All Posts tagged splint

ตอนที่ 653 หลักการดูแล และวิธีการใช้เครื่องดาม (splint)

ตอนที่ 653 หลักการดูแล และวิธีการใช้เครื่องดาม (splint)

ตอนที่ 653 หลักการดูแล และวิธีการใช้เครื่องดาม (splint)

เครื่องดาม (splint) 

       คือ อุปกรณ์ที่ใช้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น นิ้วมือ มือ ขา
ในทางกิจกรรมบำบัด เครื่องตาม จัดเป็นวิธีหนึ่ง ของการรักษาฟื้นฟู โดยมีจุดประสงค์ในการใช้ดังนี้ 

ป้องกันจากการเกิดการบาดเจ็บ 

จัดท่าอวัยวะ 

• จำกัดการเคลื่อนไหวเพื่อให้แผลหายเร็ว 

• ลดการเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องการ
• ป้องกันกล้ามเนื้อหดรั้งและข้อยึดติด

หลักในการใช้และดูแลเครื่องตาม 

1. ควรใส่ให้กระชับ ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป 

2. ระยะเวลาในการใช้เครื่องตามขึ้นกับนักกิจกรรมบำบัด โดยทั่วไปควรถอดทุก 3 ชั่วโมงเพื่อทำการ เคลื่อนไหวหรืออกกำลัง และใส่ต่อเนื่องไม่เกิน 10-12 ชั่วโมงในตอนกลางคืน 

3.ทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำสบู่ และเช็ดตามด้วย น้ำสะอาด 

4.หลีกเลี่ยงไม่ให้เครื่องตามสัมผัสความร้อน หรืออยู่ ในอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้ผิดรูปไม่สามารถใช้ งานได้ 

5.ปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกิจกรรมบำบัดอย่าง เคร่งครัด เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการใช้งาน

More

ตอนที่ 635 การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง (Splint)

ตอนที่ 635 การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง (Splint)

ตอนที่ 635 การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง (Splint)

วัตถุประสงค์ของการใส่ splint

•อุปกรณ์ใช้ลดบวมการบาดเจ็บของอวัยวะที่บาดเจ็บ
•ทำให้กระดูกหรือข้อต่ออยู่นิ่ง

ข้อบ่งชี้ในการใส่Splint

•ผู้ป่วยกระดูกหักชนิดมั่นคง
•ข้อมือเคล็ด
•บาดเจ็บของข้อต่อและเนื้อเยื่อ
•บาดเจ็บในระยะแรก
•ปอกหุ้มเอ็นอักเสบ

ข้อเสีย ของการใส่ splint

จํากัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่บาดเจ็บได้น้อย

More

ตอนที่ 634 มือหักทำไงดี?

ตอนที่ 634 มือหักทำไงดี?

 


ตอนที่ 296
 มือหักทำไงดี?

Resting Splint.

ประโยชน์
1)เพื่อให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บได้พัก
2)เพื่อประคองข้อมือและนิ้วมือที่มีอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบ
3)เพื่อจัดท่าข้อมือและนิ้วมือให้อยู่ในท่าพักและอยู่นิ่งเพื่อเร่งเร้ากระบวนการหายของแผล

วิธีการใส่

ยืดกล้ามเนื้อบริเวณมือข้าง ที่มีอาการก่อนใส่อุปกรณ์ ใส่อุปกรณ์ตามที่บริเวณข้อมือ ตามด้วยปลายแขนส่วนล่าง และบริเวณมือและนิ้วเป็นส่วนสุดท้ายแล้วติดสายรัดให้แน่น

Functional Splint.

ประโยชน์
1)ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉุดรั้งของกล้ามเนื้อ
2)ป้องกันกล้ามเนื้ออ่อนแรงถูกยึดมากเกินไป เนื่องจากท่าไม่ถูกต้อง
3)ประคับประคองแขนหรือมือที่มีอาการปวด
4)จัดข้อมือและนิ้วมือให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง

ข้อแนะนำของการใช้เครื่องดาม

1)อุปกรณ์ดามจะจำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ
2)การใส่เป็นเวลานาน การเคลื่อนไหวของข้อต่อถูกกำจัดมากขึ้น อาจเกิดภาวะข้อติดเกิดขึ้นได้

**แนะนำให้ถอดอุปกรณ์ทุก2ชั่วโมง แล้วบริหารข้อต่างๆ ยกเว้น! แพทย์ห้ามขยับข้อต่อ

More