หมายเหตุ แสดงภาพผู้ป่วยอ่อนแรงซีกขวา

1.1   การจัดท่าที่เหมาะสม

ท่านอนหงาย  ควรน้าผืนเล็ก วางที่ใต้สะบักด้านที่อ่อนแรง เพื่อป้องกันสะบักจม

168

ท่านอนตะแคง  ควรนำหมอนมารองใต้แขนและมือของผู้ป่วย ไม่ให้แขนตก

168 1

ในท่านั่ง ควรจัดให้แขนของผู้ป่วยวางอยู่บนหมอนหรือโต๊ะด้านหน้าผู้ป่วย

168 2

1.2   การจับและเคลื่อนไหวแขนอย่างถูกวิธี

ควรหลีกเลี่ยงในท่าดังต่อไปนี้

  • การยกแขนผู้ป่วยโดยการจับเฉพาะที่มือผู้ป่วยและสะบักยังไม่เคลื่อนมาข้างหน้าอีกทั้งกระดูกต้นแขนยังไม่อยู่ในลักษณะหมุนออกอย่างเพียงพอ
  • การยกไหล่ผู้ป่วยในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น จากเตียงไปยังเก้าอี้หรือรถเข็นนั่ง
  • การให้ผู้ป่วยดึงรอกเหนือศีรษะโดยใช้มือข้างปกติช่วย

168 3

1.3   การออกกำลังกาย

คงไว้ซึ่งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โดยใช้แขนข้างปกติช่วยพยุงแขนข้างอัมพาตโดยทำสม่ำเสมอในแต่ละวัน

168 4

ฝึกนั่งโดยลงน้ำหนักแขนด้านอัมพาต

168 5

หลีกเลี่ยงวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การยกหรือดึงแขนผู้ป่วย การเคลื่อนไหวข้อไหล่ให้แก่ผู้ป่วยโดยขาดความระมัดระวังเป็นต้น

1.4   ควรใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น hot pack,cold pack, ultrasound ในกรณีที่ปวดไหล่

1.5   เทคนิคการนวดเพื่อลดปวด

168 6

โดยใช้ฝ่ามือคลึงเป็นวงกลมเบาๆ บริเวณหัวไหล่

1.6   ควรให้มีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อไหล่

โดยการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน หรือน้ำหนัก เช่น ยก dumbbell เริ่มจาก น้ำหนักน้อยๆก่อน

168 7

1.7   การกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ด้วยกระแสไฟฟ้า (electrical stimulation)ซึ่งนิยมทำในระยะแรกที่มีอาการอ่อนแรง

1.8   ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อไหล่ (shoulder sling) ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ต้านแรง          ดึงดูดของโลก ได้แก่ ท่านั่ง ยืน และเดิน

168 8

  1. 2. ภาวะอาการแสบร้อนร้าวแขนมาที่มือ Reflex sympathetic dystrophy

2.1   การจับและเคลื่อนไหวแขนอย่างถูกวิธี

– ไม่ควรให้ข้อมืออยู่ในลักษณะกระดกลง แต่ควรอยู่ในลักษณะกระดกข้อมือเล็กน้อย โดยอาจใช้อุปกรณ์ดามมือ (splint) ร่วมด้วย

– เคลื่อนไหวมือและข้อมือของผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล

– ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแขนและมือด้วยตนเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีการหดตัว

2.2   การออกกำลังกายเพื่อคงไว้ซึ่งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

โดยใช้มือข้างปกติยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ

168 9

งอ-เหยียดศอก

168 10

กระดกข้อมือขึ้น-ลง

168 11

2.3   การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน

โดยการให้น้ำหนักเช่น ยก dumbbell เริ่มจากน้ำหนักน้อยๆ ก่อน เป็นต้น

168 12

2.4   ควรใช้เทคนิคการนวดเพื่อลดปวด

โดยใช้ฝ่ามือคลึงเป็นวงกลมเบาๆ บริเวณหัวไหล่แขน และมือ

2.5   ควรใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น hot pack,cold pack, ultrasound ในกรณีที่ปวด

 

  1. Deconditioning (decrease cardiovascular fitness)

3.1   ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด

การปั่นจักรยาน ,การใช้เครื่องฝึกเดิน หรือ การยกน้ำหนักด้วย dumbbell หรือ ถุงทราย

 

