ตอนที่27:…..การดูแลตนเอง หลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า …
การบาดเจ็บของข้อเข่า
ความมั่นคงของข้อเข่าขึ้นอยู่กับกระดูกฟีเมอร์และกระดูกทิเบีย ที่ประกอบเป็นข้อเข่าที่ยังมีลักษณะปกติไม่แตกไม่ทรุด หมอนรองกระดูกข้อเข่าและเอ็นที่ยึดข้อเข่า รวมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ข้อเข่า
กล้ามเนื้อที่สำคัญ คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าที่ทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า เรียก Quadriceps muscles และกล้ามเนื้อที่อยู่ต้นขาด้านหลัง เรียก Hamstring muscles ถ้าส่วนต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเสียไป หรือทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติก็จะเสียความมั่นคงของข้อเข่า
ความมั่นคงของข้อเข่า จากเอ็นใหญ่ 4 เส้น
1. เอ็นเข่าด้านนอก (Lateral collateral ligament)
2. เอ็นเข่าด้านใน (Medial collateral ligament)
3. เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament)
4. เอ็นไขว้หลัง (Posterior cruciate ligament)
- เอ็นเข่าด้านนอก, ด้านใน ช่วยป้องกันไม่ให้เข่าหลวม เอียงไปด้านข้าง
- เอ็นไขว้หน้า ป้องกันไม่ให้เข่าหลวม เลื่อนไปด้านหน้า
- เอ็นไขว้หลัง ป้องกันไม่ให้เข่าหลวม เลื่อนตกไปด้านหลัง
ภยันตรายที่เข่าบิดอย่างรุนแรงหรือภาวะที่ทำให้เข่าเคลื่อนมากกว่าปกติ เช่น ล้ม เสียหลัก ถูกกระแทรก เข่าเหยียดจนแอ่นไปทางด้านหลังหรือด้านข้างมากเกินไป จะทำให้เอ็นใหญ่ที่ยึดข้อเข่าฉีกขาดได้ อาจจะมีการฉีกขาดเพียงอันเดียวหรือหลายอัน หรือมีการบาดเจ็บร่วมกับผิวข้อแตก, หมอนรองข้อเข่าฉีกขาดร่วมด้วยก็ได้
ความรุนแรงของการฉีกขาดของเอ็น แบ่งได้เป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 มีการฉีกขาดภายในเนื้อเยื่อของเอ็น แต่เอ็นยังไม่ยึดหรือขาดให้เห็นชัดเจน
ระดับที่ 2 เอ็นฉีกขาดบางส่วน
ระดับที่ 3 เอ็นฉีกขาดแยกออกจากกันทั้งหมด
อาการและการตรวจพบ
โดยทั่วไปการบาดเจ็บข้อเข่าจากการเล่นกอล์ฟมักไม่ค่อยรุนแรง นอกจากจะมีการเสียหลักล้ม เช่น ยืนตีในบริเวณพื้นที่ต่างระดับ มักพบมีการบาดเจ็บบริเวณเข่าซ้ายในนักกอล์ฟที่ตีด้วยมือขวา เพราะจะมีแรงบิดและรับน้ำหนักบนเข่าซ้ายค่อนข้างมาก
การบาดเจ็บที่รุนแรงจะพบได้บ่อยมากในกีฬาฟุตบอล, รักบี้, เทนนิส อาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ เช่น
- ปวดบวมบริเวณข้อเข่า
- กดเจ็บบริเวณที่เอ็นฉีก, บริเวณแนวข้อ ซึ่งเป็นตำแหน่งของหมอนรองข้อเข่า
- เดินลงน้ำหนักไม่ได้หรือเดินแล้วปวดเสียวมากผิดปกติ
- การงอเหยียดเข่าไม่ได้ เข่าติดในท่าใดท่าหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดหมอนรองข้อเข่าขาดไป
- รู้สึกเข่าบวมหรือเกผิดรูป อาจเกิดจากเอ็นใหญ่ขาดหรือกระดูกแตก
