All posts by Firstphysio Clinic

ตอนที22:ปลายเท้าตก ต้องทำอย่างไร ??

ตอนที22:ปลายเท้าตก ต้องทำอย่างไร ??

ปลายเท้าตกต้องทำอย่างไร ???

 

ผู้ป่วยอัมพาต หรือ ผู้ป่วยกระดูกหลังกดทับเส้นประสาท ที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกระดกปลายเท้า ส่งผลให้เกิดความลำบากขณะเดิน เนื่องจากไม่สามาถยกเท้าให้พ้นพื้นได้และจะเกิดรูปแบบการเดินที่ผิดปกติขึ้น

 

 

xft-foot_drop

 

 

ขณะเดินเท้าทั้งสองข้างจะทำงานสัมพันธ์กันและเดินเป็นจังหวะ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะข้อเท้าตกด้านซ้าย เมื่อก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เท้าซ้ายจะไม่สามารถก้าวตามมาได้อย่างปกติเนื่องจากกล้ามเนื้อกระดกปลายเท้าอ่อนแรงส่งผลให้ปลายนิ้วเท้าลากถูไปกับพื้น เดินสะดุด หรือในบางรายจะเกิดการชดเชยของร่างกายเกิดการเดินที่ผิดรูปแบบ เช่น มีการโน้มตัวไปด้านหน้า กางสะโพกซ้ายเล็กน้อย เพื่อเหวี่ยงสะโพกให้เท้าสามารถลอยพ้นพื้นได้ แต่การลงน้ำหนักเท้าซ้ายจะไม่ดี น้ำหนักตกลงปลายเท้าเยอะ ส่งผลต่อการทรงตัวที่ไม่ดี เดินได้อย่างไม่มั่นคง  ท่าทางการเดินแบบนี้เป็นท่าทางที่ผิดธรรมชาติ หากปล่อยให้ผู้ป่วยเดินในลักษณะนี้ต่อไปอาจเกิดผลเสียต่อผู้ป่วย เช่น ข้อเท้าติดแข็ง กล้ามเนื้อกระดกปลายเท้าอ่อนแรงเพิ่มขึ้นหรือฝ่อลีบ และอาการปวดกล้ามเนื้ออื่นๆ ที่ทำหน้าชดเชยจากการเดินหรือทำหน้าที่ผิดวิธีหรือมากเกินไป

วิธีการแก้ไข

 

ปัญหาปลายเท้าตกแก้ไขได้หลายวิธี ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะต้องตรวจประเมินผู้ป่วยอย่างละเอียดถึงสาเหตุการเกิดปัญหาปลายเท้าตกแล้วทำการแก้ไขด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดเช่น กระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกระดกปลายเท้า ในขณะเดียวกันจะต้องคงองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ ไว้ด้วยเพื่อกันข้อเท้าติดแข็ง และกล้ามเนื้อฝ่อลีบ ในผู้ป่วยรายที่ปลายเท้าตกเล็กน้อยการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในระยะเวลาสั้นๆ ก็จะสามารถกระดกปลายเท้าและเดินได้เร็วขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้ป่วยยิ่งฝึกบ่อยยิ่งดี ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการปลายเท้าตกมาก การกระตุ้นกล้ามเนื้อและคงองศาการเคลื่อนไหวก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน แต่ในรายที่อาการเป็นมากปลายเท้าตกมากจะเกิดอุปสรรคในขั้นตอนการฝึกเดิน ผู้ป่วยสามารถใส่อุปกรณ์ช่วยได้ เช่น อุปกรณ์กันปลายเท้าตก ( Ankle Food Orthosis , AFO) ขณะฝึกเดินจะสามารถป้องกันปลายเท้าตกได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถฝึกเรียนรู้วิธีการเดินได้ใกล้เคียงกับการเดินปกติมากที่สุด ควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงไปด้วย

 

331743_456786144362603_1223968598_o

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่21:อัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)

ตอนที่21:อัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)


