All Posts tagged ปวดเข่า

ตอนที่5:โรคปวดเข่า อย่าคิดว่าไม่อันตราย

ตอนที่5:โรคปวดเข่า อย่าคิดว่าไม่อันตราย

ปวดเข่า

 

โรคปวดเข่า

โรคปวดเข่าอายุที่มากขึ้นมักมาพร้อมกับอาการปวดสารพัดที่รุมเร้าเข้ามา หลายคนอาจเคยมีปัญหากับอาการปวดเข่า สาเหตุของอาการปวดนั้นเนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อต่อที่ต้องเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักของร่างกาย เพื่อใช้ในกิจกรรมที่สำคัญของมนุษย์โดยเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตลอดเวลาเกิดจากกิจกกรรมที่มี การยืน เดิน วิ่ง และการเล่นกีฬา
รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่างอพับเข่า เช่นนั่งสมาธินั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยองๆจึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็วอาการปวดเข่าจึงเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งนอกจากอาการปวดแล้วยังบั่นทอนสมรรถภาพการทำงานอย่างมาก

 

สาเหตุปวดเข่าที่พบบ่อย

 

1. การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน หมอนรองกระดูกข้อเข่าขาด หรือ เส้นเอ็นฉีกขาด เป็นต้น มักจะมีอาการปวดข้อหรือข้อบวมทันทีภายหลังจากอุบัติเหตุ

2. โรคข้อเข่าเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยกลางคนและผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ

3. กระดูกอ่อนของลูกสะบ้าอักเสบ/เสื่อม พบในเด็กหรือหนุ่มสาว โดยเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายอย่างรุนแรงหรือ มีอุบัติเหตุต่อข้อเข่า มักจะเกิดอาการเมื่อนั่งงอเข่านาน ๆ พอเหยียดเข่าจะปวด แต่พอเดินไปสักพักจะดีขึ้น หายเป็นปกติ

4. กระดูกสะบ้าเคลื่อน พบได้ในเด็ก อาจเป็นผลจาก ความผิดปกติตั้งแต่เกิดของกระดูกต้นขาและกระดูกสะบ้าหรือ เส้นเอ็นยึดกระดูกสะบ้าฉีกขาดจากอุบัติเหตุ จะมีการเคลื่อนของกระดูกสะบ้าเมื่องอเข่า ทำให้เกิดอาการปวด

5. ปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ พบบ่อยในเด็กวัยรุ่น อาจคลำได้ก้อนกระดูกโตขึ้นและกดเจ็บ โดยเฉพาะหลังเล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกาย จะปวดมากขึ้น ถ้าได้พัก อาการปวดจะลดลง มักจะหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้น

6. เส้นเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ พบบ่อยในเด็กวัยรุ่น จะมีอาการบวมและกดเจ็บที่เส้นเอ็น เวลางอเข่าจะเจ็บมากขึ้น

7. ถุงน้ำด้านหน้าข้อเข่าอักเสบ พบได้บ่อยในผู้หญิงอ้วน หรือ ผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงาน

8. ก้อนถุงน้ำใต้ข้อพับเข่า เกิดจากเยื่อหุ้มข้อเข่าแตกออกมาทางด้านหลัง ทำให้น้ำไขข้อไหลออกมานอกข้อเข่า พบได้บ่อยในผู้ที่มีข้ออักเสบเรื้อรัง ข้อเข่าเสื่อม มักจะเป็น ๆ หาย ๆ ถ้าก้อนโตมาก อาจทำให้รู้สึกปวดได้

9. ข้อเข่าอักเสบ จากโรคข้ออักเสบต่าง ๆ เช่น เก๊าท์ รูมาตอยด์ ติดเชื้อแบททีเรีย เป็นต้น

อาการของโรคเข่าเสื่อมเข่า

1 มีเสียงดังภายในข้อเข่าเมื่อเกิดการเคลื่อนไหว

2 มีอาการบวม แดง บริเวณข้อเข่า เมื่อเป็นานๆอาจมีการผิดรูปของข้อเข่าได้

3 มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่าโยเฉพาะตอนช้า

4  มีอาการปวด โดยเฉพาะเวลากลางคืน

5 มีจุดกดเจ็บบริเวณ ด้านในของข้อเข่า

 

