Blog Section

ตอนที่19:มารู้จักพาร์กินสัน….กันเถอะ!!!!!

ตอนที่19:มารู้จักพาร์กินสัน….กันเถอะ!!!!!

พาร์กินสัน14

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท ที่พบได้เบ่อยป็นอันดับ 2 รองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคหลงลืม เกิดได้ในอัตตราส่วน1 ใน 100 และเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากกว่า50 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มที่จะผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพราะจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาการโดยทั่วไปของโรคนี้คือ มีอาการสั่น แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า การทรงตัวที่ไม่สมดุลย์ อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้ในโรคพาร์กินสัน สมมุติฐานของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด

 

พาร์กินสัน8

สาเหตุของการเสื่อมของสมองในโรคพาร์กินสัน

การเสื่อมในระบบประสาทส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเบซาล แกงเกลีย หากแต่ว่าจะเกิดขึ้นในเบซาลแกงเกลียในลำดับที่แตกต่างกันไปโดยมักจะเกิดขึ้นที่ ซับสแตนเชีย ไนกรา หรือ SN อาการของดรคพาร์กินสันเกิดขึ้นเนื่องจากเซลล์ในส่วนของ SN นี้เสื่อมหรือตายลงที่ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Degeneration สาเหตุทีทำให้เซลล์ส่วนนี้เสื่อมนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด ที่เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การวิจัยส่วนหนึ่งที่มีในปัจจุบัน คือการทดแทนเซลล์ในส่วนของเบซาล แกงเกลีย ที่เสื่อมลงโดยอาศัยการปลูกฝังถ่ายเซลล์ซึ่งผลของการวิจัยยังไม่เป็นที่แน่นอน และยังไม่จัดเป็นการรักษามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสัน ซับสแตนเชีย ไนกรา SN นั้นอยู่ในส่วนลึกของสมองที่เรียกว่าก้านสมอง ซึ่งยังแบ่งออกเป็นหลายส่วน SN นั้นอยู่ในส่วนบนสุดของก้านสมองที่เรียกว่าสมองส่วนกลาง เซลล์ในส่วนSNนั้นที่เสื่อมไปในโรคพาร์กินสันนั้น มีหน้าที่สำคัญในการผลิตสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดปามีน มีหน้าที่สำคัญในการทำให้เกิดการเชื่อมโยงและการผ่านต่อของกระแสประสาทจากสมองในส่วนต่างๆ เมื่อโดปามีนเสื่อมหรือตายลงส่งผลให้ระดับโดปามีนในสมองนั้นลดลง เนื่องจากโดปามีนจัดเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการเคลื่อนไหว ระดับของโดปามีนในสมองที่ลดลงจึงส่งผลให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีปัญหาในเรื่องของการสั่น การเคลื่อนไหวช้า และติดขัด นอกเหนือจากเรื่องของการเคลื่อนไหว สัดส่วนของความเสื่อมในสมองส่วนต่างๆที่ต่างกันในผู้ป่วยแต่ละท่าน ก็จะส่งผลให้อาการในผู้ป่วยแต่ละท่านแตกต่างกันไป ประมาณร้อยละ60 ผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีปัญหาเรื่องการดมกลิ่น และการรับรส ซึ่งอาการนี้อาจเกิดก่อนปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนไหวเป็นเวลาหลายปี ซึ่งปัจจุบันทราบว่าทั้งสองอาการนี้เกิดเนื่องจากการเสื่อมของระบบประสาทในส่วนของการดมกลิ่น และการรับรส นอกเหนือจากสมองในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว อาการท้องผูกก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการเสื่อมของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบทางเดินอาหารในโรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน13

การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

การวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในโรคพาร์กินสันในปัจจุบันคือ การตรวจพบความเสื่อมของเซลล์ในส่วนของ เบซาล แกงเกลีย โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีหน้าที่ในการผลิตสารโดปามินในส่วนของสับสแตนเชีน ไนกรา ร่วมกับตรวจพบเลวี บอดี้ส์ ใน เบซาล แกงเกลีย และสมองส่วนใกล้เคียง ในปัจจุบันเราพบว่า เลวี บอดีส์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในเฉพาะโรคพาร์กินสันเท่านั้น แต่อาจสามารถพบได้ในโรคความเสื่อมของระบบประสาทอื่นๆ ในปัจจุบันยังทราบอีกว่า สมองอื่นๆนอกจากเบซาล แกงเกลียก็สามารถเกิดเกิดการเสื่อมได้เช่นกัน เนื่องจากสมองในแต่ละส่วนมีการทำงานที่เฉพาะและแตกต่างกันไป  ดังนั้นการเสื่อมหรือกระทบการกระเทือนในสมองส่วนอื่นๆก็จะส่งผลให้การแสดงของโรคมีมากขึ้น และหลากหลาย

ถึงแม้อาการของโรคพาร์กินสันจะหลากหลาย เกิดเนื่องมาจากการเสื่อมของระบบประสาทหลายตำแหน่งตามที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น แต่ไม่ได้หมายความว่า การเสื่อมหรืออาการเหล่านี้จะเกิดกับผู้ป่วยพาร์กินสันทุกราย ความแตกต่างที่เราเห็นทางพยาธิสภาพทำให้มีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป อาการที่กล่าวไปในปัจจุบันสามารถรักษาให้หายได้ การวิจัยของโรคสมองที่เปลี่ยนไปในโรคพาร์กินสันทำให้แพทย์สามารถเข้าใจถึงอาการและการรรรรรักษาอาการต่างๆเหล่านี้ได้

การรักษาโรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน1

 

การรักษาโดยการใช้ยา

ปัจจุบันเรามีการเลือกใช้ยาในการรักษาโรคพาร์กินสันเกือบ 10 ชนิด การเลือกใช้ยาให้เหมาะสม การเลือกใช้ยานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเลือกให้เหมาะสมสอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยแต่ละรายและระยะของโรคในขณะนั้น  รวมถึงขนาดปริมาณยาที่พอเหมาะที่จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น และเข้าใจถึงผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นได้

กลุ่มยาลีโวโดปา ยาจะถูกเปลี่ยนเป็นโดปามีนในสมองเพื่อช่วยลดอาการสั่น แข็ง เกร็ง เคลื่อนไหวช้าในผู้ป่วยพาร์กินสัน

กลุ่มยาโดปามีน อโกนิสต์ส  มีหน้าที่ทำให้โดปามีนที่เหลืออยู่ในระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น ผลข้างเคียงส่วนมากจะทำให้ง่วงนอน บางรายแขนขาบวม มัพบได้ในผุ้ที่มีปัญหาระบบไหลเวียนเลือด บางรายอาจเห็นภาพหลอน

กลุ่มยาเอนทาคาโปน มีหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ COMTเพื่อไม่ให้เผาผลาญ ลีโวโดปา ดังนั้นเมื่อลีโวโดปาอยู่ในร่างกายมากขึ้นก็จะเปลี่ยนเป็นโดปามีนมาก ทำให้อาการของผู้ป่วยตอบสนองต่อยาได้นานขึ้น

กลุ่มยาเซเรจิลิน  ลดอาการง่วงนอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ กลุ่มยาโดปามีน อโกนิสต์ส 

กลุ่มยาแอนตี้โคลิเนอจิกส์ ลดเรื่องอาการสั่นเพียงอย่างเดียว

ยากลุ่มฟลูโอเซทีนและพาโรเซทีน ลดอาการซึมเศร้า

ยากลุ่มโดเนเพซิล ไรวาสติกกมีน กาแลนทามีน และมีแมนทีน ช่วยในเรื่องของอาการหลงลืม

 

lพาร์กินสัน2

 

การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก โดยการฝังสายอิเล็กโตรด (deep brain stimulation initiative program)ใช้ในการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันที่ตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ

 

พาร์กินสัน3

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

Facebook Comments

Leave a Reply

Or