อัมพาตใบหน้า1

เวลาที่คุณตื่นมาตอนเช้าแล้วรู้สึกว่ามีตึงๆบริเวณใบหน้า ปิดตาข้างใดข้างหนึ่งไม่สนิท เวลาทานอาหารแล้วมีน้ำลายไหลออกทางมุมปาก จนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เวลาพูดยิ้ม หรือกระพริบตา พูดไม่ชัด ใบหน้าเบี้ยว อาการผิดปกติเหล่านี้เรียกว่า อาการของโรคอัมพาตใบหน้า เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 มีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้ารวมไปถึงลิ้นและกล้ามเนื้อใบหน้า เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย

 

อัมพาตใบหน้า 3

 

สาเหตุการเกิดอัมพาตใบหน้า

               อาจเกิดจากการติดเชื่อไวรัส จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติในผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สตรีที่ตั้งครรภ์

 

 

อัมพาตใบหน้า 5

อาการของโรคอัมพาตใบหน้า

              อาการมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน อาการที่พบก่อนคือ ปวดหู ปวดข้างใดใบหน้าด้านนั้นอาจมีโอกาสเกิดอัมพาตได้ เมื่อตื่นมาตอนเช้าจะชาบริเวณใบหน้า ตึง แสบตาเนื่องจากขณะที่ลมพัดไม่สามารถปิดตาให้สนิทได้ จะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าได้ อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นทานอาหารแล้วไหลออกทางมุมปาก ต่อมาอาการมากขึ้นและสังเกตได้ชัดเจนคือ ปากเบี้ยว คิ้วตก พูดไม่ชัด อาการจะเกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 วัน

วิธีการรักษา

               อัมพาตใบหน้าสามารถรักษาให้หายได้ เพราะสาเหตุเกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 มีการบวมจากการอักเสบและขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทจึงทำให้ไม่สามารถส่งคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อใบหน้าซีกนั้นได้ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้ภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่าเส้นประสาทถูกทำลายมากน้อยแค่ไหน หากเกิดปัญหากับเส้นประสาทมากอาจจะต้องใช้เวลา 2 เดือน – 2 ปี และขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอายุ ยิ่งอายุมากจะหายช้า ส่วนใหญ่จะหายได้สนิทไม่หลงเหลือความผิดปกติ หรืออาจจะเหลือร่องรอยเล็กน้อย

1. รักษาด้วยยา

             การใช้ยาให้ได้ผลดีจะต้องได้รับยาอย่างเร็วที่สุด หากนานเกิน 3-4 สัปดาห์ การใช้ยามักจะไม่ค่อยได้ผล

2. รักษาทางกายภาพบำบัด

              กายภาพบำบัดสามารถทำได้หลายเทคนิกการรักษา ได้แก่

  • การนวดเบาๆ บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเองและบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าโดยการแสดงท่าทางบนใบหน้า เช่น แยกเขี้ยวยิงฟัน ยิ้มเหยียดมุมปากแล้วใช้มือยกมุมปากขึ้นตามไปด้วย ทำวันละ 5-10 นาที

  • ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยและให้ผลทางด้านจิตใจของผู้ป่วยได้มาก การกระตุ้นด้วไฟฟ้าเพื่อชล่อการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ให้ลีบเล็กลง ระหว่างรอการฟื้นตัวกลับคืนมาของเส้นประสาท

  • ประคบร้อนบริเวณใบหน้า

อัมพาตใบหน้า 6

 

 

3. รักษาโดยการผ่าตัด

                 มักเลือกทำในรายที่มีอาการของโรคชนิดรุ่นแรง และไม่สามารถรักษาหายได้ทางยาหรือกายภาพบำบัด

การป้องกันและการปฏิบัติตน

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับใบหน้าและลำคอ เช่น หนุนหมอนที่สูงเกินไป นั่งหรือนอนบนที่นอนที่นุ่มแล้วมีส่วนโค้งเว้าเป็นประจำ เพราะการนอนท่าผิดธรรมชาติอาจส่งผลต่อระบบประสาท หลีกเลี่ยงกีฬาหรือกิจกรรมที่ต้องหมุนคอ  เช่น กอล์ฟ มีความเสี่ยงสูง

