All posts in CHD

ตอนที่719 โรคไตเรื้อรัง เข้าใจง่ายใน5นาที

ตอนที่719 โรคไตเรื้อรัง เข้าใจง่ายใน5นาที

สถานการณ์โรคไตในปัจจุบัน ข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ประมาณร้อยละ 17.6 ของคนไทยป่วยเป็นโรคไต คิดเป็นผู้ป่วยราว 8 ล้านคน 80,000 คนเป็นไตวายระยะสุดท้าย และมีแนวโน้มมากขึ้นเป็นทุกปีๆ

พญ.ผ่องพรรณ ทานาค แพทย์อายุรกรรมโรคไต โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่โรคไตวายระยะสุดท้าย ถ้าเกิดภาวะไตวาย ไตหยุดทำงาน ของเสียจะคั่งค้างในเลือดและร่างกาย
อาการของโรคไต ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้

  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ซีด โลหิตจาง
  • คันตามตัว
  • มีจ้ำตามตัว
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • น้ำท่วมปอด
  • กระดูกเปราะบางหักง่าย
  • ปวดกระดูก
  • ถ้าของเสียค้างในสมองมาก ๆ จะมีอาการชักและสมองหยุดทำงาน

นอกจากนี้ผู้ป่วยจะเป็นหมัน และหมดสมรรถภาพทางเพศ

ถ้าเกิดโรคไตวายในเด็ก เด็กจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคไตวาย

  • โรคเบาหวาน
  • ไตวายจากเนื้อเยื่อไตอักเสบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันสูง
  • โรคเอสแอลอี (SLE)
  • โรคเกาต์
  • นิ่วที่ไตและทางเดินปัสสาวะ
  • ไตวายจากพันธุกรรม
  • ทางเดินปัสสาวะผิดปกติมาตั้งแต่เกิด ในกรณีที่ไตวายถาวรแล้ว ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม


วิธีรักษาโรคไต
ปัจจุบันนี้วงการแพทย์เราก็มีวิธีการรักษาผู้ป่วยไตวายให้มีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ วิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังมี 3 วิธี
วิธีแรก คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีของเสียคั่งค้าง ผ่านเข้าไปในเครื่องกรองเลือด ซึ่งจะกรองของเสียจากเลือดและนำเลือดที่ถูกกรองจนสะอาดแล้วกลับสู่ร่างกายผู้ป่วย
วิธีที่สอง คือ วิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) วิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องตนเอง ครั้งละ 2 ลิตร วันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 6 ชั่วโมง หรือทำกลางคืนตลอดทั้งคืนทุกๆวัน
วิธีที่สาม คือ การเปลี่ยนไต หรือ ปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) เป็นวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังที่ดีที่สุด
สถิติในการปลูกถ่ายไตของ รพ.พระรามเก้า ตั้งแต่ ปี 2535 ถึงปัจจุบัน (มิถุนายน2535-มกราคม 2563) ผ่าตัดเปลี่ยนไตไปแล้ว 909 ราย ได้รับบริจาคไตจากญาติพี่น้องร่วมสายโลหิต 381 ราย สามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย 31 ราย ผู้บริจาคสมองตาย ผ่านสภากาชาดไทย 497 ราย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต อายุน้อยที่สุด 11 ปี อายุมากที่สุด 80 ปี และผู้ป่วยที่อายุมากว่า 60 ปี ได้รับการเปลี่ยนไต 176 ราย

ปัจจุบันแพทย์ไทยเรามีความรู้ความสามารถในการผ่าตัดเปลี่ยนไตประสบผลสำเร็จได้ดีทัดเทียมกับต่างประเทศ ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนไตสำเร็จแล้ว จะสามารถมีชีวิตยืนยาวและดำรงชีวิตด้วยคุณภาพที่ดี ประกอบอาชีพได้ ปัจจุบันผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการเปลี่ยนไตไปแล้วหลายพันคน หลายๆ สาขาอาชีพ เช่น ทหาร ตำรวจ แพทย์ ทันตกรรม วิศวกร ทนายความ ดารา นักการเมือง นักธุรกิจ เป็นต้น หลังเปลี่ยนไตผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้ สามารถทำประโยชน์ต่างๆ ให้สังคมได้เหมือนคนปกติ

More

ตอนที่ 716 ความสำคัญของกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคไต

ตอนที่ 716 ความสำคัญของกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคไต

กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการจัดการและรักษาผู้ป่วยโรคไต ต่อไปนี้เป็นเหตุผลสำคัญบางประการว่าทำไมการกายภาพบำบัดจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลที่เป็นโรคไต:

1. ปรับปรุงการเคลื่อนไหวและการทำงาน: โรคไตอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อตึง และการเคลื่อนไหวลดลง กายภาพบำบัดช่วยเพิ่มระยะการเคลื่อนไหว เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และปรับปรุงการทำงานของร่างกายโดยรวม ช่วยให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างง่ายดายและเป็นอิสระมากขึ้น

2. การจัดการความเจ็บปวด: โรคไตอาจทำให้เกิดอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออ่อนได้ เทคนิคกายภาพบำบัด เช่น การบำบัดด้วยตนเอง การออกกำลังกายบำบัด และวิธีการต่างๆ เช่น การบำบัดด้วยความร้อนหรือเย็น สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและไม่สบายได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

3 เสริมสร้างสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด: โรคไตมักนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด กายภาพบำบัดอาจรวมถึงการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะของผู้ป่วย ซึ่งช่วยปรับปรุงการทำงานของหัวใจและปอด ลดความดันโลหิต และปรับปรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวม

4 ป้องกันภาวะแทรกซ้อน: ผู้ป่วยโรคไตมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคกระดูกพรุน และกล้ามเนื้อลีบ การทำกายภาพบำบัด รวมถึงการออกกำลังกายแบบยกน้ำหนักและการฝึกความต้านทาน สามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้โดยการส่งเสริมสุขภาพกระดูกและรักษามวลกล้ามเนื้อ

5 จัดการอาการบวมน้ำ: อาการบวมน้ำหรือบวมเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไต เทคนิคกายภาพบำบัด เช่น การระบายน้ำเหลืองด้วยตนเอง การบีบอัด และการออกกำลังกายสามารถช่วยลดอาการบวมน้ำและปรับปรุงการไหลเวียนของน้ำเหลืองได้

6 เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีทางจิต: โรคไตอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วย นำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้า และความเครียด กายภาพบำบัดไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงการทำงานทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของจิตใจผ่านการปล่อยสารเอ็นโดรฟินที่เกิดจากการออกกำลังกาย และความรู้สึกโดยรวมของความสำเร็จและการเสริมพลัง

More