การตรวจพบทางด้านการแพทย์
1. ตรวจน้ำหรือเลือดออกในข้อเข่า ซึ่งจะพบภายในข้อเข่าบวมมาก
2. ตรวจความมั่นคงด้านข้างข้อเข่า
3. ตรวจความมั่นคงในแนวหน้า – หลังของข้อเข่า
4. ตรวจการเคลื่อนไหว, หมุนเข่า เพื่อดูว่าหมอนรองข้อเข่าขาดหรือไม่
เป็นการตรวจภายในข้อเข่า จะได้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องชัดเจน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการฉีดยาเข้าในเยื่อหุ้มไขสันหลังเพื่อให้ส่วนล่างของร่างกายชา ผู้ป่วยสามารถรับการผ่าตัดรักษาได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ใช้แผ่นรัดห้ามเลือดบริเวณต้นขา เพื่อที่ไม่ให้เลือดออกมากระหว่างการผ่าตัดรักษา
เจาะรูบริเวณด้านหน้าเข่าชิดกับเอ็นลูกสะบ้า ใส่ท่อโลหะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 มิลลิลิตร ซึ่งมีเลนส์และท่อนำแสงส่อเข้าไปในข้อเข่าสามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า โดยต่อภาพเข้ากับจอทีวีได้ ซึ่งจะเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า จะเป็นภาพขยายจากของจริงประมาณ 5 ถึง 10 เท่า สามารถจะอัดเป็นภาพวีดีโอ เพื่อมาดูภายหลังการผ่าตัดได้
การรักษา
การบาดเจ็บระดับ 1 แนะนำว่าให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาเบื้องต้นทำได้โดยใช้หลักการ ” RICE”
R =rest คือการหยุดพักและงดจากการเล่น
I = ice คือ การใช้ความเย็นโดยใช้น้ำแข็ง
C = compression คือการประคบด้วยความเย็นเพื่อลดปวด ลดบวม
E = elevation คือการทำให้ส่วนที่บาดเจ็บยกสูงในที่นี้ก็คือยกขาสูงเพื่อที่จะช่วยลดการบวม จากนั้นหากเดินลงน้ำหนักไม่ได้ให้ใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน
การบาดเจ็บระดับ 2 การรักษานอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหากข้อเข่าบวมมากในช่วงแรกอาจต้องพัน compressive dressing ได้แก่ อุปกรณ์พยุงข้อเข่าแบบมีแกนโลหะ อุปกรณืพยุงข้อเข่าและลูกสะบ้า อุปกรณ์พยุงข้อเข่า ไว้ในช่วงแรกเพื่อ immobilization จากนั้นเมื่อยุบบวมก็มาประเมิณการบาดเจ็บซ้ำอีกครั้งหรือจะต้องส่ง investigation เพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษาหากเป็นแค่ sprain ของ MCL หรือ LCL ก็ใช้เป็น knee brace หรือ knee support หรือ Hing knee support ก็ได้
การบาดเจ็บระดับ 3 โดยมากการรักษายังคงเป็นการทำผ่าตัดเพื่อเข้าไปซ่อมโดยตรงยกเว้นเอ็นไขว้หน้า และ ไขว้หลังซึ่งผลของการผ่าตัดทำการเย็บซ่อมทราบแล้วว่าได้ผลไม่ดีไปกว่าการผ่าตัดสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ ส่วนเอ็นประกับเข่าด้านในหากบาดเจ็บระดับนี้สามารถรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้ การรักษาจะใส่เฝือกไว้จากนั้นเปลี่ยนเป็น knee brace ที่ปรับองศาได้แต่หากบาดเจ็บร่วมกับเอ็นเส้นอื่นในกรณีที่เป็น knee dislocation และมี multiple ligaments injuries แนะนำทำการผ่าตัดซ่อม หากพบร่วมกับ ACL ควรรักษา MCL ให้ดีก่อนโดยการ conservative จากนั้นจึงค่อยพิจรณาทำ ACL reconstruction โดยวิธีการนี้จะลดปัญหา ข้อเข่าติดภายหลังการผ่าตัดได้มาก