หลีกเลี่ยงความเครียด หลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด พักผ่อนให้เพียงพอ

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่20:การบาดเจ็บของไขสันหลัง

ตอนที่20:การบาดเจ็บของไขสันหลัง

saaa


การบาดเจ็บของไขสันหลัง

ระบบประสาทหมายถึง ระบบที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆได้อย่างเหมาะสม รักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้คงที่ นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับกระบวนการทางด้านจิตใจ การเรียนรู้ การให้เหตุผล การจินตนาการ การวางแผน สติปัญญาและอารมณ์

ระบบประสาทแบ่งออกเป็นได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆได้แก่

1 ระบบประสาทส่วนกลาง

2 ระบบประสาทส่วนปลาย

โดยทั่วไป การบาดเจ็บของไขสันหลังอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

-อุบัติเหตุทางรถยนต์

-การบาเจ็บจากการเล่นกีฬา

-การล้ม

-โรคต่างๆ เช่นมะเร็ง เนื้องอก วัณโรค

-ถูกยิง ฟัน แทง

โดยหากเป็น 3 สาเหตุแรก(เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด) โดยสาเหตุที่4 มักไม่ทำให้ไขสันหลังถูกตัดหรือฉีกขาด เพียงแต่ทำให้เกิดการช้ำ บวม มีเลือดออก หรือขาดเลือดไปเลี้ยงเท่านั้น ส่วนการบาดเจ็บของไขสันหลังที่มีสาเหตุจากการถูกยิง ฟัน แทง มักจะทำให้ไขสันหลังถูกตัดหรือฉีกขาดโดยตรง ทำให้ทั้ง cell body และ axon เกิดพยาธิสภาพ แต่โดยทั่วไปพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดการบาดเจ็บของไขสันหลัง จะจำนวนน้อยมากที่ไขสันหลังเกิดการฉีกขาดหรือถูกตัดขาดอย่างสมบูรณ์

Prolapse of intervertebral disc isolated on white

 

พยาธิสรีระวิทยาของการบาดเจ็บของไขสันหลัง

                ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า ผู้ป่วยที่เกิดการบาดเจ็บของไขสันหลังมีสาเหตุจากอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือจักรยานยนต การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และการล้ม ซึ่งมักไม่ทำให้ไขสันหลังถุกตัดหรือขาดอย่างสมบูรณ์ เพียงแต่ทำให้เกิดการช้ำ บวม มีเลือดออก หรือขาดเลือดไปเลี้ยงเท่านั้น แต่การบาดเจ็บเพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายได้รุนแรงไม่น้อยไปกว่าการที่ไขสันหลังถูกตัดขาดอย่างสมบูรณ์

เมื่อไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นประกอบด้วย2 กลไก ปฐมภูมิและกลไกระดับทุติยภูม ซึ่งความผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นกับผุ้ป่วยมักเป็นผลจากการกลไกทุตติยภูมิจากมากกว่าปฐมภูมิ ด้วยเหตุนี้ทันทีที่บาดเจ็บของไขสันหลัง การรักษาทางการแพทย์โดยใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะเฉียบพลันจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยจำกัดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกลไกทุตติยภูมิให้น้อยที่สุด

กลไกระดับปฐมภูมิเป็นกลไกที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นโดยตรง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ในบริเวณที่บาดเจ็บ สส่วนใหญ่เกิดจากการที่บาดเจ็บเนื่องจากกลไกทางกลศาสตร์ เช่นเกิดการกด การอัด การกระแทก การฉีก การดึงยืด