ปวดเข่า 3

สัญญาณอันตรายกับการปวดเข่า ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

1. มีการบวมและร้อนของข้อเข่าหรือบริเวณรอบ ๆ ข้อ

2. มีกล้ามเนื้อต้นขาลีบ มีอาการชาหรืออ่อนแรงของขา
3. มีการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนังบริเวณขา หรือ เท้า เมื่อเวลาเดินนาน ๆ

4. มีอาการข้อติดหรือข้อขัด เคลื่อนไหวข้อไม่เต็มที่ อาจมีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

5. มีอาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ

6. มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น

ท่าบริหารลดปวดเข่า

การออกกำลังกายหรือกายบริหารนั้น ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเน้นกล้ามเนื้อหน้าขาหรือกล้ามเนื้อเหยียดเข่าเป็นหลัก ท่าบริหารข้างล่างนี้เริ่มจากง่ายไปยาก ดังนี้ควรเน้นการออกกำลังกายที่มีแรงต้านเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรอบๆเข่าซึ่งได้ ถุงทราย ยางยืด เป็นต้น

ท่าที่ 1
– นอนหงาย เอาหมอนเล็ก ๆ วางใต้เข่า
– เหยียดเข่าตรง นับ 1-10
– ทำได้ในช่วงแรกที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงมากนัก
ท่าที่ 2
– นั่งยกขาข้างหนึ่งวางพาดม้าเตี้ย
– เหยียดเข่าตรง เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา
– พร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น
– นับ 1-10 หรือเท่าที่ทำได้
– ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงพอที่จะยกขาตนเองได้
– ถ้ามีปัญหาข้อเหยียดไม่สุด ให้ใช้ถุงทรายถ่วงที่ข้อเข่าร่วมด้วย
ท่าที่ 3
– นั่งชิดพนักเก้าอี้
– เหยียดเข่าตรงพร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น
– เกร็งค้างนับ 1-10 ทำสลับข้าง
ท่าที่ 4
– นั่งไขว้ขา
– ขาที่อยู่ด้านล่างเกร็งเหยียดเข่าตรงเท่าที่ทำได้
– เกร็งนับ 1-10 และทำสลับข้างเช่นกัน
– ช่วยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาได้ดี
ท่าที่ 5
– นั่งไขว้ขาเหมือนท่าที่ 4 แต่ให้ขาที่อยู่ด้านบนออกแรงกดลงด้วย ในขณะที่ขาล่างเหยียดขึ้นตรงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เช่นกัน
– กล้ามเนื้อหน้าขาของขาล่างต้องรับน้ำหนักมากขึ้นอีก คือทั้งน้ำหนักของขาล่างรวมกับน้ำหนักของขา ข้างบน และแรงกดจากขาที่อยู่ข้างบน ทำสลับข้างในทำนองเดียวกัน
– ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหน้าขาและท้องขาได้ดีมาก เป็นท่าที่ยากที่สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าขาต้องออกแรงมากที่สุด
การบริหารทุกท่าให้เริ่มทำจากน้อยไปมาก โดยทำชุดละประมาณ 20-30 ครั้ง วันละ 2-3 ชุด เป็นอย่างน้อย ค่อย ๆ เพิ่มตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่าของแต่ละคน จนได้ประมาณ 100 ครั้งต่อวัน

ใช้ข้อเข่าอย่างถูกวิธี
       การใช้ข้ออย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมข้อเข่าให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น ชะลอความเสื่อม ซึ่งวิธีการนั้นตรงข้ามกับพฤติกรรมซึ่งทำร้ายข้อนั่นเอง กล่าวคือ
• ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกิน
• เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ
• ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น หากอยู่บ้านชั้นล่างได้จะเป็นการดีมาก ไม่ต้องขึ้นลงบ่อย ๆ
• เลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่มีผลร้ายต่อข้อเข่า เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น
• หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อได้
• ใช้สนับเข่าเท่าที่จำเป็น มักเลือกใช้ในรายที่ข้อเสียความมั่นคง แต่หากข้อยังมีความมั่นคงอยู่ การใช้สนับเข่า อาจทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเข่าอ่อนแรงได้
• หากมีอาการเจ็บข้อเข่ามากอย่างเฉียบพลัน อาจถือร่มหรือไม้เท้าในด้านตรงข้ามกับขาที่เจ็บ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อ และลดอาการปวดได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More