ตอนที่26:การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
หลักการดูแลการคงการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
ข้อควรปฏิบัติขณะทำกายภาพบำบัด
- การเคลื่อนไหวข้อให้ผู้ป่วยควรทำช้า ๆ
- ควรทำการเคลื่อนไหวให้สุดองศาของการเคลื่อนไหวที่ปกติ แต่ควรระวังในรายที่มีการดามเหล็กอยู่
- ภายในข้อภายในกระดูก ต้องไม่ทำ เกินกว่าที่ผู้ป่วยทำได้
- ในแต่ละท่าทำช้าๆท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2 รอบ
- ระหว่างทำ ให้ผู้ ป่วยคิดอยู่เสมอว่ากำลังทำ การเคลื่อนไหวด้วยตนเอง
- ไม่ควรทำ การเคลื่อนไหวหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ หรือในขณะผู้ป่วยมีไข้
- ขณะทำ การเคลื่อนไหวข้อ ถามผู้ป่วยปวด หรือ พบปัญหาอย่างอื่นตามมา ควรหยุดและปรึกษาแพทย์หรือ
- นักกายภาพบำบัด
- ไม่ควรให้ผู้ ป่วยนอนอย่างเดียวนาน ๆ ควรให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมานั่งบ่อย ๆ
- ควรได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
- พยายามสอนญาติผู้ป่วยให้ทำอยู่เป็นประจำ
การคงการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนบน
การคงการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนล่าง
การออกกำลังกายโดยการใช้รอกดึงไหล่
สำหรับคนไข้ที่เริ่มมีกำลังกล้ามเนื้อควรออกกำลังกายโดยการใช้รอกบริหารหัวไหล่
1.เพื่อให้เกิดการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อหัวไหล่ และ ประสานการทำงาน ของส่วนต่างๆ
ในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อแขน ข้อหัวไหล่ ข้อมือ ข้อศอก และหลัง
2. เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ให้กล้ามเนื้อ แขน ข้อหัวไหล่ ข้อมือ ข้อศอก และหลัง และปูองกัน
ปัญหาเอ็นยึดข้อติดในผู้สูงอายุ
วิธีการออกกำลังกาย
ผู้ออกกำลังกาย นั่งเก้าอี้หันหน้าออก ในท่าหลังตรง 90 องศา ขาและเท้าวางให้พอดีกับช่วงไหล่
2. ผู้ออกกำลังกายใช้แขนทั้ง 2 ข้างจับตะขอ ที่อยู่เหนือศีรษะ และเหยียดแขนให้ตรึง แขนแนบใบหู และดึงเชือกให้ลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักยกขึ้น โดยดึงในท่าแขนเหยียดตรงจากบนสุดลงล่างสุดให้ได้ 180 องศา
3. ดึงเชือกสลับไปมาเพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้อแขน ข้อหัวไหล่ ข้อมือ และหลัง
4. การออกำลังกายแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่สุด ควรใช้เวลาอย่างน้อย 20 นาที