All Posts tagged เข่าเสื่อม

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

ตอนที่ 654 รู้ได้อย่างไรว่าเข่าเสื่อม?

เริ่มมีอาการปวดเข่า เวลามีแรงกดบนข้อเข่ามากขึ้น 

นั่งเหยียดเข่า หรือนอนพักอาการปวดเข่าจะน้อยลง 

ข้อเริ่มยืด เวลาตื่นนอนตอนเช้า พอเริ่มเดินอาการจะดีขึ้น 

• อาการปวดเข่า อาจจะไม่แน่นอน 

เข่าเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการปวดบวมมากขึ้น 

ข้อเข่าเสื่อมเป็นมานานๆ เขาอาจโก่งผิดรูป 

งอเหยียดข้อเข่า ได้น้อยลง กล้ามเนื้อต้นขาลีบลง

More

ตอนที่ 630 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระยะที่ 2

ตอนที่ 630 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระยะที่ 2

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระยะที่ 2
(2-6สัปดาห์)
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ใช้การรักษาทางกายภาพ เพื่อช่วยให้มุมการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การยืดกล้ามเนื้อ และการขยับข้อต่อทั้งตัวเข่าและลูกลูกสะบ้า
• การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับระยะที่ 2 ได้แก่การปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อคงองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เริ่มต้นที่ประมาณ 15 ถึง 20 นาที ต่อวันใช้ความหนักน้อยๆก่อนเท่าที่สามารถจะปั่นได้อย่างต่อเนื่องจนครบเวลา และไม่มีอาการปวด หากมีอาการปวดควรพักและลดความหนักลง รวมถึงการเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขา การกระตุ้นให้เกิดการลงน้ำหนัก การกระตุ้นให้เกิดการลงน้ำหนักที่เท้า ของข้างผ่าตัดเช่น การก้าวขึ้นลงบันไดในระดับเดียวกัน เป็นต้น
4ท่าออกกำลังกาย
สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในระยะที่2
1. หนีบหมอนระหว่างเขาทั้ง 2ข้าง จากนั้นออกแรงเหยียดเข่าเท่าที่สามารถ
ค้างไว้ 10 วินาที/ครั้ง ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน
2. นอนตะแคงโดยการกางขาขึ้นและเหยียดสะโพกไปทางด้านหลัง

ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน
3.ยืนตรงขากางเท่าความกว้างของไหล่จากนั้นให้งอเข่าไปด้านหลัง
ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน
4.ยืนตรงพร้อมทั้งกางขาเท่าความกว้างของไหล่ จากนั้นเขย่งปลายเท้าขึ้น
ค้างไว้ 5 วินาที/ครั้ง ซ้ำ10ครั้ง/รอบ จำนวน3รอบ/วัน

More

ตอนที่73:โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

ตอนที่73:โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

 โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

 ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ หรือในวัยกลางคนขึ้นไป โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหนี่งที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นนั่นคือ การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาการข้อเข่าเสื่อม ก็จะเริ่มต้นด้วยการมีอาการปวดข้อ หลังจากที่มีอายุมากขึ้น อาการปวดข้อก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

 

โครงสร้างของข้อเข่า

oa

ข้อเข่าของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ

  1. กระดูกต้นขาหรือทางการแพทย์เรียกว่ากระดูก femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็งทางการแพทย์เรียก tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของข้อเข่า
  3. กระดูกลูกสะบ้าทางการแพทย์เรียก patella ซึ่งอยู่ด้านหน้าของเข่า

ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน [cartilage ] รูปครึ่งวงกลมซึ่งทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำหล่อลื่นภายในข้อเรียก synovial fluid ซึ่งจะเป็นน้ำหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อรอบเข้าซึ่งป้องกันการสึกของข้อ เมื่อเราเดินหรือวิ่งข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเท่าใดข้อก็จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มมาก ขึ้น นอกจากนั้นจะมีกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อทำให้ข้อแข็งแรง

 

กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม

เข่าของคนเราเป็นข้อที่ใหญ่และต้องทำงานมากทำให้เกิดโรคที่เข่าได้ง่ายโรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของ น้ำ หล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูก อ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หาก ข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการ บวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอทำให้เกิดอาการ ปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท่าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อ ต้นขาลีบลงข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเหยียดขาได้ไม่สุด

kn2-3

เมื่อเกิดเข่าเสื่อมมากขึ้นกระดูกอ่อน( cartilage )จะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาที่เรียกว่า osteophytes เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อก็จะสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นทำให้ข้อ เข่ามีขนาดใหญ่ เอ็นรอบข้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อจะลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกัน เวลาขยับข้อจะเกิดเสียงเสียดสีในข้อ

 

อาการที่สำคัญ

  • อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

  • อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
  • การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า

 

การรักษาทางการแพทย์

  1. ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  2. ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ
  3. ฉีดน้ำไขข้อเทียม
  4. การผ่าตัด
  5. การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะข้อเพื่อดูดน้ำไขข้อออก แต่เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ก็จะกลับมาเป็นอีก

 

การรักษาทางกายภาพบำบัด

1. การใช้ความร้อนด้วยแผ่นความร้อนไฟฟ้า

Zemanta Related Posts Thumbnail
2. การใช้แผ่นความเย็นในระยะอักเสบ

P005
3. การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง, การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง
4. การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ด้วยถุงทราย

E003
5. การขยับดัดดึงข้อต่อกระดูก ในกรณีที่ข้อมีการยึดติด หรือเคลื่อนไหวไม่เต็มองศา
6. การใส่อุปกรณ์เสริมเพื่อลดปวด และลดบวม เช่น ปวดข้อเข่า ควรใส่อุปกรณ์เสริม ผ้ายืดลดปวดเข่า [Knee support] 

S019

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More