All posts in ปวด

ตอนที่ 652 ท่ากายบริหารในผู้ป่วย “ข้อไหล่ติด”

ตอนที่ 652  ท่ากายบริหารในผู้ป่วย “ข้อไหล่ติด”

ตอนที่ 652  ท่ากายบริหารในผู้ป่วย “ข้อไหล่ติด

การบริหารไหล่

 

        ก่อนบริหารไหล่ ควรประคบร้อนก่อนประมาณ 15-20 นาที การบริหารควรเริ่มจากท่าเบาๆ ก่อนและค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นทีละ น้อยๆ

ท่าทางการบริหารไหล่ 

1. ท่าแกว่งแขน 

วิธีการ : ยืนก้มตัวไปข้างหน้า แขนข้างดีเท้าบนโต๊ะ ห้อยแขนข้างเจ็บ ให้ผ่อนคลาย ค่อยๆ แกว่งแขน เป็นวงกลมตามเข็มและทวนเข็ม นาฬิกา ทํา 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ

2. ท่าไต่ฝาผนัง 

วิธีการ : ยืนหันหน้าเข้าฝาผนัง หลังตรง แขนเหยียดตรง ค่อยๆ ไต่นิ้ว ตามผนัง เพิ่มความสูงไปเรื่อยๆ จนรู้สึกตึงบริเวณไหล่ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบดังรูปที่ 1 เสร็จแล้ว เปลี่ยนท่าเป็นหันข้าง แขนด้านเจ็บเข้าฝาผนังค่อยๆ กางแขนไล่ขึ้นไปตามฝาผนัง 

3. ท่าไขว้หลัง 

วิธีการ : ยืนตรง ให้ผ้าเช็ดตัวพาดบ่า มือจับปลายผ้าทั้ง 2 ข้าง โดย แขนที่อยู่ข้างหน้า แขนเจ็บอยู่ด้านหลังค่อยๆ ใช้แขนข้างดี ดึงผ้า ขึ้นลง ให้รู้สึกตึงเบาๆ บริเวณไหล่ ค้างไว้นับ 1-10 วินาที ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ

4. การบริหารด้วยกระบอง 

1. ท่ายกแขนขึ้นลง เหนือศีรษะ

วิธีการ : ทำการยกไม้กระบองขึ้นเหนือศีรษะ

2 . ท่ายกขึ้นเหนือศีรษะด้านหน้า 

วิธีการ : ทำการยกไม้กระบองขึ้นเหนือศีรษะด้านหน้าแล้ววางพาดบนบ่าด้านหลัง

3. ท่ายกไม้

วิธีการ : ทำการเอียงไม้ไปทางด้านซ้ายขวา

4 . ท่าไขว้หลัง 

วิธีการทำการยกไม้ขึ้นลง สลับกันทุกท่า ทำให้รู้สึกตึงเบาๆ บริเวณหัวไหล่ ทําท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ

More

ตอนที่651 ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อไหล่ติด?

ตอนที่651 ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อไหล่ติด?

ตอนที่ 651 ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อไหล่ติด?

 

 


1. 
พักการใช้งานแขนข้างที่ปวด 

2. ประคบถุงน้ำแข็ง/ประคบด้วยแผ่นเย็น บริเวณที่ปวดนาน 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ใน 2 วันแรกของการบาดเจ็บ
หลัง 2 วันให้เปลี่ยนเป็นการประคบอุ่นแทน โดยประคบที่บริเวณที่ปวด เป็นเวลา 15-20 นาที

3. หลีกเลี่ยงการบีบนวดบริเวณที่ปวด เพราะจะทำให้เกิดการ อักเสบเพิ่มขึ้น

4. หลีกเลี่ยงการนอนทับแขนข้างที่ปวด
5. 
ค่อยเริ่มขยับแขน ยึดกล้ามเนื้อเมื่ออาการปวดทุเลาลง 

6. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รีบพบแพทย์ และนักกายภาพบำาบัด เพื่อตรวจประเมิน และรับการรักษาต่อไป

More

ตอนที่ 639 Ultrasound combined therapy

ตอนที่ 639 Ultrasound combined therapy

ตอนที่ 639 Ultrasound combined therapy

             เป็นการใช้เครื่องมือรักษาทางกายภาพบำบัด 2 เครื่องมือร่วมกันระหว่างเครื่องUltrasound กับ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (ES,TENS,IFC) เพื่อให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ และจะได้ ประสิทธิภาพในการรักษาาที่ดีขึ้น ซึ่งในขณะทำการรักษาผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดเล็กน้อย การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของพยาธิสภาพ

ประโยชน์

• ลดอาการปวด
•ลดอักเสบของเนื้อเยื่อ
•เพิ่มความนืดหยุ่นของข้อต่อ
•ลดอาการบวม
•ช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
•คลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

วิธีการใช้งาน

1.ติดแผ่นกระตุ้นคร่อมจุดที่ ต้องการจะรักษา
2.ตั้งค่าเครื่องให้ได้ตามที่ต้องการ จะใช้รักษา ทาเจล
3.เริ่มทําการรักษา

*เวลาในการรักษา 10-15 นาที

More