ส่วนกลไกระดับทุตติยภูมิเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดต่อเนื่องตามมาจากกลไกระดับปฐมภูมิ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระดับชีวเคมี การเปลี่ยนแปลงในนระดับเซลล์ เช่นการเปลี่ยนแปลงของระดับการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดและอิเล็กโตรลัยท์ การไหลเวียยนเลือดลดลง การอักเสบลดลง มีภาวะเลือดออก ภาวะขาดเลือด โดยในระยะแรกเมื่อกระดูกสันหลังได้รับการบาดเจ็บ จะมีอาการบวม การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นน้อยลง เกิดภาวะเกร็งตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิดการบาดเจ็บทำให้เซลล์ประสาทบริเวณนั้นขาดเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปสู่ทางเดินประสาทขาขึ้นและขาลง เกิดความเสียหายต่อเซลล์อย่างถาวร

SpinalCord 1

การฟื้นตัวของไขสันหลังภายหลังการได้รับบาดเจ็บ

ข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีอยุ่ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า การฟื้นตัวของไขสันหลังภายหลังได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อยมาก การบาดเจ็บของไขสันหลังจะนำไปสู่การตายของเซลลประสารทซึ่งจะไม่เกิดการฟื้นตัวหรือการเจริญขึ้นใหม่ แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่กระบวนการหลั่งสารสื่อประสาท หรืออย่างมากที่สุดก็มีเพียงการงอกที่ไม่ได้รับบาดเจ็บที่อยู่ข้างเคียงบริเวณที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้การทำงานของระบบประสาทยังอยู่ ส่วนของระบบประสาทส่วนกลางเมื่อได้รับบาดเจ็บจะไม่มีความสามารถในการเจริญขึ้นใหม่ ซึ่งตรงข้ามกับระบบประสาทส่วนปลายทีมีความสามารถในการเจริญขึ้นใหม่ อยู่เสมอ ทั้งในด้านโครงสร้างหน้าที่ โดยระบบประสาทส่วนปลายจะผลิตสารมาช่วยในการฟื้นตัวซึ่งจะเป็นไปอย่างช้าๆ

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

 

More

ตอนที่19:มารู้จักพาร์กินสัน….กันเถอะ!!!!!

ตอนที่19:มารู้จักพาร์กินสัน….กันเถอะ!!!!!

พาร์กินสัน14

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท ที่พบได้เบ่อยป็นอันดับ 2 รองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคหลงลืม เกิดได้ในอัตตราส่วน1 ใน 100 และเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากกว่า50 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มที่จะผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพราะจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาการโดยทั่วไปของโรคนี้คือ มีอาการสั่น แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า การทรงตัวที่ไม่สมดุลย์ อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้ในโรคพาร์กินสัน สมมุติฐานของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด

 