  1. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ

4.1   โปรแกรมกายภาพบำบัดทางระบบหายใจ

การฝึกการหายใจอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

4.1.1.การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมหน้าท้อง

เริ่มจากเอามือประสานกันไว้ที่หน้าท้องใต้ลิ้นปี่ หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ให้ท้องป่อง

จากนั้นหายใจออกทางปากช้าๆ ยาวๆ ให้ท้องยุบ

168 13

4.1.2.การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครงส่วนบน

วางมือทั้ง  2 ข้างบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า หายใจเข้าทางจมูกช้าๆจนสุด ให้ทรวงอกขยับขึ้น จากนั้นหายใจออกทางปากช้าๆ ยาวๆ ให้ทรวงอกขยับกลับมาที่เดิม

168 14

4.1.3.การฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครงส่วนล่าง

วางมือทั้ง 2 ข้างบริเวณชายโครง หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ลึกๆ ให้รู้สึกว่า ชายโครงขยายออกด้านข้าง จากนั้นหายใจออกทางปากยาวๆ ให้ชายโครงยุบกลับสู่ที่เดิม

168 15

 

4.1.4 การหายใจร่วมกับการเคลื่อนไหวของทรวงอกและลำตัว

เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อรอบทรวงอก หัวไหล่และลำตัว ซึ่งจะมีผลให้หายใจได้สะดวกขึ้น โดยทำพร้อมกับการหายใจ โดยแบ่งเป็น 2 แบบ

แบบที่ 1 นั่งตัวตรง ยกแขนทั้ง2ข้างขึ้น พร้อมหายใจเข้าเต็มที่ จากนั้น หายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับค่อยๆลดแขนลง

168 9

 

5.แผลกดทับ (pressure sore)

กรณีผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนย้ายบนเตียงได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและการสูญเสียการรับความรู้สึกบนผิวหนัง

5.1 ควรจัดท่านอนอย่างเหมาะสม

การจัดท่านอน

  • ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่รับแรงกดนานเกินไป ถ้าเปลี่ยนท่านอนแล้วรอยแดงบริเวณผิวหนังไม่หายภายใน 30 นาทีอาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนท่านอนได้บ่อยขึ้น โดยมีการหมุนเวียนเปลี่ยนท่านอน เช่น นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา สลับกันไป
  • การนอนตะแคง ควรจัดให้นอนตะแคง กึ่งหงาย ใช้หมอนยาวรับตลอดแนวลำตัว รวมทั้งบริเวณข้อเข่า ข้อเท้า ควรทำให้สะโพก ทำมุม 30 องศา และใช้หมอนรองตามปุ่มกระดูก และใบหู

168 16

  • การนอนหงาย ควรมีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่า ตาตุ่มทั้ง 2 ข้าง ขา 2 ข้าง และรองใต้น่องและขาเพื่อให้เท้าลอยพ้นพื้นไม่กดที่นอน

168 17

  • การจัดท่านอนศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา แต่ถ้าจำเป็นศีรษะสูงเพื่อให้อาหาร หลังจากให้อาหาร 30 นาที – 1 ชั่วโมง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศา
  • กรณีที่นั่งรถเข็น ควรให้มีเบาะรองก้น และกระตุ้นให้เปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัว หรือยกก้นลอยพ้นพื้นที่นั่งทุก 30 นาที

168 18

 การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด

  • อุปกรณ์ลดแรงกดอยู่กับที่ เช่น ที่นอนที่ทำจาก เจลโฟม ลม น้ำ หมอน เป็นต้น
  • อุปกรณ์ลดแรงกดสลับไปมา เช่น ที่นอนลม ไฟฟ้า
 
6.ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน (Deep vein thrombosis)

เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน

6.1 ควรงดการให้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษา (แต่เริ่มการออกกำลังกายได้เมื่อควบคุมโรคได้)

6.2 ควรนอนพักและจัดให้ร่างกายส่วนที่บวมอยู่สูงกว่าระดับหัวใจในท่านอนหงาย

6.3 ใช้ผ้าพัน พันบริเวณเท้าไล่ขึ้นมาบนขา เพื่อการ compression ลดการบวม

6.4 ออกกำลังกายโดยการกระดกข้อเท้าขึ้น-ลงบ่อยครั้ง

 

 

 

>>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.firstphysioclinics.com

>>> เฟิร์สฟิสิโอคลินิกกายภาพบำบัด (FIRSTPHYSIO)

>> > LINE ID: 0852644994

>>> TEL. 085-264-4994

 

 

 

 

 

 

More