เอ็นไขว้หน้า ( Anterior cruciate ligament – ACL)
เอ็นไขว้หน้า ( Anterior cruciate ligament – ACL) เป็นเอ็นที่อยู่ในข้อเข่า ช่วยป้องกันกระดูกทีเบีย (Tibia) เคลื่อนที่ไปข้างหน้าใต้กระดูกฟีเมอร์(Femer) เอ็นไขว้หน้า จะตึงเวลาเหยียดเข่า แรงบิดหมุนที่รุนแรงทำให้เอ็นไขว้หน้าขาดได้ และความมั่นคงของเข่า ที่ป้องกันไม่ให้กระดูกทีเบีย(Tibia) เลื่อนไปข้างหน้าใต้เข่า หรือบิดหมุน ก็จะเสียไป ถ้าไม่ได้รับการรักษา หมอนรองข้อเข่า หรือกระดูกอ่อนผิวข้อ ก็จะได้รับแรงที่ผิดปกติมากเกิน ทำให้ข้อเสียเกิดภาวะข้อเสื่อมได้ การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า มักจะสัมพันธ์กับชนิดกีฬาที่เล่นมากกว่า เช่น พบบ่อยในนักกีฬาประเภท ฟุตบอล , บาสเกตบอล , วอลเลย์บอล ในการเล่นกอล์ฟ เกิดขึ้นได้น้อยกว่า นอกจากจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น มีสถิติ การบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าเข่าขวาขาด จากการเล่นบาสเกตบอล ในนักกีฬาหญิงมากกว่านักกีฬาชาย 2 เท่า จากการเล่นฟุตบอลพบในนักกีฬาหญิงมากกว่านักกีฬาชาย 4 เท่า หรือประมาณร้อยละ 60 ของนักกีฬาหญิงที่เล่นบาสเกตบอล
สาเหตุ
1.การกระโดด พบว่านักกีฬาหญิงเวลากระโดดลงพื้นโดยไม่งอเข่ามากเท่านักกีฬาชาย แรงกระแทกบนเข่าจะมากกว่าทำให้อัตราการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าสูงขึ้น
2.เวลาหมุนบิดเข่า นักกีฬาหญิงมักจะหมุนบิดเข่าขณะที่เข่าเหยียดมากกว่านักกีฬาชาย การงอเข่าและสะโพกจะช่วยลดแรงที่กระทำต่อเอ็นไขว้หน้า
3.กล้ามเนื้อที่ควบคุมเข่า มีกล้ามเนื้อเหยียดเข่าคือ กล้ามเนื้อ Quadriceps อยู่ด้านหน้าต้นขา และกล้ามเนื้องอเข่าคือ Hamstrings อยู่ด้านหลังต้นขา นักกีฬาหญิงส่วนใหญ่ใช้กล้ามเนื้อ Quadriceps เวลาเปลี่ยนทิศทางหมุนขา แรงของกล้ามเนื้อ ดึงกระดูกทีเบีย(Tibia) ไปข้างหน้าและเหยียดเข่าทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าได้การบริหารกล้าม เนื้อ Hamstrings และใช้กล้ามเนื้อ Hamstrings มากขึ้น ช่วยลดการบาดเจ็บต่อเอ็นไขว้หน้าได้
อาการ
เอ็นไขว้หน้าขาดเพียงอย่างเดียวมักไม่ทำให้เกิดอาการปวด นอกจากมีอาการ 2 – 3 สัปดาห์แรก หลังเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาของเอ็นไขว้หน้าขาดเกิดจากเข่าไม่มีความมั่นคง เวลารับน้ำหนักแล้วบิดเข่า เช่น เวลาเดินจะเลี้ยว หรือเปลี่ยนทิศทาง การวิ่งหรือขี่จักรยานยังสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหามากนักแต่กิจกรรมที่ต้องการความว่องไว และมีการบิดหมุนเข่า มักจะทำไม่ค่อยได้ถ้าไม่มีเอ็นไขว้หน้ายึดเข่าให้มั่นคง สาเหตุที่มานี้เกิดจากอุบัติเหตุทางการกีฬา คือ กอล์ฟ