พาร์กินสัน8

สาเหตุของการเสื่อมของสมองในโรคพาร์กินสัน

การเสื่อมในระบบประสาทส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเบซาล แกงเกลีย หากแต่ว่าจะเกิดขึ้นในเบซาลแกงเกลียในลำดับที่แตกต่างกันไปโดยมักจะเกิดขึ้นที่ ซับสแตนเชีย ไนกรา หรือ SN อาการของดรคพาร์กินสันเกิดขึ้นเนื่องจากเซลล์ในส่วนของ SN นี้เสื่อมหรือตายลงที่ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Degeneration สาเหตุทีทำให้เซลล์ส่วนนี้เสื่อมนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด ที่เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การวิจัยส่วนหนึ่งที่มีในปัจจุบัน คือการทดแทนเซลล์ในส่วนของเบซาล แกงเกลีย ที่เสื่อมลงโดยอาศัยการปลูกฝังถ่ายเซลล์ซึ่งผลของการวิจัยยังไม่เป็นที่แน่นอน และยังไม่จัดเป็นการรักษามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสัน ซับสแตนเชีย ไนกรา SN นั้นอยู่ในส่วนลึกของสมองที่เรียกว่าก้านสมอง ซึ่งยังแบ่งออกเป็นหลายส่วน SN นั้นอยู่ในส่วนบนสุดของก้านสมองที่เรียกว่าสมองส่วนกลาง เซลล์ในส่วนSNนั้นที่เสื่อมไปในโรคพาร์กินสันนั้น มีหน้าที่สำคัญในการผลิตสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดปามีน มีหน้าที่สำคัญในการทำให้เกิดการเชื่อมโยงและการผ่านต่อของกระแสประสาทจากสมองในส่วนต่างๆ เมื่อโดปามีนเสื่อมหรือตายลงส่งผลให้ระดับโดปามีนในสมองนั้นลดลง เนื่องจากโดปามีนจัดเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการเคลื่อนไหว ระดับของโดปามีนในสมองที่ลดลงจึงส่งผลให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีปัญหาในเรื่องของการสั่น การเคลื่อนไหวช้า และติดขัด นอกเหนือจากเรื่องของการเคลื่อนไหว สัดส่วนของความเสื่อมในสมองส่วนต่างๆที่ต่างกันในผู้ป่วยแต่ละท่าน ก็จะส่งผลให้อาการในผู้ป่วยแต่ละท่านแตกต่างกันไป ประมาณร้อยละ60 ผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีปัญหาเรื่องการดมกลิ่น และการรับรส ซึ่งอาการนี้อาจเกิดก่อนปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนไหวเป็นเวลาหลายปี ซึ่งปัจจุบันทราบว่าทั้งสองอาการนี้เกิดเนื่องจากการเสื่อมของระบบประสาทในส่วนของการดมกลิ่น และการรับรส นอกเหนือจากสมองในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว อาการท้องผูกก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการเสื่อมของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบทางเดินอาหารในโรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน13

การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

การวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในโรคพาร์กินสันในปัจจุบันคือ การตรวจพบความเสื่อมของเซลล์ในส่วนของ เบซาล แกงเกลีย โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีหน้าที่ในการผลิตสารโดปามินในส่วนของสับสแตนเชีน ไนกรา ร่วมกับตรวจพบเลวี บอดี้ส์ ใน เบซาล แกงเกลีย และสมองส่วนใกล้เคียง ในปัจจุบันเราพบว่า เลวี บอดีส์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในเฉพาะโรคพาร์กินสันเท่านั้น แต่อาจสามารถพบได้ในโรคความเสื่อมของระบบประสาทอื่นๆ ในปัจจุบันยังทราบอีกว่า สมองอื่นๆนอกจากเบซาล แกงเกลียก็สามารถเกิดเกิดการเสื่อมได้เช่นกัน เนื่องจากสมองในแต่ละส่วนมีการทำงานที่เฉพาะและแตกต่างกันไป  ดังนั้นการเสื่อมหรือกระทบการกระเทือนในสมองส่วนอื่นๆก็จะส่งผลให้การแสดงของโรคมีมากขึ้น และหลากหลาย

ถึงแม้อาการของโรคพาร์กินสันจะหลากหลาย เกิดเนื่องมาจากการเสื่อมของระบบประสาทหลายตำแหน่งตามที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น แต่ไม่ได้หมายความว่า การเสื่อมหรืออาการเหล่านี้จะเกิดกับผู้ป่วยพาร์กินสันทุกราย ความแตกต่างที่เราเห็นทางพยาธิสภาพทำให้มีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป อาการที่กล่าวไปในปัจจุบันสามารถรักษาให้หายได้ การวิจัยของโรคสมองที่เปลี่ยนไปในโรคพาร์กินสันทำให้แพทย์สามารถเข้าใจถึงอาการและการรรรรรักษาอาการต่างๆเหล่านี้ได้

การรักษาโรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน1

 

การรักษาโดยการใช้ยา

ปัจจุบันเรามีการเลือกใช้ยาในการรักษาโรคพาร์กินสันเกือบ 10 ชนิด การเลือกใช้ยาให้เหมาะสม การเลือกใช้ยานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเลือกให้เหมาะสมสอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยแต่ละรายและระยะของโรคในขณะนั้น  รวมถึงขนาดปริมาณยาที่พอเหมาะที่จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น และเข้าใจถึงผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นได้

กลุ่มยาลีโวโดปา ยาจะถูกเปลี่ยนเป็นโดปามีนในสมองเพื่อช่วยลดอาการสั่น แข็ง เกร็ง เคลื่อนไหวช้าในผู้ป่วยพาร์กินสัน

กลุ่มยาโดปามีน อโกนิสต์ส  มีหน้าที่ทำให้โดปามีนที่เหลืออยู่ในระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น ผลข้างเคียงส่วนมากจะทำให้ง่วงนอน บางรายแขนขาบวม มัพบได้ในผุ้ที่มีปัญหาระบบไหลเวียนเลือด บางรายอาจเห็นภาพหลอน

กลุ่มยาเอนทาคาโปน มีหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ COMTเพื่อไม่ให้เผาผลาญ ลีโวโดปา ดังนั้นเมื่อลีโวโดปาอยู่ในร่างกายมากขึ้นก็จะเปลี่ยนเป็นโดปามีนมาก ทำให้อาการของผู้ป่วยตอบสนองต่อยาได้นานขึ้น

กลุ่มยาเซเรจิลิน  ลดอาการง่วงนอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ กลุ่มยาโดปามีน อโกนิสต์ส 

กลุ่มยาแอนตี้โคลิเนอจิกส์ ลดเรื่องอาการสั่นเพียงอย่างเดียว

ยากลุ่มฟลูโอเซทีนและพาโรเซทีน ลดอาการซึมเศร้า

ยากลุ่มโดเนเพซิล ไรวาสติกกมีน กาแลนทามีน และมีแมนทีน ช่วยในเรื่องของอาการหลงลืม

 

lพาร์กินสัน2

 

การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก โดยการฝังสายอิเล็กโตรด (deep brain stimulation initiative program)ใช้ในการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันที่ตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ

 

พาร์กินสัน3

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More

ตอนที่18:บริหาร 10 ท่วงทา รักษาหุ่นสวย ของคุณแม่หลังคลอด

ตอนที่18:บริหาร 10 ท่วงทา รักษาหุ่นสวย ของคุณแม่หลังคลอด

หลังคลอด1

บริหาร 10 ท่วงทา รักษาหุ่นสวย ของคุณแม่หลังคลอด

            สำหรับคุณแม่การเตรียมตัวทั้งก่อนและหลังคลอดถือเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะหลังคลอดคุณแม่บางท่านทั้งที่คลอดธรรมชาติ และวิธีการผ่าตัด อาจจะประสบปัญหารูปร่างที่ไม่กระชับ และมีไขมันส่วนเกิน การบริหารร่างกายหลังคลอดจะช่วยให้กล้ามเนื้อทีเคยยืดขยายหดตัวกลับคืนสู่สภาพปกติ และยังสามารถลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆ ได้อีกด้วย

คำแนะนำ : เริ่มบริหารร่างกายเร็วเท่าไร คุณแม่ก็จะหุ่นสวยเร็วขึ้น แต่คุณแม่ที่คลอดด้วยวิธีการผ่าตัดสามารถบริหารร่างกายได้หลังผ่าคลอด 1 เดือน เพื่อให้แผลหายสนิท ส่วนคุณแม่ที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติสามารถบริหารร่างกายได้เลยหลังคลอด 3 วัน

หลังคลอด3

วิธีการบริหารร่างกายรักษารูปร่างคุณแม่

 

1 บริหารหน้าอก ไหล่ หลัง ลำคอ และลดหน้าท้อง

            นอนหงายแขนแนบข้างลำตัว ค่อยๆ ยกศีรษะขึ้นจากพื้นช้าๆ จนคางจรดหน้าอก นับ 1-3 ขณะที่ยกศีรษะขึ้น  แขน ขา และ ลำตัวเหยียดตรง แล้วค่อยๆ วางศีรษะลงช้าๆ  ทำซ้ำ 10 ครั้ง