วิธีการรักษา
ผู้ป่วยเอ็นไขว้หน้าขาด ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาทุกราย นอกจากมีอาการเข่าหย่อนมาก ร่วมกับความจำเป็นที่ต้องใช้เข่ามาก เช่น เดินมาก ขึ้นลงบันไดมาก หรือมีความต้องการกลับไปเล่นกีฬา ผู้ป่วยที่ไม่ได้รักษาเอ็นไขว้หน้าขาด จะมีความเสี่ยงหมอนรองกระดูกในขาดตามมาได้ง่าย เข่าปวดบวมซ้ำบ่อย รู้สึกไม่มั่นใจเมื่อต้องการใช้งานหนักที่เข่า ในระยะยาวจะมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมได้เร็วคนปกติ เมื่อเอ็นไขว้หน้าของเข่าขาด ไม่สามารถต่อเองได้ แพทย์จะไม่แนะนำให้เย็บซ่อมเข้าหากัน แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันที โดยไม่ได้ปล่อยให้เรื้อรัง เนื่องจากผลการรักษาไม่ดี เอ็นไขว้หน้าที่เย็บซ่อมโดยตรง จะไม่แข็งแรง และมักจะขาดซ้ำเมื่อกลับไปใช้งานตามปกติ
ถ้าต้องการความมั่นคงของเข่าที่มีการบิดหมุนร่วมด้วย ต้องสร้างเอ็นไขว้หน้าขึ้นมาใหม่ มีเอ็นที่นำมาสร้างแทนเอ็นไขว้หน้า มาได้จาก 3 แห่ง
1.ใช้เอ็นจากกล้ามเนื้อด้านหลังข้อเข่า (Hamstring tendons )
2.ใช้บางส่วนของเอ็นลูกสะบ้า (Kneecap or patellar tendon)
3.ใช้เอ็นจากที่อื่น ที่ไม้ใช่จากตัวผู้ป่วยเอง (Allograft)
การรักษาหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยจะได้รับการพันเข่าด้วยสำลีหนา ๆ แล้วรัดด้วยผ่ายืดให้แน่นเพื่อไม่ให้บวมประมาณ 3 – 4 วันหลังจากนั้น ให้ผู้ป่วยเริ่มบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่าได้
การบริหารกล้ามเนื้อ, การทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด
1. หลังจากแผลหายดี ผู้ป่วยเริ่มบริหารกล้ามเนื้อเหยียดหัวเข่าได้
2. เริ่มบริหารโดยไม่รับน้ำหนักที่เข่า เช่น การวายน้ำ, การขี่จักรยาน
3. การบริหารกล้ามเนื้อโดยใช้น้ำหนัก (Weight training)
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Quadriceps)
ยืนเกาะกำแพงหรือโต๊ะ งอเข่าตึง เท้าไปด้านหลังให้รู้สึกตึงต้นขาด้านหนาให้มากที่สุดนาน 5 – 7 วินาที ทำซ้ำ 6 – 10 ครั้งทำทั้ง 2 ข้าง
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Hamstrings)
ฝึกงอเข่าข้างหนึ่ง เหยียดขาอีกข้างหนึ่ง โน้นตัวไปข้างหลังและข้างหน้ารู้สึกตึงด้านหลังต้นขาข้างที่เหยียด นาน 5 – 7 วินาที ทำซ้ำ 6 – 10 ครั้งทำทั้ง 2 ข้าง
การบริหารให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
กล้ามเนื้อ Quadriceps
นั่งเก้าอี้สูง งอเข่า ห้อยเท้า เหยียดเข่า ต้านกับแรงต้าน อาจจะใช้ถุงทราย, ยางยืด