2 บริหารขา ต้นขา หน้าท้อง และสะโพก

            นอนหงายแขนราบข้างลำตัว ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น ชิดกัน วางเท้าให้ราบห่างกันพอสมควร ยกสะโพกขึ้น พยายามหนีบกล้ามเนื้อสะโพก จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณฝีเย็บหดตัวดีขึ้น

3 บริหารหน้าท้อง สะโพก อก และยังช่วยขับน้ำคาวปลา

            นอนคว่ำยกก้นขึ้นให้เข่าอยู่ใกล้หน้าอกมากที่สุด (ท่าโก้งโค้ง) เข่าทั้ง 2 ข้าง ห่างกันประมาณ 1 ฟุต หน้าอกวางแนบกับพื้น พักอยู่ในท่านี้ประมาณ 2 นาที จากนั้นใช้หมอน 1 ใบรองบริเวณหน้าท้องเพื่อลดความเมื่อยล้า แล้วพักในท่านั้น ประมาณครึ่งชั่วโมง

4 ท่าบริหารกล้ามเนื้อทั่วตัว

            คุกเข่า ต้นขา เข่าและเท้าชิดกัน ฝ่ามือยันพื้นเหมือนท่าคลาน แล้วค่อยๆ ลดข้อศอกลงวางราบกับพื้น ก้มศีรษะให้คางจรดหน้าอก แขม่วท้อง เกร็งกล้ามเนื้อสะโพกและขา แล้วค่อยๆ ลดสะโพกลงแตะส้นเท้าให้มากที่สุด ในขณะที่ฝ่ามืออยู่กับที่แขนเหยียด หน้าผากแตะพื้น แล้วยกลำตัวขึ้นไปอยู่ในท่าเดิม มดลูกจะกลับคืนสู้ปกติได้เร็วขึ้น

5 บริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด

            ขมิบช่องคลอดหรือทวารหนัก ในขณะที่นอนหรือนั่ง เหมือนกับตอนปัสสาวะ แล้วหดกลั้นทันที ขมิบวันละ 200 ครั้ง ทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดกระชับขึ้น

6 บริหารหน้าอก หน้าท้อง และปอด

            นอนหงาย แขน ขา เหยียดตรงข้างลำตัว สูดลมหายใจเข้าปอดเต็มที่ ช้าๆ และแขม่วท้อง นับ 1-3 แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ทำประมาณ 10 ครั้ง

7 บริหารแขน หน้าอก และปอด

            นอนหงายเหยียดตรงแขนวางข้างลำตัว ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นในท่าเหยีบดตรงตั้งฉากกับลำตัว ค่อยๆ ปล่อยแขนลงข้างๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง

8 บริหารขา สะโพก และหน้าท้อง

            นอนหงายราบกับพื้น วางแขนแนบข้างลำตัว ยกขาหนึ่งข้างขึ้นตั้งฉากกับลำตัว แล้วลดขาลงที่เดิมช้าๆ ทำสลับกันทีละข้าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

9 บริหารหน้าท้อง ไหล่ หลัง และลำคอ

            นอนหงายลำตัวเหยียดตรง แขนวางข้างลำตัว ยกตัวลุกขึ้นนั่งโดยงอเข่าโดยไม่ใช้แขนช่วย ยกแขนขึ้นให้ขนานกับพื้นราบด้วย จากนั้นค่อยๆ นอนลง ทำวันละ 1-2 ครั้ง ค่อยเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นเมื่อแข็งแรงขึ้น

10 บริหารหน้าท้อง สะโพก และขา

            นอนหงายแขนเหยียดตรง งอเข่าหนึ่งข้างให้ชิดหน้าท้องมากที่สุด ให้ส้นเท้าสัมผัสกับก้นแล้วเหยียดขาให้ตรง ค่อยๆ วางขาลงในท่าเดิม นับ 1-3 แล้วทำสลับข้าง ทำวันละ 1-2 ครั้ง แล้วค่อยเพิ่มจำนวนครั้งอีก 1-2 ครั้งทุกวัน

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

www.firstphysioclinic.com  สายด่วน 085-264-4994

More